รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ตลาดระมัดระวังตัว ...รอลุ้นข้อมูลเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 02/09/2562 10:45
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Weekly Investment Theme: Sep 2-6, 2019

Market Review

ตลาดทุนโดยรวมกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) จากความคาดหวังของนักลงทุนว่าสหรัฐฯ กับจีนจะสามารถกลับมาเปิดโต้ะเจรจาการค้าได้ภายในเดือนนี้

อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางส่วนยังไม่ปักใจเชื่อว่า การเจรจาการค้าที่อาจเกิดขึ้นจะนำไปสู่ข้อตกลงทางการค้าได้ ดังจะเห็นได้จากการนักลงทุนยังคงเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล กดดันให้บอนด์ยีลด์ทั่วโลกทรงตัวในระดับต่ำ

โดยเฉพาะในฝั่งไทย นักลงทุนในประเทศต่างพากันเข้าซื้อบอนด์ ส่งผลให้บอนด์ยีลด์เกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวลดลง 2-6bps จากสัปดาห์ก่อนหน้า แม้ว่าจะมีแรงขายสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติประมาณ 3.2 พันล้านบาทก็ตาม

กองทุนอสังหาฯ ของไทยปรับตัวขึ้นโดดเด่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา หนุนโดยแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายทั่วโลก และยีลด์ของกองทุนอสังหาฯ ที่ระดับ 5.0% ซึ่งสูงกว่าบอนด์ยีลด์ไทยอายุ 10ปี ที่ระดับเพียง 1.4%

Economic Outlook

สัปดาห์นี้ ตลาดจะจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ หลายอย่าง อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการจากทั่วโลก โดยเฉพาะในฝั่งจีน และสหรัฐฯ ที่จะสะท้อนถึงแนวโน้มภาคการผลิตอุตสาหกรรม หลังสงครามการค้ายืดเยื้อและทวีความรุนแรงมากขึ้น

นอกจากนี้นักลงทุนจะรอคอยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Non-farm Payrolls) ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ ที่นักวิเคราะห์ต่างคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5 แสนรายในเดือนสิงหาคม สะท้อนว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง และเป็นปัจจัยหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ประเด็นสำคัญที่ควรติดตามคือ แนวโน้มการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ หลังทั้งสองฝ่ายต่างขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่ ในวันที่ 1 กันยายน และประเด็นความวุ่นวายการเมืองของอังกฤษ หลังโอกาสที่อังกฤษจะต้องออกจากสหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตกลง (No Deal Brexit) เพิ่มสูงขึ้น จากการที่รัฐสภาอาจเหลือเวลาพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ทันกำหนดการออกจากสหภาพยุโรปในวันที่ 31 ตุลาคม

Theme of the Week

สัปดาห์นี้ มองว่าภาพรวมตลาดทุนจะถูกขับเคลื่อนด้วยแนวโน้มการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯเป็นหลัก ส่งผลให้นักลงทุนมีความระมัดระวังตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ดี เชื่อว่าตลาดทุนจะสามารถเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนและสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และมองว่า ตลาดหุ้นจีนจะเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะมีระดับราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับอดีตและตลาดหุ้นอื่นๆ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนยังมีแรงหนุนจากการเพิ่มสัดส่วนหุ้น A-Share บนดัชนีของ MSCI

ส่วนในระยะยาว ภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จะส่งผลให้นโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งสินทรัพย์ที่จะได้รับอานิสงส์จากสภาวะดังกล่าว ก็คือ “พันธบัตรรัฐบาล" โดยสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ เราเชื่อว่า “พันธบัตรรัฐบาล EM” คือสินทรัพย์ที่ควรหาจังหวะเข้าซื้อสะสม เพราะให้ยีลด์ในระดับที่เหมาะสม และมีโอกาสได้กำไรเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มเงินดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งจะส่งผลดีต่อบอนด์ในตลาด EM

สำหรับมุมมองเราต่อ Asset Classes ต่างๆ มีดังนี้

Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 3และ 4 ก็มีโอกาสแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ในระยะสั้นก็ยังมีสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ และปัญหาการเมืองในอังกฤษเข้ามากดดันบรรยากาศการลงทุน นักลงทุนจึงควรลดการถือครองหุ้น และรอโอกาสเข้าซื้อ หากตลาดมีการปรับฐานหนัก (Buy on Dip) เพื่อเลือกซื้อของถูก

US Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มสูงขึ้น และสงครามการค้าที่ยืดเยื้อจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 3 รวมทั้งไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มแย่ลงจากปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด

Europe Equity: คงมุมมอง “Neutral” แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้าและปัญหาการเมืองในยุโรป ทำให้เราเชื่อว่าธนาคารกลางยุโรปจะต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง ทั้งการลดดอกเบี้ย และโครงการซื้อสินทรัพย์ (QE) ซึ่งเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นยุโรป และ ด้วย ระดับราคาปัจจุบันที่ P/E 17.5เท่า หุ้นยุโรปถือว่าอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง10ปีที่ผ่านมา

Japan Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Assets) ในช่วงตลาดกลัวความเสี่ยงสงครามการค้าและปัญหาการเมืองทั่วโลก จะกดดันให้เงินเยนมีโอกาสแข็งค่ามากขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหุ้นญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี หากตลาดหุ้นปรับฐานหนัก ตลาดญี่ปุ่นจะน่าสนใจมากสุด ด้วยระดับราคาปัจจุบันของหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX Index) อยู่ ที่ P/E 13.2 เท่า ถือว่าถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา ที่ระดับ 17.5 เท่า (SD ของ P/E อยู่ที่ 4.1)

EM Equity: คงมุมมอง “Neutral” เพราะสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างแน่นอน ส่งผลให้เศรษฐกิจ EM มีแนวโน้มซบเซาต่อและกดดันตลาดหุ้น EM อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นก็สามารถรีบาวด์ขึ้นได้ในช่วงสั้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของเฟดและบรรดาธนาคารกลางใน EM

China Equity: คงมุมมอง “Overweight” โดยในระยะสั้น หากตลาดหุ้นปรับฐานจากความกังวลสงครามการค้า ก็จะยิ่งทำให้หุ้นจีนยังน่าสนใจ เพราะระดับราคาปัจจุบันของหุ้นจีน (ดัชนี CSI300) ที่ 13.8เท่า ถือว่าถูก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่าน ที่ระดับ 15.3เท่า และเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ตลาดหุ้นจีนก็ถือว่าถูก เพราะยังเป็นตลาดที่ความสามารถในการทำกำไรดีกว่า ตลาดหุ้นหลักอื่นๆ (ROE ของ CSI300 อยู่ที่ 13%) นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนยังได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มสัดส่วน หุ้นจีน A-Shares บนดัชนีของ MSCI

Thai Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงและทั้งปีจะโตได้เพียง 3%จากปีก่อน นอกจากนี้ ระดับราคาปัจจุบันของตลาดหุ้นไทยถือว่าแพง (P/E 18.6เท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (P/E 17.1เท่า ) และหากเทียบความถูก/แพง กับตลาดหุ้นอื่นๆ ตลาดหุ้นไทยก็ถือว่าแพง แม้ว่าระดับราคาจะใกล้เคียงกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ (P/E 19.2เท่า) แต่ความสามารถในการทำกำไรกลับด้อยกว่ามาก (ROE ของ SET อยู่ที่ 3.7% แต่ ROE ของ S&P500 อยู่ที่ 16%)

Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” เพราะตลาดบอนด์จะได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งการลดดอกเบี้ย หรือการซื้อสินทรัพย์ (QE) นอกจากนี้ ตราสารหนี้ก็ยังเป็นทางเลือกหลักในการพักเงินของนักลงทุนในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวน อย่างไรก็ดี ระดับยีลด์ปัจจุบันถือว่าแพงขึ้นจากช่วงต้นปี ดังนั้น นักลงทุนควรรอจังหวะที่บอนด์ยีลด์เด้งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบอนด์

Global Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” โดยมองว่าทั้งตราสารกลุ่ม HY และตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (EM Debts) จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟด นอกจากนี้ ยีลด์เฉลี่ยของบอนด์กลุ่ม HY ประมาณ 6.2% ถือว่าน่าสนใจ ส่วนยีลด์เฉลี่ยของกลุ่ม EM ปัจจุบันอยู่ที่ 3.9% น่าดึงดูดกว่ายีลด์ในฝั่งของตลาด DM และยังมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ตามการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางใน EM

Thai Fixed Income: คงมุมมอง “Underweight”เพราะยีลด์บอนด์ไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.7% ต่ำกว่า ยีลด์โดยเฉลี่ยจากบอนด์กลุ่ม EM ที่ระดับ 3.9% หรือ ยีลด์ของตราสาร HY ที่ 6.2% ทำให้นักลงทุนมีตัวเลือกที่ดีกว่าบอนด์ไทย

Alternative Assets: คงมุมมอง “Overweight” เนื่องจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายทั่วโลก จะกดดันผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ยีลด์ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ระดับ 4%-5% น่าสนใจ แต่นักลงทุนต้องระวัง หากตลาดกลัวความเสี่ยงมากและไล่ขายสินทรัพย์เสี่ยง กองทุนอสังหาฯ ก็จะมีโอกาสโดนเทขายได้เช่นกัน

REITs/Infra.: คงมุมมอง “Overweight” โดยกองทุนอสังหาฯ ไทยยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความผันผวนของกองทุนอสังหาฯได้ เพราะกองทุนอสังหาฯให้ยีลด์ที่ระดับ 5.0% ซึ่งสูงกว่ายีลด์จากบอนด์ไทยราว 1.6%

Commodity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากความเสี่ยงสงครามการค้า และอุปสงค์น้ำมันที่ชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

Gold: คงมุมมอง “Overweight” เพราะข้อมูลในอดีตชี้ชัดว่าทองคำจะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงที่ธนาคารกลางต่างใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อีกทั้งราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการซื้อสะสมของบรรดาธนาคารกลาง และนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงตลาดปั่นป่วน

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย