รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ตรวจสอบข้อมูล: ทำไมเราจึงเอาชนะตลาดได้ยากเย็นเหลือเกิน?

เผยแพร่ 07/07/2562 13:02
อัพเดท 02/09/2563 13:05

ใครที่เคยมีประสบการณ์ที่พยายามจะเอาชนะตลาดมาเป็นเวลานานคงพอจะทราบดีว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เคยมีงานวิจัยชี้ว่ามีนักลงทุนเพียง 1% เท่านั้นที่สามารถบริหารจัดการเพื่อทำกำไรจากดัชนีอ้างอิงยอดนิยมอย่างดัชนี S&P 500 ได้

ในปี 2007 นายวอร์เรน บัฟเฟตต์เคยเดิมพันด้วยเงิน 1 ล้านดอลลาร์ว่าดัชนี S&P 500 จะทำผลงานได้ดีกว่ากองทุนบริหารความเสี่ยงในระยะเวลา 10 ปี

S&P 500 vs. hedge fund returns since 2011

สุดท้ายแล้วนายบัฟเฟตต์ก็ เอาชนะเดิมพันนั้นไปได้ อย่างง่ายดาย เนื่องจากดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนสุทธิที่ 7.1% ต่อปี ในขณะที่กองทุนบริหารความเสี่ยงจะให้ผลตอบแทนสุทธิเพียง 2.2% จึงมีคำถามต่อมาว่า ทำไมการเอาชนะตลาดจึงทำได้ยากเย็นนัก

สมมุติฐานของตลาดที่มีประสิทธิภาพ

ทฤษฎีการลงทุนที่มีชื่อเรียกว่า ‘EMH’ บอกไว้ว่าในขณะที่ตลาดกำลังสะท้อนถึงข้อมูลที่ทราบในปัจจุบัน การพยายามเอาชนะตลาดให้ได้ตลอดจึงเป็นไปไม่ได้เลย ในสมมุติฐานนี้ ไม่มีสินทรัพย์ใดที่มีมูลค่าเกินหรือต่ำกว่าที่เป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกำหนดราคาไว้ตามความเป็นจริง ดังนั้นจึงไม่เหลือช่องว่างของส่วนต่างให้สามารถทำกำไรเพิ่มได้

แต่กระนั้นก็ยังมีคนบางคนที่สามารถหาโอกาสเข้าทำกำไรอย่างต่อเนื่องได้ จึงอาจเป็นได้ว่าตลาดมีประสิทธิภาพอยู่ระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีจุดอ่อนเสียทีเดียว แม้ว่าตลาดซึ่งมีขนาดใหญ่จะเป็นตัวกำหนดราคาสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง แต่ก็ย่อมมีจุดที่ผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ อยู่บ้างเช่นกัน และจุดผิดพลาดเหล่านี้นี่เองที่จะเป็นการเปิดโอกาสในการทำกำไรของนักลงทุน

แต่ความยุ่งยากยังไม่จบเพียงเท่านี้

แม้ว่าจะมีโอกาสในการทำกำไร...

แต่การเอาชนะตลาดให้ได้นั้น คุณจะต้องทำตัวให้แตกต่างจากนักลงทุนคนอื่นๆ ในตลาด ในอดีตที่ผ่านมา มีอยู่วิธีหนึ่งคือการคอยสังเกตข้อมูลบางอย่างที่คนอื่นๆ มองไม่เห็น แต่วิธีนี้เป็นวิธีในอดีตในสมัยที่ทุกคนยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเสรีหรือมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Bloomberg Terminal มาให้ใช้ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้

ทุกวันนี้ การแข่งขันในตลาดการเงินยากขึ้นกว่าเดิมมากจากปัจจัยสองด้าน ด้านแรกก็คือนักลงทุนมืออาชีพสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ รวมทั้งยังสามารถใช้อัลกอริทึมเพื่อช่วยในการตัดสินใจแบบฉับพลันทันทีได้ด้วย ปัจจัยด้านที่สองคือตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเป็นแหล่งรวมผู้มีความสามารถทางด้านการเงิน ดังนั้นเมื่อการทำธุรกรรมยังจำเป็นต้องมีผู้ขายและผู้ซื้อ การเอาชนะคนทุกคนให้ได้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

มีหุ้นจำนวนไม่มากที่ทำผลงานได้โดดเด่นกว่าหุ้นตัวอื่น

เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่การเอาชนะตลาดทำได้ยากก็คือมีหุ้นอยู่จำนวนไม่มากที่จะทำผลงานได้ดีกว่าหุ้นตัวอื่นในตลาด จาก งานวิจัยในปี 2017 ของมหาวิทยาลัยแอริโซนาพบว่ามีหุ้นจำนวน 4 ใน 7 ตัวที่ให้ผลตอบแทนตลอดอายุการซื้อและถือครองต่ำกว่าผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 1 เดือน

ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นด้วยว่า นับตั้งแต่ปี 1926 เป็นต้นมา จากจำนวนบริษัททั้งหมดในตลาดหุ้น มีเพียง 4% ที่ทำกำไรสุทธิได้ ยกตัวอย่างในปี 2018 จะประกอบด้วย Advanced Micro Devices (NASDAQ:AMD), Netflix (NASDAQ:NFLX) และ Amazon (NASDAQ:AMZN) เนื่องจากมีการปรับตัวขึ้นได้ 103%, 62% และ 49% ตามลำดับ ในขณะที่หุ้นตัวอื่นๆ ในดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทน -6.5%

การสร้างพอร์ตโฟลิโอก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้พลาดโอกาสที่จะได้เป็นหนึ่งใน 4% ที่จะสามารถมีผลกำไรมากพอที่จะเอาชนะตลาดในปีนั้นๆ ได้เช่นกัน เจ บี ฮีตันได้อธิบายไว้ในผลงานของเขาที่มีชื่อว่า “ทำไมการทำดัชนีจึงได้ผล (Why Indexing Works)” ว่าหากมีหุ้นในตลาดทั้งหมด 5 ตัว ถ้ามี 4 ตัวให้ผลตอบแทน 10% และอีก 1 ตัวให้ผลตอบแทน 50% ผลตอบแทนของตลาดโดยรวมจะเท่ากับ 18% แต่หากมีใครที่ไม่ได้เก็บหุ้นตัวที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดตัวนี้ไว้ในพอร์ต ก็จะได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

อารมณ์ความรู้สึก

สาเหตุที่ทำให้เอาชนะตลาดได้ยากไม่ได้เป็นเรื่องของตลาดเองเท่านั้น แต่เนื่องจากเราทุกคนเป็นเพียงมนุษย์ และมนุษย์ก็ย่อมมีวิธีคิดและการแสดงออกตามอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน มีการศึกษาข้อมูลทางด้านความกลัวและความโลภของมนุษย์ไว้อย่างกว้างขวางด้วยเช่นกัน

ทฤษฎีความคาดหวังซึ่งคิดค้นโดยนายคาเฮนแมนและนายทีเวอร์สกี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลแสดงให้เห็นว่าการสูญเสียเงิน $100 จะส่งผลกระทบด้านลบทางด้านจิตวิทยามากกว่าความรู้สึกด้านบวกจากการได้รับเงินรางวัลจำนวน $100 ธรรมชาติของมนุษย์คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจึงทำให้เรามีแนวโน้มที่จะเลือกใช้อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อผลตอบแทนที่จะได้รับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน มนุษย์ที่กำลังลุ่มหลงในผลตอบแทนที่ได้รับเป็นกอบเป็นกำก็จะขาดสติในการพิจารณาความเสี่ยง ซึ่งก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อไปในระยะยาวได้

ค่าธรรมเนียมและภาษี

ซึ่งก็ไม่ได้มีเพียงแค่นั้น จากคำพูดของนายเบนจามิน แฟรงคลินที่เคยกล่าวว่า ในตลาดการเงิน ไม่มีอะไรที่แน่นอนเลย ยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษี การเดิมพันอันโด่งดังของนายบัฟเฟตต์ก็อ้างอิงโดยดูจากกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดยนายบัฟเฟตต์เลือกใช้วิธีคำนวณภาษีที่มีประสิทธิภาพแบบ ETF แต่กองทุนบริหารความเสี่ยงและนักลงทุนซึ่งมีกำไรจากส่วนต่างในการซื้อขายหุ้นสูงก็มักจะต้องเสียภาษีค่อนข้างมากด้วยเช่นกัน

การทำกำไรในแต่ละครั้งก็ย่อมต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมจึงเป็นเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนหลายคนไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ เนื่องจากเงินจากกำไรที่คุณได้ส่วนหนึ่งจะต้องกลายไปเป็นค่าธรรมเนียม คณจึงต้องทำกำไรให้ได้มากขึ้นเพื่อชดเชยส่วนที่เสียไปให้ได้ผลตอบแทนเท่ากับตลาด ยิ่งซื้อขายมากก็ยิ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมมากขึ้น คุณจึงต้องทำกำไรให้ได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุผลที่เรากล่าวไว้ข้างต้นว่าการทำกำไรให้ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

บทสรุป

เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ข้างต้นที่เป็นปัจจัยซึ่งนักลงทุนจะต้องก้าวผ่านให้ได้แล้ว ยังจะมีความเป็นไปได้ที่เราจะเอาชนะตลาดได้อยู่หรือไม่? เมื่อพิจารณาในกรณีของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์และนายปีเตอร์ ลินช์ สองนักลงทุนผู้สนับสนุนแนวทางการลงทุนแบบ ซื้อแล้วถือไว้ ที่สามารถทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำจากการเลือกหุ้นที่ดีและถือไว้เป็นระยะเวลานานก็น่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าเรายังสามารถเอาชนะตลาดได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้ทั้งทักษะ โชค ความสมดุลทางจิตวิทยา และการคำนวณที่ดีร่วมด้วย โชคไม่ดีที่ปัจจัยแห่งความสำเร็จต่างๆ ในโลกมนุษย์อันแสนจะไม่สมบูรณ์ใบนี้ช่างเข้าใจได้ยากเย็นเสียเหลือเกิน

ความคิดเห็นล่าสุด

No one... can beat the market at all times. But we can... beat ourselves all the time, If we know enough.
No one... can beat the market at all times. But we can... beat ourselves all the time, If we know enough.
ดีมากเลยบทความนี้
ดีมากเลยบทความนี้
awesome!
awesome!
ขอบคุณครับ
คนแปลเป็นไทยเก่งครับ
คนแปลเป็นไทยเก่งครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย