🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

KBANK ให้กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้าที่ 35.85-36.50 เกาะติด GDP ไทย Q1/67-Flow-ราคาทองคำ

เผยแพร่ 18/05/2567 17:03
© Reuters.  KBANK ให้กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้าที่ 35.85-36.50 เกาะติด GDP ไทย Q1/67-Flow-ราคาทองคำ
USD/THB
-
KBANK
-

InfoQuest - ธนาคารกสิกรไทย (BK:KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสัปดาห์ถัดไป (20-24 พ.ค.) ที่ระดับ 35.85-36.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 ของไทย (20 พ.ค.) ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลกและถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่เดือนเม.ย. ดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนพ.ค.

ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อ 30 เม.ย.-1 พ.ค.นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามการประกาศอัตราดอกเบี้ย Loan Prime Rate ของจีน ผลการประชุมธนาคารกลางเกาหลีใต้ อัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย. ของอังกฤษ และดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนพ.ค. ของญี่ปุ่น ยูโรโซน และอังกฤษ

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือนที่ 36.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังข้อมูลเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์แต่บางช่วงอ่อนค่าลงทั้งหมดและขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต่อมาสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆในเอเชีย และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ฯกลับมาเผชิญแรงขายตามการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ

หลังตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือนเม.ย. ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ประกอบกับประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดไม่น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก ทั้งนี้ จากข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ และท่าทีของเฟดดังกล่าว ทำให้ตลาดกลับมาเพิ่มน้ำหนักความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมเดือนก.ย. นี้อีกครั้งโดยในส่วนของเงินบาทนั้นเงินบาทแข็งค่า ขณะที่หุ้นไทยปิดบวกต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 แข็งค่าไปที่ 36.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ในระหว่างสัปดาห์ก่อนจะอ่อนค่ากลับมาบางส่วนท้ายสัปดาห์ตามการปรับโพสิชั่นของตลาดเพื่อรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 ของไทยในวันที่ 20 พ.ค. นี้ทั้งนี้ ในวันศุกร์ที่ 17 พ.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 36.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 36.72 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (10 พ.ค.67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 13-17 พ.ค. 2567 นั้นนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 5,212 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Inflowsเข้าตลาดพันธบัตรไทย 3,706 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 3,935 ล้านบาท

หักตราสารหนี้หมดอายุ 229 ล้านบาท)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย