รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ถ้าโคโรนาคือปัจจัยกดดันเศรษฐกิจจีนอยู่แล้วทำไมราคาน้ำมันดิบถึงสามารถวิ่งขึ้นมาได้?

เผยแพร่ 21/02/2563 14:32
อัพเดท 09/07/2566 17:31

เมื่อวันพุธราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวสูงขึ้น 10% ภายในช่วงระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมาโดยมีราคาเทรดอยู่ที่ $59 ต่อบาร์เรลในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นด้วยกัน มีแต่หุ้นของบริษัทแอปเปิ้ล (NASDAQ:AAPL) ซึ่งฐานการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในจีนที่ชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบเบรนท์รายสัปดาห์

ถ้าโควิด 19 หรือเจ้าไวรัสโคโรนากระทบต่อเศรษฐกิจประเทศจีนจริงอย่างที่ข่าวได้รายงานเอาไว้ ราคาน้ำมันดิบควรจะต้องปรับตัวลดลงต่อเพราะระบบขนส่งสาธารณะทั่วทั้งจีนมีผู้ใช้งานน้อยลง จำนวนรถโดยสารที่ออกมาวิ่งก็ลดลงเช่นเดียวกันกับการค้าขายและการเดินทางด้วยเครื่องบิน บริษัทโรงกลั่นน้ำมันเองก็ผลิตน้ำมันน้อยลง 25% กว่าที่เคยผลิตในเวลาเดียวกัน

ท่ามกลางข่าวร้ายในประเทศจีนแต่ราคาน้ำมันดิบกลับปรับตัวขึ้น คาดว่าสาเหตุที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นมาเพราะยังมีนักลงทุนที่เชื่ออยู่ว่าจีนยังคงนำเข้าน้ำมันอยู่ซึ่งการนำเข้านี้เกือบจะอยู่ในระดับเดียวกันกับช่วงเวลาปกติแล้ว ในช่วงเวลาปกติประเทศที่อยู่ในเอเชียรวมกันนำเข้าน้ำมันเกิน 10 ล้านบาร์เรลต่อวันแต่สำหรับประเทศจีนประเทศเดียวนั้นการนำเข้าน้ำมันคิดเป็น 10% ของการผลิตน้ำมันทั่วทั้งโลกหรือคิดเป็นการนำเข้าประมาณ 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน

มีข่าวว่าในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์มีข่าวบริษัทผู้ซื้อน้ำมันของจีน Unipec หยุดการซื้อน้ำมันจากแอฟริกาตะวันตก แต่ความจริงแล้วเป็นประเทศของแหล่งน้ำมันหลักๆ ของโลกอย่างเช่นซาอุดิอาระเบีย รัสเซียและอีรัก ยังคงส่งน้ำมันให้กับจีนอยู่

ราคาน้ำมันดิบ WTI รายสัปดาห์

วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการนำเข้าน้ำมันของจีนอย่างใกล้ชิด

จากข้อมูลในเว็บไซต์ TankerTrackers.com พบแทงค์เก็บน้ำมันถูกปล่อยเอาไว้ในประเทศจีนที่มีการนำเข้าจากประเทศซาอุดิอาระเบีย อีรัก โอมาน อินโดนิเซีย บราซิลและประเทศอื่นๆ อีก จากการเก็บแทงค์น้ำมันเหล่านี้เอาไว้อาจเป็นไปได้ว่าเพราะจีนยังไม่สามารถนำเข้าน้ำมันในระดับเดียวกันกับช่วงที่ไวรัสโคโรนาระบาดได้ จีนจึงตั้งใจเก็บแทงค์เหล่านี้ไว้โดยอ้างว่าเพราะติดโคโรนาไวรัสเพื่อเจรจาให้ประเทศผู้ส่งลดราคาน้ำมันลง

เราจะไม่มีทางรู้ข้อมูลการนำเข้าน้ำมันของจีนว่านำเข้าไปมากน้อยแค่ไหนและการนำเข้าน้ำมันของจีนได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนามากเพียงใดจนกว่ากรมศุลกากรของจีนจะให้ข้อมูลตัวเลขของเดือนกุมภาพันธ์ ถ้ารายงานการนำเข้าน้ำมันในเดือนกุมภาพันธ์มีตัวเลขเหมือนกับกับตัวเลขในช่วงก่อนสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ประกอบกับข่าวที่เว็บไซต์ TankerTrackers ได้มาจะเท่ากับว่าจีนจงใจกักตุนน้ำมันจริงซึ่งจะนำไปสู่คำถามถัดไปว่า...ทำไม? ทำไมประเทศจีนถึงยังต้องการนำเข้าเอาน้ำมันไปเก็บไว้ในคลังทั้งๆ ที่ตัวเองมีน้ำมันอยู่ในคลังอยู่แล้ว?

คำตอบที่พอจะเป็นไปได้มีอยู่ 2 คำตอบ

คำตอบแรก: ประเทศจีนกำลังพยายามคานราคาน้ำมันกับกลุ่มประเทศผู้ผลิตเพราะราคาน้ำมันดิบในตอนนี้นั้นดีกว่าราคาน้ำมันดิบในสถานการณ์ปกติ หากเป็นเช่นนั้นจริงแสดงว่าจีนรู้แล้วว่าสถานการณ์ไวรัสโคโรนาในไม่ช้าจะคลี่คลายแน่นอน สถานการณ์เศรษฐกิจของจีนจะดีขึ้นในไม่ช้าและราคาน้ำมันดิบจะกลับมาเป็นปกติแต่กว่าจะถึงตอนนั้นขอเก็บข่าวดีเพื่อเอากำไรไว้ก่อน

คำตอบที่สอง: จีนซื้อน้ำมันกักตุนไว้ตอนนี้เยอะๆ เพราะพวกเขาเชื่อว่าประเทศตนเองต้องเสียโอกาสและความได้เปรียบทางการค้าในสถานการณ์ปกติเป็นแน่และการจะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกลับมาได้ก็จำเป็นต้องใช้น้ำมันอย่างมหาศาล

ถ้าการนำเข้าน้ำมันลดลงจริงละก็...

ในถ้าตรงกันข้ามถ้ารายงานตัวเลขการนำเข้าน้ำมันในเดือนกุมภาพันธ์นี้ลดลงอย่างน่าใจหายเมื่อเทียบกับตัวเลขในช่วงก่อนที่ไวรัสโคโรนาจะระบาดเท่ากับว่าโควิด 19 สร้างผลกระทบให้กับเศรษฐกิจจีนอย่างร้ายแรงจริงและจีนยังไม่สามารถหาทางจัดการอย่างเด็ดขาดได้ โลกยังต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้ไปอีกสักระยะ

การที่ตัวเลขนำเข้าน้ำมันออกมาลดลงหมายความว่าจีนไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องซื้อน้ำมันมากักตุนไว้ทำไมเพราะในอนาคตจำนวนผู้ใช้งานก็จะลดลงอยู่ดี หากเป็นเช่นนี้จริงนี่คือข่าวร้ายของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกเลยทีเดียว

การประชุมของกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรในวันที่ 5-6 มีนาคมนี้ ดิฉันมั่นใจเลยว่าเราจะได้เห็นโอเปกประเมินความต้องการน้ำมันของจีนเพราะพวกเขามีข้อมูลจากทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันจากประเทศกลุ่มสมาชิก ข้อมูลการประเมินสถานการณ์น้ำมันดิบในจีนของโอเปกน่าจะเป็นข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่โลกจะสามารถเชื่อถือได้ ณ ตอนนี้ ถ้าโอเปกวิเคราะห์ความต้องการน้ำมันดิบในจีนจะยังคงสูงขึ้นต่อไป พวกเขาจะไม่รู้สึกดดันเท่าไหร่นักหากต้องลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีกครั้ง

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย