รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

3 เรื่องที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 11 ส.ค.)

เผยแพร่ 11/08/2563 13:50
อัพเดท 11/08/2563 13:55
© Reuters.

โดย Detchana.K

Investing.com - แนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของไทยที่ลดลงแรงเมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นส่วนสาคัญที่จำกัดการปรับตัวขึ้นของ
ดัชนีหุ้นไทยให้ปรับตัวขึ้นได้ช้ากว่าตลาดหุ้นอื่น ๆ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่องทุกเดือนในปีนี้ มูลค่ารวมกว่า 2.31 แสนล้านบาท กดดันตลาดหุ้น ปรับตัวลดลง 16.3%ytd ซึ่งลดลงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 30 ของตลาดหุ้น 93 แห่งทั่วโลก ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญสำหรับนักลงทุนไทยวันนี้

1.ต่างชาติยังไม่สนใจหุ้นไทย

บล. เอเชียพลัสเปิดเผยว่า ในปี 2563 นี้ต่างชาติเดินหน้าขายหุ้น ไทยทุกเดือน ด้วยมูลค่ารวมกว่า 2.31 แสนล้านบาทytd กดดันตลาดหุ้น ปรับตัวลดลง 16.3%ytd ซึ่งลดลงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 30 ของตลาดหุ้น 93 แห่งทั่วโลก (ข้อมูลจากทาง Bloomberg)

สาเหตุหนึ่งที่ให้ Spotlight ยังไม่ถูกฉายลงมาที่ตลาดหุ้นไทย คือ แนวโน้มการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และต่ำกว่าที่ตลาดคาดมาก ซึ่งจาก
Bloomberg Consensus ตอนต้นปี 2563 ประเมิน EPS63F ของตลาดอยูที่ 102 บาท/หุ้น ปรับลดลงมาต่อเนื่อง ล่าสุดอยูที่60.3 บาท/หุ้น (ลดลงถึง 40%) จนำให้ EPS63F ลดลง
35%YoY เมื่อเทียบกับภาพรวมตลาดหุ้นสำคัญๆ ของโลก อย่างตลาดหุ้น สหรัฐที่ปรับตอนต้นปี 2563 คาดว่า EPS63F ของตลาดอยูที่ 174.48 บาท/หุ้น แต่ล่าสุดลดลงมาอยูที่
129.18 บาท/หุ้น (ลดลงถึง 26%) จนทำให้ EPS63F ลดลง 21%YoY เท่านั้น

แนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ลดลงแรงเมื่อเทียบกับปีก่อน บวกถึงแนวโน้มกำไรที่ออกมาต่ำกว่าคาดมาก เป็นส่วนสาคัญที่จากัดการปรับตัวขึ้น ของดัชนี ตลาดหุ้นไทย ให้ปรับตัวขึ้นได้ช้ากว่าตลาดหุ้นอื่น ๆ

2. คาดกนง.คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดในช่วงที่เหลือของปี 2563

วิจัยกรุงศรีคาดกนง.คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดในช่วงที่เหลือของปี 2563 ขณะที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในแดนลบต่อเนื่องถึงสิ้นปี การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ล่าสุดวันที่ 5 สิงหาคม มีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% โดยประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว แต่ยังต้องระวังความเสี่ยงการระบาดระลอกที่สอง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบในปีนี้ แต่จะกลับสู่กรอบเป้าหมายภายในช่วงปี 2564 เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมาก
ขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปีมาตรการการคลังของรัฐบาล รวมทั้งมาตรการการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ ในระยะข้างหน้ากนง.เห็นควรผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งหนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจ และเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ตรงจุด

วิจัยกรุงศรีคาดกนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดในช่วงที่เหลือของปีนี้ สะท้อนจากมุมมองของกนง.ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาด ขณะที่วิจัยกรุงศรีประเมินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (real GDP) จะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดในข่วงครึ่งหลังของปี 2566 การใช้ เวลานานในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจึงนับว่ามีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกนง.ส่งสัญญาณจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะอันใกล้

ทั้งนี้หลายปัจจัยช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมปรับขึ้นเป็น เดือนที่ 2 แต่ยังอยู่ในแดนลบต่อเนื่อง โดยติดลบน้อยลงที่ -0.98% YoY จาก ที่เคยติดลบหนักในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน (-2.99%, -3.44% และ -1.57% ตามลำดับ) เป็นผลจาก (i) ราคาในหมวดพลังงานเริ่มทรงตัว ทำให้การหดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (ii) ราคาในหมวดอาหารสดกลับมาเป็นบวกในรอบ 3 เดือน จากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น และอานิสงส์จากมาตรการผ่อนคลายให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ กลับมาด าเนินการตามปกติ (iii) การสิ้นสุดของมาตรการสนับสนุน ค่าไฟฟ้าและค่าน้้ำประปาจากภาครัฐ และ (iv) การเพิ่มขึ้นของราคาในกลุ่มอาหาร สำเร็จรูปที่บริโภคนอกบ้าน เนื่องจากผู้ประกอบการจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าน้อยลงด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) พลิกกลับมาบวกที่0.39% จากติดลบครั้งแรกในรอบเกือบ 11 ปีที่ -0.05% ในเดือนมิถุนายน สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม-กรกฎาคม) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงิน เฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ -1.11% และ 0.34 ตามลำดับ


อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังค่อนข้างอ่อนแอสะท้อนจาก (i) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ยังติดลบและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ระดับต่ำ (ii) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่าสุดเดือนกรกฎาคมยังต่ ากว่าก่อนเกิดการระบาด COVID-19 อยู่มาก แม้ปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 50.1 ทั้งนี้ ความอ่อนแอของตลาดแรงงานหรือการว่างงานในอัตราสูง รวมถึงภาระะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นยังคงมีแนวโน้มกดดันการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในระยะข้างหน้า

3.ระยะสั้นราคาทองคํายังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน ล่าสุดหลุด 2,0000$!!!

ราคาทองคําช่วงเช้าแกว่งอ่อนตัวลง ขณะที่ดัชนีดอลลาร์พยายามรักษาแรงบวกหลังนักลงทุนรอจับตา การเจรจาเกียวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ นายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯกล่าวว่า รัฐบาลพร้อมทีจะเจรจากับพรรคเดโมแครตอีกครั้งและเปิดกว้างรับข้อเสนอ โดยรัฐบาลพร้อมเพิjมงบช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 และเพิมงบประมาณในส่วนทีจําเป็น และนักลงทุนรอจับตาการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในวันที่ 15 ส.ค.นี้ จึงทําให้ระยะสั้นราคาทองคํายังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน นักวิเคราะห์จาก YLG BULION ให้ความเห็นว่าหากหลุดแนวรับโซน 2,009 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มุมมองเชิงบวกจะลดลงและราคาอาจมีโอกาสอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับถัดไป

ส่วนนักวิเคราะห์จาก MTS มองว่า ราคาทองคำเข้าสู่ภาวะของการณปรับฐานเพื่อทำกำไร หลังจากที่ทำสูงสุดใหม่แถว 2,080 เหรียญ โดยที่ 2 วันก่อนราคาทองคำปรับตัวลงมาประมาณ 45 เหรียญ และเมื่อคืนปรับตัวลงต่อ โดยการที่ราคาไม่สามารถปรับขึ้นเหนือ 2,030 เหรียญได้ จึงทำให้ดูภาพตลาดยังเป็นลักษณะของการปรับฐานและคาดว่าราคาน่าจะมีโอกาสปรับตัวลงหลุด 2,000 เหรียญลงมาได้ โดยแนวรับระยะสั้นซึ่งเป็นระดับสำคัญทางจิตวิทยาของราคาทองคำจะอยู่ที่ระดับ 2,000 เหรียญ และแนวรับถัดไปที่ 1,980 เหรียญ ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 2,035 เหรียญ

อัพเดตราคาทองคำ GOLD SPOT XAU/USD

สำหรับนักลงทุนโกลด์ฟิวเจอร์ส อัพเดตราคา สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ล่าสุด

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย