รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ภาพรวมตลาดลงทุนสัปดาห์นี้: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐานยาว, นักลงทุนถามหาการดีดตัวขึ้น?

เผยแพร่ 02/03/2563 12:02
อัพเดท 09/07/2566 17:31

- นี่คือการร่วงลงอย่างรุนแรงครั้งหนึ่งนับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2008

- กลยุทธ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางฯ จะเกิดขึ้นแต่อาจไม่ได้ผลมากนัก

- การร่วงลงของราคาทองคำเมื่อวันศุกร์ที่แล้วแสดงให้เห็นถึงตลาดที่ปราศจากเหตุผล

ความเชื่อมั่นที่เหล่าผู้นำและธนาคารกลางต่างๆ แสดงออกสู่สาธารณะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วล้วนไร้ค่าเมื่อยู่ตรงหน้าตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของไวรัสโคโรนาจนล่าสุดการปรับตัวร่วงลงของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำสถิติรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งนับตั้งแต่วิกฤติทางการเงินในปี 2008 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สูญเงินไปแล้วมากถึง $3,600,000,000,000 เหรียญสหรัฐภายในระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียวและนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างพากันหนีไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยแล้ว

ความต้องการถือครองสกุลเงินเยนและพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นในขณะที่สกุลเงินดอลลาร์กับราคาทองคำร่วงลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ความอดทนอันหนักแน่นท่ามกลางสถานการณ์ที่เป็นลบ

ไม่ว่าจะเป็นดัชนีดาวโจนส์ S&P 500 และ Russell 2000 ล้วนมีราคาปิดต่ำลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมายกเว้นแต่ดัชนีแนสแด็กเท่านั้นที่ปรับตัวขึ้นได้บ้างเล็กน้อย แต่ถ้ามองภาพรวมตลอดทั้งสัปดาห์ไม่มีดัชนีตัวไหนเลยที่มีราคาปิดสูงขึ้น

ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 10% และเป็นการร่วงลง 7 วันติดต่อกันมาจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนี S&P ร่วงลง 12% ดัชนีดาวโจนส์ 14% ลงมาสู่จุดต่ำสุดของดัชนีนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2019 ซึ่งเป็นไปได้ว่าราคาอาจดีดตัวขึ้นระยะสั้นจากแนวรับบริเวณนี้ (24,800 จุดโดยประมาณ) แนสแด็กร่วงลง 12.5% และ Russell 2000 ปรับตัวลดลง 13% กราฟดัชนีดาวโจนส์รายวัน

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในกราฟรายวันของดัชนีดาวโจนส์เกิดรูปแบบค้อน (Hammer) ที่จุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนปี 2019 เหนือเทรนไลน์หลักที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 อย่างไรก็ตามเราไม่ได้บอกว่ารูปแบบค้อนแท่งนี้หมายความว่านี่คือจุดจบของขาลงครั้งนี้แล้ว แต่เราต้องการชี้ให้เห็นว่ากราฟได้ลงมาถึงแนวรับสำคัญที่มีโอกาสดีดตัวกลับขึ้นไปได้ซึ่งที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับว่าจะขึ้นไปได้แรงและนานมากแค่ไหน

แน่นอนว่าการพร้อมใจกันร่วงลงของตลาดลงทุนในครั้งนี้เป็นใครไปไม่ได้นอกจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่ยังคงแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกต้องชะงัก รายได้ผลกำไรของบริษัทเอกชนหดหาย ห่วงโซ่อุปทานฝืดเคือง พนักงานจ้างถูกปลด โรงงานปิดตัว ผู้คนไม่เดินทาง การใช้เงินลดลง ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกกลายสภาพเป็นอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

นอกจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลง 0.8% หุ้นของกลุ่มธนาคารก็ปรับตัวลดลงด้วยเช่นกันเช่นหุ้นของเจพีมอร์แกน (NYSE:JPM) ปรับตัวลดลงมากกว่า 4% จากปัญหาไวรัสโคโรนา นักลงทุนที่หันไปถือสินทรัพย์สำรองอย่างทองคำมากขึ้นและไม่มีใครต้องการลงทุนในกองทุนซึ่งเคยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในช่วงวิกฤติการเงินปี 2008

ด้วยสถานการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในตลาดลงทุนสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็จับตาดูอยู่และอาจจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจริงๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วนายเจอโรม พาวเวลล์เคยออกมายืนยันอย่างหนักแน่นว่าเขาไม่อยากจะลดอัตราดอกเบี้ยเพราะรู้ดีว่าไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาทางการเงินในระยะยาว ที่สำคัญการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อาจทำให้ยุโรปและญี่ปุ่นต้องลดอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในแดนลบอยู่แล้วยิ่งลบหนักเข้าไปอีก

อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าในทุกๆ แนวโน้มย่อมมีจุดจบเช่นเดียวกันกับแนวโน้มขาลงในครั้งนี้ ต่อให้ไวรัสโคโรนาจะน่ากลัวเพียงใดท้ายที่สุดแล้วจุดต่ำสุดของขาลงครั้งนี้จะต้องเกิดขึ้นและนักลงทุนผู้ที่เชื่อในโอกาสท่ามกลางวิกฤติจะเป็นผู้เข้าไปทดสอบจุดต่ำสุดนั้นและมีโอกาสได้จุดเข้าดีดีก่อนนักลงทุนที่มีความหวาดกลัวอยู่เสมอ


กราฟพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แบบ 10 ปีรายวัน

กราฟพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แบบ 10 ปีหลังจากที่ทะลุแนวรับของเดือนกรกฏาคม 2016 ได้สำเร็จซึ่งเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้มุ่งหน้าลงสู่จุดต่ำสุดใหม่ที่สุดซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของกราฟ เมื่อพิจารณาจากการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย การทะลุกรอบราคาขาขึ้นและกรอบสามเหลี่ยมก่อนหน้านี้แล้วจะเห็นได้ว่าในสัปดาห์นี้แนวโน้มที่ขาลงจะดำเนินต่อไปยังคงมีสูง

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน 1.75% จนตอนนี้ราคาได้ลงมาทดสอบเส้นเทรนไลน์ขาขึ้นสำคัญที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดเมื่อต้นปี 2020 ซึ่งจะเป็นตัวชี้ชะตาเทรนขาขึ้น นอกจากนี้ราคากำลังทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 50DMA ด้วยซึ่งนักลงทุนต้องจับตาดูเป็นพิเศษว่าแนวรับเหล่านี้จะสามารถพยุงแนวโน้มขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐเอาไว้ได้หรือไม่กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐรายวัน

การร่วงลงอย่างมหาศาลของราคาทองคำเมื่อวันศุกร์ถือเป็นการร่วงลงอย่างรุนแรงครั้งหนึ่งนับตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งการร่วงลงในครั้งนี้มีสาเหตุมาจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนมูลค่าลงส่งผลให้ไม่สามารถซื้อทองคำในราคาที่สูงได้ เมื่อไม่มีแรงซื้อราคาทองคำจึงร่วงลงมากราฟราคาทองคำรายวัน

ขาลงในครั้งนี้ยังประกอบไปด้วยแรงขายที่เกิดมาจากหลักจิตวิทยาการลงทุนด้วยเช่นนักลงทุนบางคนมองว่าทองคำที่ขึ้นมาก่อนหน้าวันศุกร์นั้นสูงเกินไปซึ่งราคายังไม่ควรปรับตัวขึ้นไปเร็วขนาดนั้น อย่างไรก็ตามตอนนี้ราคาทองคำได้ถูกพยุงเอาไว้โดยแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 50DMA และเส้นเทรนไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ถ้าทองคำยังคงทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์สำรองที่คนต้องการมากที่สุดในยามวิกฤติเราเชื่อว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่แนวรับทั้งสองในตอนนี้จะไม่สามารถพยุงราคาทองคำเอาไว้ได้

ราคาน้ำมันร่วงลง 16.3% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คิดเป็นการปรับตัวลงมา 7 วันติดต่อกันและเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบตอนนี้มีโอกาสลงไปหา $40 มากกว่าที่จะขึ้นกลับไปที่ $50 เลยด้วยซ้ำกราฟราคาน้ำมันดิบ WTI รายวัน

ตอนนี้ราคาน้ำมันดิบกำลังจะลงมาถึงแนวรับสำคัญที่จุดต่ำสุดในอดีตเคยเกิดขึ้นหลายครั้งซึ่งครั้งล่าสุดที่เกิดต้องย้อนกลับไปถึงปี 2016 แนวรับนี้จะสามารถพยุงราคาน้ำมันดิบได้หรือไม่? แนวรับนี้จะส่งน้ำมันดิบกลับขึ้นไปทดสอบราคาที่ $52 หรือจะเป็นราคาน้ำมันดิบที่ลงไปไกลได้ถึง $26? การประชุมของกลุ่มโอเปกในวันที่ 5-6 มีนาคมนี้อาจจะเป็นคำตอบให้กับนักลงทุนได้

ข่าวเศรษฐกิจสำคัญในสัปดาห์นี้ (เวลาทั้งหมดอ้างอิงตาม EST)

วันอาทิตย์

20:45 (ประเทศจีน) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) จากมหาลัยไซซิน: คาดว่าจะลดลงจาก 51.1 เมื่อเดือนมกราคมเหลือ 45.7 ในเดือนกุมภาพันธ์

วันจันทร์

03:55 (เยอรมัน) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 47.8

04:30 (สหราชอาณาจักร) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 51.9 เหลือ 51.8

10:00 (สหรัฐฯ) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตโดย ISM: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 50.9 เหลือ 50.4

22:30 (ออสเตรเลีย) - ผลการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแห่งออสเตรเลีย (RBA): เชื่อว่าจริงๆ แล้ว RBA อยากคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.75% แต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอาจทำให้เปลี่ยนใจ

วันอังคาร

04:30 (สหราชอาณาจักร) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการก่อสร้าง: คาดว่าคงที่อยู่ที่ 48.4

05:00 (ยูโรโซน) - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI): คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 1.4% เหลือ 1.2% แบบปีต่อปี

19:30 (ออสเตรเลีย) - รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าแบบไตรมาสต่อไตรมาสจะคงที่อยู่ที่ 0.4%

วันพุธ

04:30 (สหราชอาณาจักร) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการและหลายภาคส่วน: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 53.3

08:15 (สหรัฐฯ) - ตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP: คาดว่าจะลดลงจาก 291K เหลือ 170K

10:00 (สหรัฐฯ) - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตโดย ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 55.5 เหลือ 54.9

10:00 (แคนาดา) ผลการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแห่งแคนดา (BoC): เชื่อว่าจริงๆ แล้ว BoC อยากคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% แต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอาจทำให้เปลี่ยนใจ

10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะลดลง -0.079 จาก 0.452M เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

วันพฤหัสบดี

05:00 (ตามเวลาสหรัฐฯ) การประชุมของกลุ่ม OPEC: จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันระหว่างกลุ่มโอเปกและกลุ่มประเทศพันธมิตร ณ กรุงเวียนนา

วันศุกร์

08:30 (สหรัฐฯ) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะลดลงจาก 225K เหลือ 175K

08:30 (สหรัฐฯ) อัตราการว่างงาน: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 3.6%

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย