รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เช็คข้อมูล: หุ้นขนาดเล็กกับขนาดใหญ่ อย่างไหนดีกว่ากัน ?

เผยแพร่ 15/05/2562 15:02
อัพเดท 02/09/2563 13:05

การลงทุนในตราสารทุนนั้น หากตัดสินใจถูกต้องก็อาจให้ผลตอบแทนที่สูงจนแทบไม่มีอะไรมาเทียบได้ แต่แม้ว่านักลงทุนจะมีหุ้นที่จับตามองอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีอีกคำถามที่ควรถามตัวเองก่อนการตัดสินใจเลือกหุ้นก็คือ ระหว่างหุ้นที่มีมูลค่าตลาดขนาดเล็กกับที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ ตัวไหนจะดีกว่ากัน

คำว่าหุ้นขนาดใหญ่ เป็นคำที่ใช้กันในแวดวงนักลงทุนซึ่งหมายถึงหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงเกิน 10,000 ล้านเหรียญ ส่วนหุ้นขนาดเล็กมักจะเป็นหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าตลาดไม่เกิน 2,000 ล้านเหรียญ

หุ้นทั้งสองประเภทจะมีดัชนีอ้างอิงของตัวเอง เช่น หุ้นขนาดใหญ่จะอยู่ในดัชนีที่มีผู้ติดตามมากอย่างเช่น S&P 500 ในขณะที่หุ้นขนาดเล็กจะมีดัชนีให้เลือกดูได้อย่างเช่น Russell 2000 บริษัทที่อยู่ในดัชนี S&P 500 จะมีมูลค่าตลาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 22,000 ล้านเหรียญ ส่วนบริษัทที่อยู่ในดัชนี Russell 2000 จะมีมูลค่าตลาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 800 ล้านเหรียญ

Apple (NASDAQ:AAPL), Microsoft (NASDAQ:MSFT) และ Amazon (NASDAQ:AMZN) เป็นหุ้นที่อยู่ในดัชนี S&P แต่ละตัวมีมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญ นับเป็นผู้เล่นที่มีความสำคัญกับนักลงทุนและสื่อเป็นอย่างมาก ในทางตรงกันข้าม คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อของหุ้น The Trade Desk (NASDAQ:TTD), Cree Inc (NASDAQ:CREE) และ Coupa Software (NASDAQ:COUP) ซึ่งเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดัชนี Russell 2000 มาก่อนเลยก็เป็นได้

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีผู้สรุปว่าหุ้นขนาดเล็กมักจะทำผลงานได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่ แต่หลายคนคงสงสัยว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือ โปรดดูข้อมูลด้านล่างซึ่งแสดงให้เห็นผลตอบแทนรายปี (รวมเงินปันผล) ของหุ้นในดัชนี S&P 500 และ Russell 2000

Russell 2000 vs. S&P 500

ประการแรก จากข้อมูลผลการดำเนินงานของดัชนี Russell 2000 ที่เก็บไว้ย้อนหลังเป็นเวลา 40 ปี ดัชนีหุ้นขนาดเล็กนี้ทำผลงานได้ดีกว่า S&P 500 22 ครั้ง ในขณะที่ S&P ทำได้ดีกว่า Russell 18 ครั้ง ซึ่งหากดูในภาพรวมก็ค่อนข้างสูสีกัน

ประการที่สองคือ การทำผลงานที่ดีกว่ามักจะเกิดขึ้นเป็นวงจร เมื่อดูจากข้อมูลจะเห็นว่า Russell มักจะทำผลงานได้ดีกว่าในช่วงปี 1979-1983, 1991-1993, 2000-2014 ในขณะที่ S&P จะทำได้ดีกว่าในช่วงปี 1984-1990, 1994-1999 และ 2014-2018 เมื่อนำช่วงเวลานี้มาพิจารณาเพิ่มเติม เราจะเห็นรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

การที่ Russell 2000 ทำผลงานได้ดีกว่ามักจะสอดคล้องกับช่วงเวลาที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น

  • 1979-1983: เกิดเงินเฟ้อที่มีค่าจำนวนสองหลัก ประกอบกับการถดถอยของเศรษฐกิจในปี 1980 และ 1982

  • 1991-1993: มีการถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 1990-1991

  • 2000-2014: เกิดวิกฤติฟองสบู่ท่างด้านเทคโนโลยีและสินเชื่อซับไพร์ม

S&P 500 มักจะทำผลงานได้ดีกว่าเมื่อสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แข็งแกร่ง เช่น

  • 1984-1990: เศรษฐกิจบูมในปี 1980 ก่อนที่จะย่ำแย่ในปี 1990

  • 1994-1999: มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงกลางยุค 90 ก่อนที่จะมีวิกฤติฟองสบู่ทางด้านเทคโนโลยี

  • 2014-2018: มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังจากการฟื้นฟูวิกฤติที่เกิดขึ้นในปี 2008

แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับปัจจัยดังกล่าวจะไม่ได้เกิดขึ้นตรงกันพอดิบพอดี บางปีก็ไม่เป็นไปตามทฤษฎีนี้ แต่ก็ยังคงมีความเกี่ยวพันกันมากพอที่จะชี้ว่าเมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น หุ้นขนาดใหญ่ก็มักจะดีขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ หุ้นขนาดเล็กมักจะทำผลงานได้ดีกว่า

เมื่อพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวแล้ว หากคุณนำเงิน 100 ดอลลาร์ไปลงทุนทั้งในดัชนี Russell และ S&P ในช่วงเดือนมกราคม 1979 คุณจะได้รับผลตอบแทนจากดัชนีไหนมากกว่ากัน

จากข้อมูลของเดือนมกราคม 2019 ชี้ให้เห็นว่าคุณจะได้รับผลตอบแทน $6,759 จากดัชนี Russell และ $7,835 จากดัชนี S&P แต่ผลตอบแทนก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาด้วยเช่นกัน โดยดัชนี Russell จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในช่วงต้นจนถึงปี 1989 แต่ในปี 1989 จนไปถึงปี 2010 S&P จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของดัชนี Russell 2000 หลังจากเกิดวิกฤติฟองสบู่ด้านเทคโนโลยีและสินเชื่อซับไพร์มทำให้ดัชนีนี้พลิกกลับมานำได้อีกครั้งในปี 2010 แต่ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา ดัชนี S&P ยังคงทำผลงานได้ดีกว่ามาจนกระทั่งทุกวันนี้

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย