รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

3 เรื่องที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ (21 ก.ค.)

เผยแพร่ 21/07/2563 14:49
อัพเดท 21/07/2563 14:55

โดย Detchana.K

Investing.com - ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้คณะกรรมการนโบายการเงินลงมติ หั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.5% ถือว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเรื่องนี้กดดันกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มาก นักวิเคราะห์มองว่า ธนาคารกสิกรไทย KBANK น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ KKP ติดตามรายละเอียดพร้อม ประเด็นสำคัญที่วันนี้นักลงทุนไทยควรรู้

1. กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.50% กระทบเชิงลบต่อกลุ่มธนาคาร

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps เหลือ 0.50% ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ จากแนวโน้มเศรษฐกิจ และตัวเลขเงินเฟ้อที่หดตัวมากกว่าคาด เนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มการกลับมาแข็งค่าอีกครั้งของค่าเงินบาท Asia Wealth ประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปี 2563 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวในระดับ 0.50% จากสถานการณ์โควิดที่ฟื้นตัว (ประเมินว่าจุดต่ำสุดจะอยู่ในช่วง 2Q63) ท่าให้คาดว่า กนง. จะมีการผ่อนปรนนโยบายการเงินมากขึ้น นอกจากนี้การที่ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม จะช่วยลดความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงที่เหลือของปี2563

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะเป็นอีกปัจจัยกดดันผลประกอบการ 2Q63 ของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ หลังจากก่อนหน้านี้กลุ่มธนาคารมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกลุ่ม M-rate (MOR MLR และ MRR) ลง 40 bps จากการส่งผ่านผลประโยชน์จากการลดอัตราเงินน่าส่งกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FDIF)

บลจ. Asia Wealth ได้รวมผลกระทบหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 0.50% (Worst Case) โดยเผยว่าธนาคารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย (BK:KBANK)ตามด้วย ธนาคารกรุงไทย (BK:KTB) และธนาคารไทยพาณิชย์ (BK:SCB) เนื่องจากธนาคารมีสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวัน และเงินฝากออมทรัพย์ (CASA) และสัดส่วนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ค่อนข้างสูง ในขณะที่ธนาคารที่ประกอบธุรกิจเช่าซื้อได้รับประโยชน์ โดยคาดว่า ธนาคารเกียรตินาคิน (BK:KKP) จะได้รับประโยชน์มากที่สุด

อ่านวิเคราะห์ฉบับเต็ม
https://th.investing.com/analysis/article-200433415

2.คาด "เราเที่ยวด้วยกัน"กระตุ้นท่องเที่ยวได้ 3.6-6.2 หมื่นล้าน แต่ไม่ช่วยหุ้นกลุ่มโรงแรมมากนัก

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ได้ประเมินเม็ดเงินท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”
ภาพรวมจะชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้เพียง 3.7-6.4% ประเมินว่ามาตรการอุดหนุนการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐจะทำให้รายได้จาก การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 3.6-6.2 หมื่นล้านบาท แต่หากเทียบกับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะหายไปกว่า 9.5 แสนล้านบาทในช่วงครึ่งปีหลัง ก็จะเห็นได้ว่ามาตรการของรัฐสามารถชดเชยรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้เพียง 3.7-6.4% เท่านั้น

โดยเฉพาะจังหวัดที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก เช่น กรุงเทพ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติในสัดส่วนที่สูงถึง 40-89% แม้คนไทยที่ได้รับสิทธิจาก “เราเที่ยวด้วยกัน” จะไปเที่ยวจังหวัดเหล่านี้ตามผลสำรวจ แต่ก็ชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้เพียง 0.5-9% เท่านั้น

ส่วนจังหวัดที่คนไทยนิยมไป เช่น กาญจนบุรี นครราชสีมา เพชรบุรี เป็นต้น จังหวัดที่กล่าวมานี้มีสัดส่วนรายได้จาก นักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 3-15%
ประเมินว่า “เราเที่ยวด้วยกัน” จะสามารถชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้กว่า 30% หรือทดแทนได้ทั้งหมด

ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการโรงแรมรายใหญ่ได้อัดโปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดจองห้องพัก ไม่ว่าจะเป็น ดุสิตธานี (BK:DTC) , โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (BK:CENTEL) , ดิ เอราวัณ กรุ๊ป (BK:ERW) แต่จากการประเมินอัตราการเข้าพัก นักวิเคราะห์มองว่าธุรกิจโรงแรมจะขาดทุนหนักต่อไปจนถึงสิ้นปี 2563 โดยหนักสุดในไตรมาสสองของปีนี้

3.จับตาประกาศตัวเลขนำเข้า-ส่งออกไทยวันพรุ่งนี้คาดยังติดลบต่อเนื่อง

กระทรวงพาณิชย์เตรียมรายงานยอดส่งออกเดือนมิถุนายน โดยตลาดคาดว่าจะติดลบ -6.4%yoy จากเดือนพฤษภาคม -22.5% และยอดการนำเข้าคาดว่าติดลบ -18%yoy จากเดือน พ.ค. -22.5% บลจ. Asia Plus ประเมินว่ามีโอกาสที่เดือน มิ.ย. ยอดส่งออกและนำเข้าจะหดตัว เพราะหากพิจารณายอดนำเข้าเดือนมิ.ย. ของประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่รายงานออกมาแล้ว ใน 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ายังหดตัวแรงในทิศทางเดียวกัน เช่น อินเดีย -47.6%yoy เกาหลีใต้ -11.2% อินโดนีเซีย -6.4% ญี่ปุ่น -0.8% ยกเว้นจีนและเวียดนาม ที่ยอดนำเข้าเดือน มิ.ย. พลิกกับมา +2.7% และ 5.3%ตามลำดับ ASPS ประเมินว่าจะมีสินค้าบางตัวที่ยังส่งออกได้อาทิ อาหาร เช่น หมู ไก่ เป็นต้น

พร้อมกันนี้ ASPS แนะนักลงทุนเน้นหุ้นส่งออกพื้นฐานแข็งแกร่ง และได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าแรง จากสมมติฐานของฝ่ายวิจัยฯ ค่าเงินบาท พบว่าค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท ที่อ่อนค่า จะหนุนกำไรหุ้นในกลุ่มส่งออกเพิ่มราว 2 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 500 ล้านบาท กลุ่มเกษตรและอาหาร 1.5 พันล้านบาท แนะนำ (BK:CPF) ( รายได้จากต่างประเทศ 70%) , (BK:STA) ( ส่งออกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 80%) , (BK:STGT) ( ส่งออกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 90%)

ความคิดเห็นล่าสุด

นโยบายดอกเบี้ยที่ไม่เเน่นอนเ้บบนี้​
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย