🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.76 แข็งค่ารับดอลลาร์อ่อนค่าหลังตัวเลขจ้างงานฯสหรัฐแย่กว่าคาด

เผยแพร่ 07/05/2567 16:23
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.76 แข็งค่ารับดอลลาร์อ่อนค่าหลังตัวเลขจ้างงานฯสหรัฐแย่กว่าคาด
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.76 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 36.80 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวลด ลง หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้มีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไรออกมา ขณะที่มีปัจจัยในประเทศต้องรอดูกระแสเงินทุนต่างประเทศจากผู้ค้าทอง หลังสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ส่งผลกระทบ ยกเว้นปัญหาจะลุกลามไปมากกว่านี้จนทำให้นักลงทุน ขาดความเชื่อมั่น "บาทแข็งค่าเล็กน้อยจากเย็นวันศุกร์หลังตัวเลข Non-farm ออกมาไม่ดี ทำให้มีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไรและช่วยกลบข่าว เรื่องแบงก์ชาติไปได้" นักบริหารเงินฯ กล่าว นักบริหารเงินฯ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.60-36.90 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.765 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ 154.14 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 153.05/08 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0769 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0743/0745 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.812 บาท/ดอลลาร์ - "เศรษฐา" ยันไม่เคยคิดปลดผู้ว่าฯธปท.ยังไงท่านก็ยังอยู่ตรงนี้ รับเห็นต่าง เรื่องลดดอกเบี้ย มองเป็นเรื่องธรรมดา โน คอมเมนต์ #saveผู้ว่าแบงก์ชาติ ย้ำชัดไม่เคยมีแนวคิดแก้พ.ร.บ.ธนาคาร แห่งประเทศไทย - "คลัง" แจงครึ่งปีหลังเตรียมเข็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระหว่างรอดิจิทัลวอลเล็ต หวังดันเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง รับ จัดเก็บรายได้วืดเป้า เหตุลดภาษีดีเซลดูแลประชาชน-ภาษีรถยนต์แผ่ว หลังแบงก์ปฏิเสธปล่อยกู้พรึ่บ - ส.อ.ท. มองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังทยอยฟื้นตัวหลัง "ปรับ ครม." ส่งสัญญาณเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้มาตรการการคลัง เป็นหลัก แนะเร่งเบิกจ่ายงบเร่งด่วน พร้อมเร่งขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวเพิ่มเติม เร่งหาตลาดใหม่ๆ เพื่อการส่งออก ช่วย เหลือ SMEs ด่วนเหตุโดนสินค้านำเข้าดัมป์ราคาหนักและให้หามาตรการให้ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน - นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวได้ 716,619 ตัน มูลค่า 17,329 ล้าน บาท โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 8.8% มูลค่าเพิ่มขึ้น 36.9% จากเดือน มี.ค.2566 ส่งออกได้ 658,573 ตัน มูลค่า 12,658 ล้านบาท - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (3 พ.ค.) ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 175,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 238,000 ตำแหน่ง ทั้งนี้ ตัวเลขจ้างงานที่ต่ำกว่าคาดช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยข้อมูลจากแอลเอสอีจี (LSEG) ระบุว่า ขณะนี้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งสิ้น 0.46% ภายในสิ้นปี 2567 โดยคาดว่าการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือนก.ย.หรือเดือนพ.ย. - อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลงสู่ระดับ 4.491% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนตลาดทองคำ เนื่องจากการ ลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐจะช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทน ในรูปดอกเบี้ย - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (6 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อช่วงท้ายตลาด - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (6 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่ต่ำกว่าคาด - ข้อมูลจากแอลเอสอีจี (LSEG) ระบุว่า ขณะนี้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งสิ้น 0.46% ภายในสิ้น ปี 2567 โดยคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือนก.ย.หรือเดือนพ.ย. - ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสกัดการอ่อนค่าของเงินเยนของทางการญี่ปุ่น ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทิศทางเงินทุนต่างชาติ การเคลื่อนไหวของค่าเงินเอเชียและราคาทองคำในตลาดโลก

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย