รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

10 เรื่องน่ารู้หุ้น OR  ที่ไม่มีใครบอกคุณ 

เผยแพร่ 21/01/2564 09:32
อัพเดท 09/07/2566 17:32

หุ้นน้องใหม่สุดฮ็อตที่นักลงทุน และแม้แต่คนที่ยังไม่เคยลงทุนต่างก็พูดถึงกันว่าอยากจับจองเป็นเจ้าของ

บ้างก็บอกว่า ไหนๆ ก็กินกาแฟ Amazon อยู่แล้วทุกวัน

บ้างก็บอกว่า ปตท คือ ปั๊มน้ำมันที่เข้าประจำ ขับรถทางไกลก็จอดแวะพักเข้าห้องน้ำ แวะ 7-11 ซื้อของกินที่นี่ตลอด

จริงๆ แล้ว หุ้น OR น่าสนใจแค่ไหน วันนี้วิตามินหุ้นจะมานำเสนอข้อมูลที่หลายๆ คนยังไม่ได้เล่าให้ฟังกันบ้างครับ

OR มาจาก Oil & Retail ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ

หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า PTT (BK:PTT) spin off ส่วนที่เป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มที่กำไรดีมาเข้าตลาด แต่จริงๆ ไม่ใช่ OR ครอบคลุมตั้งแต่ขายน้ำมัน กาแฟ ชานมไข่มุก ไก่ทอด ซ่อมรถ และไม่ใช่แค่ในปั๊ม แต่ยังมีการขายน้ำมันเครื่องบิน เรือขนส่ง และต่อยอดไปทำธุรกิจอีก 10 ประเทศ หลักๆ คือ กัมพูชากับฟิลิปปินส์

สรุปง่ายๆ ว่า OR ขายของ 100 บาท 91 บาทเป็นน้ำมัน 4 บาทเป็นอาหารและเครื่องดื่ม และ 5 บาท เป็นธุรกิจในต่างประเทศ

แปลว่า ขายน้ำมันมากกว่าขายกาแฟ ถ้าราคาน้ำมันผันผวน (ที่เราเห็นประกาศปรับราคาขึ้นลงอยู่บ่อยๆ) และปริมาณน้ำมันเพิ่มหรือลดลง (ช่วง COVID การเดินทางลดลงทั้งรถ และเครื่องบิน) ก็จะส่งผลต่อรายได้อย่างมาก เหมือนที่เราเห็นว่าทำไมรายได้แต่ละปีขึ้นๆ ลงๆ และปีนี้ลงแรง

ขายน้ำมันกำไรน้อย ขายกาแฟกำไรดี

สัดส่วนรายได้มาจาก Oil, Non-Oil, ต่างประเทศ คือ 91%, 4%, 5%

สัดส่วนกำไรขั้นต้นคือ 69%, 26%, 5%

สัดส่วน EBITDA คือ 69%, 25%, 6%

แปลว่า น้ำมันขายเยอะ แต่ได้กำไรน้อย ส่วนกาแฟขายน้อยกว่า แต่กำไรดีกว่ามาก ส่วนต่างประเทศรายได้และกำไรสัดส่วนพอๆ กัน ทีนี้ถ้าอยากให้เห็นภาพชัด เรามาดู GPM ของแต่ละธุรกิจกันครับ

OIL 5.8% >> ขึ้นอยู่กับค่าการตลาดด้วย อาจไม่ได้ดีตลอด ที่ผ่านมา GPM อยู่ในช่วง 4.5-5%

Non-Oil 52.7% >> GPM สูงมาก ที่ผ่านมาก็อยู่เกิน 50%

ต่างประเทศ 7.6% >> ปกติ อยู่ประมาณ 5% ต้องดูว่าจะขยับเพิ่มได้มากเท่านี้ตลอดมั้ย เพราะเป็นส่วนผสมทั้งปั้มและร้านกาแฟ

เน้นเปิดปั๊มเพิ่ม ด้วยโมเดล DODO

ปั๊มน้ำมันปัจจุบันมี 2297 แห่ง แบ่งเป็นในประเทศ 1968 และต่างประเทศ 329 แห่ง โมเดลมี 2 แบบ คือ


เป็นของตัวเองเรียกว่า COCO (Company Own Company Operate) ทำทุกอย่างเองหมด

กับอีกโมเดล เรียกว่า DODO (Dealer Own Dealer Operate) พูดง่ายๆ ก็คือ คล้ายๆ กับขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นมาบริหารจัดการ

สัดส่วนหลักคือ DODO ถ้าปั๊มในไทยเป็น DODO 82% ถ้าในต่างประเทศ เป็น DODO 75% โมเดลนี้ดีเพราะว่า ขยายสาขาได้เร็ว ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องการจัดการ สถานที่ พนักงานต่างๆ แต่เรื่องค่าการตลาดน้ำมันสำคัญ ถ้าน้อย เจ้าของปั๊มก็อาจจะอยู่ไม่ได้

สำหรับแผนการเปิดปั๊มเพิ่มโดยประมาณ ในไทยปีละ 106 ปั๊ม และในต่างประเทศปีละ 70 ปั๊ม

ดูตัวเลขเหมือนจะเยอะ แต่ที่ผ่านมา ถ้าไม่นับปีนี้ที่เปิดปั๊มน้อยเพราะติด COVID การเปิดปั๊มในไทยประมาณ 140-150 แห่งต่อปี และต่างประเทศ 30-40 แห่งต่อปี แปลว่า คงเปิดที่ต่างประเทศเยอะกว่าเนื่องจากฐานยังต่ำ

ค่าการตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น

ค่าการตลาด คือ ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกและราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น แต่ระหว่างทางก็จะมีโดนหักหลายภาษี หักเข้ากองทุนน้ำมันด้วย ถ้าพูดง่ายๆ ค่าการตลาดเหมือน Gross Profit Margin ของปั๊ม ถ้าเยอะแล้วมีคนเติมน้ำมันเยอะ ก็จะกำไรมาก

ถ้าปั๊มแบบ COCO บริษัทเช่น OR ก็จะได้ไปหมด แต่ถ้าเป็น DODO ก็จะแบ่งกันระหว่าง OR กับ Dealer เจ้าของปั๊ม

ทีนี้ค่าการตลาดย้อนหลัง 5 ปี ของน้ำมันดีเซลคือ


ปี 2559 = 1.87 บาทต่อลิตร

ปี 2560 = 1.57 บาทต่อลิตร

ปี 2561 = 1.76 บาทต่อลิตร

ปี 2562 = 1.86 บาทต่อลิตร

ปี 2563 = 2.05 บาทต่อลิตร

เราจะเห็นว่าแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด ซึ่งแปลว่าดี มาร์จิ้นจะสูงขึ้น แต่ก็ต้องดูด้วยว่า สต็อคน้ำมันที่เก็บไว้ที่ปั๊มมี่กี่วัน แล้วราคาหน้าปั๊มปรับขึ้นลงบ่อยแค่ไหนประกอบด้วย บางทีค่าการตลาดดี แต่ราคาปรับขึ้นลงถี่ไปแล้วไม่สัมพันธ์กับสต็อคที่มีอยู่ก็จะกระทบได้เช่นกัน


เน้นเปิดร้านกาแฟเพิ่ม ด้วยโมเดลแฟรนไชส์


ร้านกาแฟ Amazon มี 3,440 สาขา แบ่งเป็นในไทย 3168 สาขา และ ต่างประเทศ 272 สาขา

เราจะเห็นว่า จำนวนร้านกาแฟมีมากกว่าจำนวนปั๊มค่อนข้างเยอะ เพราะว่าไปเปิดตามตึกแถว ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้าทั่วไปด้วย โดยที่สัดส่วนร้านนอกปั๊มคิดเป็น 40%

ในแง่ของการเป็นแฟรนไชส์ สัดส่วนคือ 80% และเป็น COCO 20%

ร้านกาแฟในต่างประเทศ 60% ขายในกัมพูชา 25% ขายในลาว ที่เหลือกระจายกันไปฟิลิปปินส์ พม่า สิงคโปร์ มาเลเซีย โอมาน จีน ญี่ปุ่น

แผนการเปิดสาขา คือ ในไทยปีละ 420 แห่ง และในต่างประเทศปีละ 62 แห่ง

ที่ผ่านมา ในไทยเปิดปีละ 450-460 แห่ง ต่างประเทศเปิดปีละ 50-60 แห่ง


ถ้าไม่เปิดร้านกาแฟเพิ่ม รายได้อาจไม่เพิ่มมาก


ร้านกาแฟ 3 พันกว่าสาขา ขายได้ปีละ 264 ล้านแก้ว การเติบโตของจำนวนสาขาและจำนวนแก้วอยู่ที่ประมาณ 20% แต่ถ้ามาดูเฉพาะ 9 เดือนแรกเทียบกัน การเปิดสาขายังเยอะอยู่ +15% แต่ว่า จำนวนแก้วที่ขายได้คือ 200 ล้านแก้ว +3.4%


มุมหนึ่งเราอาจจะมองได้ว่า เพราะ COVID การเดินทางน้อยลง คนก็จะไปซื้อกาแฟน้อยลง ประเด็นนี้ต้องติดตาม เพราะว่ายิ่งขยายสาขาเยอะระดับปีละมากกว่า 400 แห่ง จะมีต้นทุนตามมา ถ้าเปิดร้านเยอะ แต่ยอดขายต่อร้านลดลงก็จะไม่ดี


ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะแบบนี้หรือเปล่า ทำให้ OR ถึงไปลงทุนเพิ่มเติมในพีเบอร์รี่ ที่จะช่วยลดต้นทุนเรื่องอุปกรณ์กาแฟ และได้ร้าน Pacamara เข้ามาด้วย นอกจากนี้ก็มีแผนสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม เรียกได้ว่า พยายามขยายธุรกิจไปทั้งแนวลึกและกว้างมากขึ้น


ผลประกอบการผันผวนตามน้ำมัน


ปี 2560 ยอดขาย 543,276 ล้านบาท กำไรสุทธิ 9,769 ล้านบาท

ปี 2561 ยอดขาย 592,073 ล้านบาท กำไรสุทธิ 7,851 ล้านบาท

ปี 2562 ยอดขาย 577,134 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,896 ล้านบาท


9M62 ยอดขาย 430,341 ล้านบาท กำไรสุทธิ 8,948 ล้านบาท

9M63 ยอดขาย 319,308 ล้านบาท กำไรสุทธิ 5,869 ล้านบาท


ยอดขายขึ้นลงเพราะสัดส่วนรายได้ตามน้ำมันเป็นหลัก กำไรก็จะคล้ายกัน แต่ว่าจะมีเรื่องของค่าการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง และก็สัดส่วนของ Non-Oil ที่มาช่วยเพิ่มกำไร 9 เดือนปีนี้ไม่ดีเพราะว่า ได้รับผลกระทบจาก COVID แต่ถ้าดูเฉพาะ Q3 จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวของกำไร แต่รายได้ยังไม่มา แบบนี้


Q3’62 ยอดขาย 136,652 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,594 ล้านบาท

Q3’63 ยอดขาย 104,854 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,450 ล้านบาท


ราคา IPO 16-18 บาท P/E 24-27 เท่า

ถ้าดูตาม Filing คำนวณจาก EPS 4 ไตรมาสย้อนหลัง ที่รวมกำไรไม่ค่อยดีเอาไว้ด้วย ได้ P/E 24-27 เท่า และที่บอกว่า P/E เฉลี่ยของแบรนด์อื่น 31.7 เท่า อันนี้ต้องระวังในการใช้นิดนึงเพราะว่านำ P/E ของ Petronas ที่ 62 เท่า Viva ที่ 57 เท่า PTG 21 เท่า SUSCO 16 เท่า Abu Dhabi 21 เท่า เป็นต้นมาคำนวณ ทำให้ P/E เหวี่ยง


วิธีการที่อาจจะเหมาะสมกว่า คือ ดูคู่แข่งที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด แล้วประเมินว่า P/E ที่ OR ควรได้เป็นเท่าไหร่ หรือคำนวณจาก Market Cap ก็อาจจะได้เช่นกัน แต่ที่สำคัญ ต้องคำนวณ EPS ที่ควรจะเป็นหลัง COVID ให้ออกด้วย


มีคดีความที่ฟิลิปปินส์ยังไม่ได้ตั้งสำรอง


เรื่องนี้ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกัน เรื่องนี้เกิดนานแล้วตั้งแต่ปี 2547-2550 เป็นเรื่องของบริษัทลูกชื่อว่า PTTTC กับ BOC (หน่วยงานด้านศุลกากร) บอกว่า PTTTC สำแดงพิกัดภาษีศุลกากรไม่ถูกต้อง ชำระภาษีขาดไป 308 ล้านบาท จริงๆ ก็ไม่เยอะ แต่ที่โหดคือ เรียกเบี้ยปรับ 800% หรือ 2464 ล้านบาท


PTTTC จ่ายเงิน 308 ล้านบาทไปแล้ว แต่ไม่ได้จ่ายเบี้ยปรับ ตอนนี้เรื่องอยู่ในชั้นศาล ยังไม่ได้กำหนดว่าจะตัดสินเมื่อไหร่ แต่แค่ต้องระวังไว้ว่า ถ้าวันใดวันนึงศาลตัดสินขึ้นมาจะกระทบกับกำไรได้เพราะไม่ได้ตั้งสำรองไว้ แต่กระทบเป็นได้ทั้งบวกและลบ ถ้าชนะคดีก็ไม่ต้องเสียค่าปรับและอาจได้เงินภาษีที่จ่ายไปคืน แต่ถ้าแพ้ก็จะกระทบทางตรงกันข้าม

โอกาสและความเสี่ยง คือ EV Car และ 7-11

EV Car คาดว่าจะมาแน่ อยู่ที่ว่าจะช้าหรือเร็ว OR เองก็รู้ว่าจะกระทบ ตอนนี้ก็มีการติดตั้ง EV Charger 25 แห่ง และทำ Application ไว้เก็บข้อมูล เพื่อดูว่าถ้าวันไหน EV มาเต็มที่ ก็จะได้รู้ว่าต้องทำใหญ่แค่ไหน จะเป็นสถานีให้ชาร์จไฟ หรือทำแบตเตอรี่ ทำรถ EV ก็ต้องดูต่อไป แต่ผมมองว่า EV น่าจะทำให้เกิดคู่แข่งที่มากกว่านั้น คือ การชาร์จไฟที่บ้านก็ได้ ที่ห้างก็ได้หรืออาจจได้ที่ 7-11 ต้องรอติดตามต่อไป

ส่วนเรื่องการต่อสัญญา 7-11 หรือ Jiffy ดูแนวโน้มแล้ว พึ่งพากันมากกว่า คือ คนเข้าปั๊มก็เพราะมี 7-11 หรือคนเติมน้ำมันก็แวะซื้อของ มองได้ว่าเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และที่สำคัญ CPALL (BK:CPALL) เองก็มีระบบ logistics และ supply chain ที่แข็งแรง ถ้า OR จะทำเองก็คงต้องลงทุนให้พร้อมทางด้านนั้นด้วย

โดยสรุป OR มีความน่าสนใจ แต่ก็มีความเสี่ยง เพราะสัดส่วนรายได้มาจากน้ำมันเป็นหลักที่มีความผันผวนอยู่มาก แต่ค่าการตลาดแนวโน้มระยะสั้นยังเพิ่มขึ้น ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มแนวโน้มดูดี แต่ต้องดูให้ลึกว่าการเติบโตในแต่ละสาขานั้นดีจริงหรือเปล่า ถ้าไม่ขยายสาขาจะโตได้แบบแข็งแรงหรือไม่

ผมหวังว่า บทความนี้จะทำให้คนที่อยากจองหุ้น OR ได้เห็นโอกาสและความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และพิจารณาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า จริงๆ แล้วเรารู้จัก OR ดีแค่ไหน เหมาะกับการลงทุนของเราหรือไม่


บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น



ความคิดเห็นล่าสุด

การลงทุนมีความเสี่ยง ขอบคุณข้อมูลดีๆๆครับ
good data for the investors today.
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ
5-10 ปี รถไฟฟ้าเข้ามาแทน ลงทุนกับ เทคโนโลยี พลังงานสะอาด จะดีกว่าครับ
ขอบคุณข้อมูลครับผม ข้อมูลที่ยังไม่มีที่ใหนบอก
👍🏻
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย