🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

ติดตามเงินเฟ้อ และทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ 

เผยแพร่ 15/05/2567 09:40
SETI
-

คืนนี้ติดตามการประกาศเงินเฟ้อเดือน เม.ย.67 ของสหรัฐ โดย CONSENSUS คาด 3.4% YOY ลดลงจาก 3.5% ในเดือน มี.ค.67 อย่างไรก็ตามเห็นบางสัญญาณที่อาจบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อเดือน เม.ย. อาจ ไม่ได้ลดลงจากเดือน มี.ค. เช่น PPI / CORE PPI / SUPER CORE CPI / ราคาน้ำมัน ที่ไม่ได้ปรับดลง และบางส่วนปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากเงินเฟ้อ ออกมาสูงกว่าคาด อาจแรงกดดันต่อตลาดหุ้น แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ผลกระทบจะจำกัด เนื่องจากปัจจุบันความคาดหวังเรื่องการปรับลด ดอกเบี้ยของ FED ถูกปรับลดลงไปมากแล้ว โดยคาดปรับลด 2 ครั้งในปี 2567 ส่วนในบ้านเรามีผลประกอบการงวด 1Q67 ที่ออกมาภาพรวม ยังคงโดดเด่นเป็นแรงหนุน แต่ก็อาจจะมีแรงกดดันบางส่วนจากการปรับ ขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ และการปรับหุ้นหลายตัวออกจาก MSCI

ประเมินจากปัจจัยแวดล้อมในทางพื้นฐาน ที่ยังไม่มีแรงขับเคลื่อนใหม่ ๆ คาดว่า SET INDEX จะยังอยู่ในกรอบ 1369 –1384 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BEM, CPALLและ TU

ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐจะอุ่นใจหรือร้อนรน?...รอดู CPI คืนนี้ คืนนี้ (15 พ.ค. 67) เวลา 19.30 น. รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน เม.ย.67 ซึ่งตลาดคาด +3.4%YOY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +3.5%YOY ส่วน CORE CPI คาด +3.6%YOY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +3.8%YOY

ในอีกแง่มุมหนึ่งเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงชะลอตัวได้ช้าลง สะท้อนจากหลาย สัญญาณ อาทิ

1. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ในเดือน เม.ย.67 อยู่ที่ +2.4%YOY มากกว่าเดือนก่อนที่ +2.1%YOY รวมถึงขยับขึ้นสูงกว่าตลาด คาดที่ +0.5%MOM หลักๆมาจากภาคบริการ PORTFOLIO MANAGEMENT SERVICES (+3.9%MOM) และราคาพลังงาน (+ 2%MOM)

2. SUPER CORE CPI สหรัฐเร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 66 ซึ่งหากย้อนดูข้อมูลในอดีต พบว่า SUPER CORE CPI หรือตัวเลขเงินเฟ้อ เฉพาะภาคบริการ ที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านอาหาร พลังงาน และที่อยู่อาศัย (เส้นสีเขียว) มีการปรับตัวสูงขึ้น มันจะเป็นแรงหนุนให้ HEAD LINE CPI ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

3. ราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยเดือน เม.ย. 67 ปรับตัวสูงขึ้น มาอยู่ที่84.4 เหรียญ ฯ/บาเรล หรือ +6.2%YOY อีกทั้งยังปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ 80.4 เหรียญฯ/บาเรล หรือ +5%MOM ขณะที่ตะกร้าเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในหมวด พลังงานมีสัดส่วนราว 6.9%

ขณะเดียวกันประธาน FED ได้มีการส่งสัญญาณเพิ่มเติมว่าอาจตรึงดอกเบี้ยต่อไป อีกระยะหนึ่ง หลังเงินเฟ้อปรับตัวลงล่าช้ากว่าที่คาด ซึ่งในมุมมองของตลาดการเงิน ทั้งการคาดการณ์จาก BLOOMBERG, CONSENSUS, FED WATCH TOOL ยังคงหวังว่าจะเห็น FED จะลดดอกเบี้ยปีนี้เพียงแค่2 ครั้ง โดยเริ่มปรับลดดอกเบี้ยครั้ง แรกในเดือน ก.ย. 67 และครั้งที่ 2 ในเดือน ธ.ค. 67

สรุป เงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงชะลอตัวได้ช้าลง ซึ่งอาจกดดันให้FED ตรึง ดอกเบี้ยสูงยาวนานขึ้น ขณะที่มุมมองของตลาดการเงิน ไม่ได้คาดหวังว่าจะเห็น FED ปรับลดดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตาม คืนนี้ (15 พ.ค. 67) เวลา 19.30 น. ยังคงต้องรอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน เม.ย.67 อีกครั้ง

ค้นหากลุ่มหุ้น OUTPERFORM และ UNDERPERFORM เวลา มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

หลังจากที่ ครม.มีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการกำหนดอัตราค่าจ้าง 400 บาท/วัน ทั่วประเทศ โดยคาดประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บังคับใช้ ก.ย. - ต.ค.67 หรือ 3Q67-4Q67 โดยคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 13% จากค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน และหาก ไปดูข้อมูลในอดีตในช่วง 12 – 13 ปีที่ผ่านมา พบว่า กระทรวงแรงงานมีการขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำมาแล้ว 7 ครั้ง หากไม่นับปี 2011 มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในจังหวัดกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล อยู่ในช่วง 3 – 15 บาท/วัน หรือมีการปรับขึ้น 1% - 7% เป็นต้น แสดงว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีล่าสุด ถือว่า อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับในอดีตมาก

ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ ลองทำการศึกษาในเชิงปริมาณ หาพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของ หุ้นแต่ละ SECTOR ในช่วงเวลา 1 เดือน หลังมีการประกาศขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ โดย เปรียบเทียบกับรอบที่มีการปรับขึ้นมากที่สุดราว 40%(300 บาท/วัน) ซึ่งเป็นการปรับ ขึ้นในสมัยของพรรคเพื่อไทยเฉกเช่นเดียวกับรัฐบาลปัจจุบัน พร้อมกับมีสิทธิ ประโยชน์ทางภาษี ทำให้การเปรียบเทียบดูจากส่วนต่างจากตลาดเป็นหลัก (ALPHA) ซึ่งพบว่า กลุ่มหุ้นที่ OUTPERFORM ตลาด (RETURN ชนะ SET / ALPHA >0%) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากกำลังซื้อเพิ่มขึ้น อาทิ FIN +7.2%, HELTH +7.0%, COMM +5.7%, TRANS +5.1% TOURISM +3.8% เป็นต้น ในทางตรงกัน ข้ามกลุ่มหุ้นที่ UNDERPERFORM ตลาด(RETURN แพ้ SET / ALPHA

สรุป ภายใต้ความคาดหวังว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงในอนาคต 400 บาท/วัน คาดเป็น หนึ่งในปัจจัยช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยเติบโตไปข้างหน้าได้ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ หุ้นกลุ่มที่สามารถ OUTPERFORM SET ได้(ALPHA>0%) อาทิ FIN +7.2%, HELTH +7.0%, COMM +5.7%, TRANS +5.1% TOURISM +3.8% เป็นต้น

MSCI ปรับหุ้นไทยออก 11 หุ้น เข้า 1 หุ้น

เช้าวันนี้ MSCI มีการปรับหุ้นเข้าออก โดยมีหุ้นไทยถูกคัดเข้าดัชนี 1 บริษัท และออก 13 บริษัท ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในราคาปิด 31 พ.ค. 67โดยมีรายละเอียดดังน

▪ หุ้นที่ออกจากดัชนี MSCI GLOBAL STANDARD (ดัชนีหุ้นขนาดใหญ่) 3

บริษัท คือ BTS, MTC, LH โดยถูกลดชั้นลงมาอยู่ที่ดัชนี MSCI SMALL

CAP

▪ หุ้นที่ถูกคัดเข้าดัชนี MSCI SMALL CAP คือ JTS

▪ หุ้นที่ถูกคัดออกจากดัชนี MSCI SMALL CAP คือ BLAND, DITTO,

FORTH, KSL, MAJOR, PSL, RS, SGP, SPCG, WHAUP

ปกติหุ้นที่ออกจากดัชนีจะผันผวน และมีโอกาสถูกกดราคาลงราว -3% ถึง –4% ช่วง ก่อนวันที่มีผล อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวไม่ได้กระทบต่อปัจจัยทางพื้นฐานแต่ อย่างใด

หลังจากนี้ คาดหวังสถาบันฯ ออกกองทุนหุ้นเข้ามาเติมในระบบ มากขึ้น

เริ่มต้นปี 2567 ตลาดคาดว่า FED จะลดดอกเบี้ย 6 ครั้งในปีนี้ ทำให้คาดหวังว่า BOND YIELD จะขยับลงเร็ว และกองทุนตราสารหนี้จะได้กำไรเด่น หนุนให้สถาบันฯ มี การออกกองทุน IPO มาแล้ว 235 กองทุน ซึ่งกองทุนประเภท TERM FUND (กองทุน รวมตราสารหนี้ที่มีการกำหนดระยะเวลาลงทุนไว้ชัดเจน) สูงถึง 166 กองทุน หรือ คิด เป็นสัดส่วนราว 71% ของกองทุนที่เปิดใหม่ในปีนี้ทั้งหมด

แต่ด้วยเงินเฟ้อสหรัฐที่ยังสูงอยู่ ทำให้ FED มีโอกาสคงดอกเบี้ยนานกว่าปกติและอาจ ลดปีนี้เพียง 1 – 2 ครั้ง ประจวบเหมาะกับช่วงนี้นักลงทุนสถาบันฯ มีความเชื่อมั่นใน ตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ชี้วัดได้จากตัวเลขความเชื่อมั่นนักลงทุน เดือน เม.ย. อยู่ในระดับ ร้อนแรงที่ 123.08 จุด (ข้อมูลจากทาง FETCO) และยังเห็นการทยอยกลับมาซื้อสุทธิ หุ้นไทยเด่นขึ้นในเดือนนี้ 3.2 พันล้านบาท (MTD) ซึ่งเป็นเดือนที่ซื้อสุทธิมากที่สุดในปีนี

ดังนั้นหาก FED ชะลอการลดดอกเบี้ยช้าลง รวมถึงนักลงทุนสถาบันฯ มีความมั่นใจ ในตลาดหุ้นไทยที่เพิ่มชัดขึ้น และถ้ากองทุน LTF กลับมาลดหย่อนภาษีได้ อาจทำให้ เห็นทางสถาบันฯ ทยอยออกกองทุนหุ้นอื่นๆ เสริมเข้ามาในระบบ อย่าง กองทุน LTF หรือ TRIGGER FUND ในช่วงเวลาต่อจากนี้ จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องตลาดหุ้นไทยใน ระยะถัดไป

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย