รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ตลาดระมัดระวังตัว ...แต่มีโอกาสทำกำไรระยะสั้น

เผยแพร่ 16/09/2562 10:26
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Weekly Investment Theme: Sep 16 - 20, 2019

Market Review

ตลาดหุ้นทั่วโลกล้วนปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่น จากปัจจัยบวก ไม่ว่าจะเป็นภาพความเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่ดูคลี่คลายลง และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจากธนาคารกลางยุโรป

อย่างไรก็ดี การโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของซาอุดิอาระเบียในช่วงสุดสัปดาห์ ได้ทำให้ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางกลับมาร้อนแรงขึ้น และอาจส่งผลให้ตลาดการเงินเผชิญความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้น จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นรุนแรงราว 10%

อนึ่ง การเปิดรับความเสี่ยงของตลาด (Risk-On) ส่งผลให้สินทรัพย์ปลอดภัยถูกเทขายทำกำไรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10ปี ปรับตัวขึ้นราว 25bps ขณะที่ บอนด์ไทยปรับตัวขึ้นสวนทางตลาดบอนด์อื่นๆ หนุนโดยแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่างชาตินักลงทุนราว 1.4 หมื่นล้านบาท

นอกเหนือจากบอนด์ที่ถูกขายทำกำไร กองทุนอสังหาฯ ทั่วโลกก็เผชิญแรงเทขายทำกำไรเช่นกัน เนื่องจากบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น กดดันให้ส่วนต่างระหว่างยีลด์ของกองทุนอสังหาฯ กับยีลด์ของพันธบัตรรัฐบาลแคบลง

ในส่วนตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หนุนโดยจากความกังวลเกี่ยวกับกำลังการผลิตของซาอุฯที่หายไปกว่า 50% หลังโรงกลั่นถูกโจมตี และแรงหนุนจากยอดสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ (Crude Inventories) ที่ปรับตัวลดลงต่อกัน 4 สัปดาห์

Economic Outlook

สัปดาห์นี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามก็คือ การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะ การประชุมนโยบายการเงินเฟดในวันพฤหัสฯ โดยคาดว่าเฟดจะมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 1.75-2.00% เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และรับมือกับปัจจัยความเสี่ยงทั้งสงครามการค้า และปัญหา Brexit

ขณะที่ ตลาดคาดการณ์ว่า นโยบายการเงินจาก ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย BOJ จะกลับมาใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น หากเงินเยนแข็งค่าใกล้ระดับ 100 เยนต่อดอลลาร์ ส่วน BOE ก็สารถจะลดดอกเบี้ยลงได้ หากเศรษฐกิจอังกฤษซบเซาลง หลังอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป

ในส่วนข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดมองว่า แนวโน้มภาคการผลิตสหรัฐฯยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนผ่าน ดัชนีภาคการผลิตโดยเฟดนิวยอร์ก (Empire State Manufacturing Index) ที่จะรายงานในวันจันทร์ จะลดลงสู่ระดับ 4.0 จุด จาก 4.8 จุดในเดือนก่อนหน้า

นอกเหนือจากผลการประชุมธนาคารกลางหลัก และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ตลอดทั้งสัปดาห์ ตลาดจะจับตาความคืบหน้าของประเด็น Brexit เนื่องจากผู้นำอังกฤษมีกำหนดเข้าเจรจากับบรรดาผู้นำชาติยุโรปในวันจันทร์ ส่วนศาลฎีกาของอังกฤษก็มีกำหนดไต่สวนข้อกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษใช้อำนาจมิชอบในการเลื่อนเปิดประชุมสภา

Theme of the Week

สัปดาห์นี้ มองว่าผู้เล่นในตลาดจะมีความระมัดระวังตัวมากขึ้น เพราะตลาดอาจผันผวนสูงขึ้นได้ หากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดในอนาคตไม่ได้ผ่อนคลายมากเท่าที่ตลาดคาดหวัง หรือ ตลาดกังวลปัญหาความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ในระยะสั้น นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มาก อาจพบโอกาสในการทำกำไรระยะสั้นผ่าน สินทรัพย์ที่จะได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง อาทิ หุ้นในกลุ่มพลังงาน เพราะราคาน้ำมันยังคงมีแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับกำลังการผลิตจากซาอุฯ ปริมาณสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯที่ลดลงต่อเนื่อง และความเสี่ยงสงครามการค้าที่คลี่คลายลง

ส่วนในระยะยาว นักลงทุนควรใช้โอกาสที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น จากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด และราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ในการซื้อสะสม “พันธบัตรรัฐบาล” เพราะเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างแน่นอน ซึ่งการมี บอนด์ในพอร์ตจะช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้ นอกจากนี้หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้ พันธบัตรรัฐบาลตลาดเกิดใหม่ (EM Sovereign Bonds) ถือว่าน่าสนใจมาก ด้วยระดับยีลด์ที่ยังน่าสนใจ เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลตลาดพัฒนาแล้ว

สำหรับมุมมองเราต่อ Asset Classes ต่างๆ มีดังนี้

Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนของสงครามการค้าก็สามารถกดดันบรรยากาศการลงทุนได้ทุกเมื่อ นักลงทุนจึงควรลดสัดส่วนการถือครองหุ้น และเน้นรอโอกาสเข้าซื้อ หากตลาดมีการปรับฐานหนัก (Buy on Dip) เพื่อเลือกซื้อของถูก

US Equity: คงมุมมอง “Underweight” แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงดูดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่นักลงทุนต้องยอมรับว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซื้อ/ขายกันในระดับราคาที่แพง (P/E 19.7เท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา (P/E 17.9 เท่า) ทำให้ Upsides ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เหลืออีกไม่มาก หากภาพรวมเศรษฐกิจไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นมาก ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่นักลงทุนจะเทขาย หากตลาดมีการปรับฐาน

Europe Equity: คงมุมมอง “Neutral” ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้าและปัญหาการเมืองในยุโรป แต่เราเชื่อว่า หุ้นยุโรปจะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นของธนาคารกลางยุโรป ทั้งการลดดอกเบี้ย และโครงการซื้อสินทรัพย์ (QE)

Japan Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเงินเยนมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเสมอ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Assets) ในช่วงตลาดผันผวน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหุ้นญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี หุ้นญี่ปุ่นจะน่าสนใจมากสุด หากตลาดหุ้นปรับฐานหนัก เพราะ ราคาปัจจุบันของหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX Index) ที่ P/E 13.5 เท่า ถือว่าถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา ที่ระดับ 17.5 เท่า (SD ของ P/E อยู่ที่ 4.1)

EM Equity: คงมุมมอง “Neutral” เพราะสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ EM และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน EM อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นก็สามารถรีบาวด์ขึ้นได้ในช่วงสั้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางทั่วโลก

China Equity: คงมุมมอง “Overweight” โดยในระยะสั้น ตลาดหุ้นจีนมีแนวโน้มจะได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่คลี่คลายลง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน (PBOC) และ การเพิ่มสัดส่วน หุ้นจีน A-Shares บนดัชนีของ MSCI อีกทั้งระดับราคาปัจจุบันของหุ้นจีน (P/E 14.4 เท่า) ถือว่าไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ด้วยความสามารถในการทำกำไรที่สูง (ROE 13% เป็นรองแค่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ ROE 16%)

Thai Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงและทั้งปีจะโตได้เพียง 3%จากปีก่อน นอกจากนี้ ระดับราคาปัจจุบันของตลาดหุ้นไทยถือว่าแพงมาก (P/E 19.3เท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (P/E 17.1เท่า ) และหากเทียบความถูก/แพง กับตลาดหุ้นอื่นๆ ตลาดหุ้นไทยก็ถือว่าแพง แม้ว่าระดับราคาจะใกล้เคียงกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ (P/E 19.5เท่า) แต่ความสามารถในการทำกำไรกลับด้อยกว่ามาก (ROE ของ SET อยู่ที่ 9.5% แต่ ROE ของ S&P500 อยู่ที่ 16%)

Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” เพราะตลาดบอนด์จะได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งการลดดอกเบี้ย หรือการซื้อสินทรัพย์ (QE) นอกจากนี้ ตราสารหนี้ก็ยังเป็นทางเลือกหลักในการพักเงินของนักลงทุนในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวน อย่างไรก็ดี ระดับยีลด์ปัจจุบันถือว่าแพงขึ้นจากช่วงต้นปี ดังนั้น นักลงทุนควรรอจังหวะที่บอนด์ยีลด์เด้งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบอนด์

Global Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” โดยมองว่าทั้งตราสารกลุ่ม HY และตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (EM Debts) จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟด นอกจากนี้ ยีลด์เฉลี่ยของบอนด์กลุ่ม HY ประมาณ 6.1% ถือว่าน่าสนใจ ส่วนยีลด์เฉลี่ยของกลุ่ม EM ปัจจุบันอยู่ที่ 3.9% น่าดึงดูดกว่ายีลด์ในฝั่งของตลาด DM และยังมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ตามการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางใน EM

Thai Fixed Income: คงมุมมอง “Underweight”เพราะยีลด์บอนด์ไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.6% ต่ำกว่า ยีลด์โดยเฉลี่ยจากบอนด์กลุ่ม EM ที่ระดับ 3.9% หรือ ยีลด์ของตราสาร HY ที่ 6.1% ทำให้นักลงทุนมีตัวเลือกที่ดีกว่าบอนด์ไทย

Alternative Assets: คงมุมมอง “Overweight” เนื่องจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายทั่วโลก จะกดดันผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ส่วนต่างระหว่างยีลด์ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์และบอนด์ยีลด์จากพันธบัตรรัฐบาลยังสูงเกินระดับ 2.6%-2.9% ซึ่งเป็นระดับที่ผู้จัดการกองทุนอสังหาฯ มองว่าราคากองอสังหาฯแพงไป และไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ดีนักลงทุนต้องระวัง หากตลาดกลัวความเสี่ยงมากและไล่ขายสินทรัพย์เสี่ยง กองทุนอสังหาฯ ก็จะมีโอกาสโดนเทขายได้เช่นกัน

REITs/Infra.: คงมุมมอง “Overweight” โดยกองทุนอสังหาฯ ไทยยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความผันผวนของกองทุนอสังหาฯได้ เพราะกองทุนอสังหาฯให้ยีลด์ที่ระดับ 4.8% ซึ่งสูงกว่ายีลด์จากบอนด์ไทยราว 1.6%

Commodity: ปรับมุมมองจาก “Underweight” เป็น “Neutral” เพราะในระยะสั้น ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากความกังวลปริมาณน้ำมันดิบโลกขาดแคลน จากกำลังการผลิตของซาอุฯที่ลดลงกว่า 50% หลังโรงกลั่นถูกโจมตี ความเสี่ยงสงครามการค้าที่ลดลง และอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐฯที่ยังคงสูงอยู่ แต่ในระยะยาวความต้องการน้ำมันจะกลับมาลดลง ตามภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปริมาณน้ำมันดิบก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าความต้องการ จากกำลังการผลิตน้ำมันในฝั่งสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Gold: คงมุมมอง “Overweight” เพราะข้อมูลในอดีตชี้ชัดว่าทองคำจะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงที่ธนาคารกลางต่างใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อีกทั้งราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการซื้อสะสมของบรรดาธนาคารกลาง และนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงตลาดปั่นป่วน ดังนั้นการปรับฐานของราคาทองคำในระยะสั้นนี้ จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนเข้าซื้อสะสมทองคำ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง (Buy on Dip)

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย