รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางฝั่งเอเชียส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับลดลงอีกต่อจากนี้

เผยแพร่ 16/08/2562 10:48
อัพเดท 09/07/2566 17:31

ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหลายแห่งเริ่มทะยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาจนดูน่าแปลกใจ ส่วนธนาคารกลางแห่งอื่นๆ ก็ยังพอมีเวลาตั้งตัวที่จะดำเนินการเช่นเดียวกันหลังจากที่สหรัฐฯ และยุโรปได้ปรับลดดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้แล้ว

ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลง 50 จุดเหลือ 1% ซึ่งนับว่าสูงว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ถึงสองเท่า ประเทศไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลง 25 จุดเบสิสเหลือ 1.5% แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์จะคาดไว้ว่าไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม และในส่วนของอินเดียซึ่งดำเนินการใช้นโยบายทางการเงินนำไปก่อนแล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมาด้วยการ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลัก จากเดิมที่ระดับ 5.75% ปรับลดลงเป็น 5.4% ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 9 ปี

สิ่งที่นิวซีแลนด์ได้ดำเนินการไปถือเป็นการปูทางให้ธนาคารกลางออสเตรเลียเตรียมปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือนกันยายน ซึ่งคล้ายกับที่อินเดียได้ปรับลดในรอบที่แล้วในเดือนมิถุนายน ทางด้านของบราซิลก็มีการปรับอัตราดอกเบี้ยจนทำให้นักวิเคราะห์ต้องประหลาดใจ เพราะได้ ปรับลดลงถึง 50 จุดเบสิส ในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม นับเป็นการปรับลดครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ระดับต่ำสุดครั้งใหม่ที่ 6%

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดเบสิส ในเดือนที่ผ่านมา และยังมีโอกาสที่จะมีการปรับลดเพิ่มเติมอีกได้เช่นกัน ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปก็กำลังเตรียมนำนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่างๆ มาใช้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของยุโรปที่ยังคงฝืดเคืองให้ดีขึ้นต่อไป

จากข้อมูลข้างต้น การที่ธนาคารกลางต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอาจไม่ใช่เป็นเพียงการปรับตาม แต่อาจเป็นส่งสัญญาณให้กับธนาคารกลางที่มีความสำคัญอย่างธนาคารกลางยุโรปให้ดำเนินการตาม และหวังให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 25 จุดเบสิส ในเดือนกันยายนนี้อีกก็เป็นได้

สัญญาณเศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น

ความพยายามในการใช้นโยบายทางการเงินเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มส่งสัญญาณว่ากำลังชะลอตัวลงอันเนื่องมาจากการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยังยืดเยื้อ ธนาคารกลางแต่ละแห่งอาจทำอะไรได้ไม่มาก แต่เมื่อเงินเฟ้อยังคงต่ำจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไป

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจะช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นได้จริงหรือไม่นั้นยังไม่มีใครสามารถรับรองได้ แต่หากจะต้องมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอยู่แล้ว ประเทศต่างๆ ข้างต้นก็คงไม่อยากจะเป็นประเทศที่ตัดสินใจเป็นอันดับท้ายๆ การที่อัตราดอกเบี้ยสูงก็จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสูงเนื่องจากสหรัฐฯ ยุโรป และจีนต่างก็แข่งขันกันเพื่อที่จะทำให้สกุลเงินของต้นอ่อนค่า

ธนาคารกลางสวิสและอังกฤษซึ่งถือเป็นสถาบันที่จัดการสกุลเงินสำคัญอีกสองสกุลก็กำลังพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นกัน สำหรับสวิสเซอร์แลนด์ที่เคยพยายามแทรกแซงโดยการผลักดันการซื้อขายเพื่อให้เงิน ฟรังก์ แข็งขึ้นมาตลอดนั้นก็น่าจะต้องปรับลดลงอีกจนติดลบ จากอัตราปัจจุบันคือ -0.75%

ในส่วนของธนาคารกลางอังกฤษนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นเสมือนการกลับลำกะทันหันจากที่ก่อนหน้านี้เคยต้องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ประเทศอังกฤษแตกต่างจากประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะอังกฤษกำลังประสบแรงกดดันในเรื่องอัตราเงินเฟ้ออย่างหนักหน่วงแต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์ Brexit ทำให้ธนาคารกลางยังไม่ตัดสินใจที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหากยังหาข้อตกลงร่วมกับอียูไม่ได้

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็ปรับลดลงเนื่องจากกราฟดอกเบี้ยพันธบัตรเกิดรูปแบบ Inversion อีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้พันธบัตรรุ่นอายุ 2 ปี ให้ผลตอบแทน 1.561% ซึ่งมากกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ 1.534% กราฟดอกเบี้ยพันธบัตรเมื่อเทียบระหว่างรุ่นอายุ 3 เดือน กับ 10 ปี ยังเกิดรูปแบบ inversion มานานหลายสัปดาห์ ในฝั่งของสหราชอาณาจักร ดอกเบี้ยพันธบัตรรุ่นอายุ 2 ปี ปรับตัวสูงขึ้นมาได้ 1 จุดเบสิสและพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ปรับลดลงไป 2 จุดเบสิสจนทำให้กราฟดอกเบี้ยพันธบัตรเกิดรูปแบบ Inversion

อย่างไรก็ตาม สภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะไม่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดกราฟในรูปแบบ Inversion โดยทันที แต่อาจใช้เวลาอีก 1-2 ปีหลังจากนี้ แต่หากนำข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างตัวเลข จีดีพีของเยอรมนี ที่ประกาศออกมาเมื่อวันพุธซึ่งมีค่าไม่สู้ดีมาประกอบการพิจารณาด้วยแล้วก็จะยิ่งเห็นว่าแนวโน้มของตลาดในอนาคตยังไม่น่าจะดีได้

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย