กราฟประจำวัน: ทำไมดอลลาร์สหรัฐจึงจะยังแข็งค่าขึ้นหลังการปรับลดดอกเบี้ย

 | Jul 31, 2019 11:16

หากเฟดจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจริงๆ เหตุใด ดอลลาร์ สหรัฐจึงยังคงฟื้นตัวขึ้นแข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบสามปี?

นักลงทุนกว่า 78% เชื่อว่าเฟดจะต้องปรับลด อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ลง 25 จุดเบสิสจนเหลือ 2.25 เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ แต่นักลงทุนรู้สึกว่าดอลลาร์ยังควรต้องเดินหน้าต่อไปอีก จึงผลักให้ดอลลาร์ไต่ขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่เก้าติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการฟื้นตัวที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ช่วง 10 วันก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะได้รับชัยชนะในทำเนียบขาว

แล้วเหตุใดดอลลาร์จึงไม่ร่วงลงไปตั้งแต่มีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ? การปรับดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกหลังจากมีการปรับเพิ่มขึ้นถึงเก้าครั้งนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 เป็นต้นมาควรที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แย่ลง ไม่ใช่ฟื้นตัวมาแข่งกับ “สงครามการค้า”

แน่นอนว่า การซื้อขายสกุลเงินย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากการวัดค่าของเงินสกุลหนึ่งๆ ต้องใช้การเปรียบเทียบกับสกุลอื่นๆ แต่เนื่องจากท่าทีประนีประนอมของเฟดที่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างเกิดช้าและน้อยกว่าธนาคารกลางสำคัญแห่งอื่นๆ

สำหรับตลาดพันธบัตรนั้น พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% สามารถดึงดูดความต้องการจากนักลงทุนต่างชาติที่จำเป็นต้องซื้อดอลลาร์ร่วมด้วยได้ค่อนข้างมาก ในขณะที่ยุโรปยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแรง รวมทั้งสถานการณ์ความไม่แน่นอนในเรื่องของ Brexit เป็นตัวฉุดค่าเงิน ยูโร และ ปอนด์ ให้ต่ำลงจนเกือบแตะจุดต่ำสุดในรอบสองปีครึ่ง โดยแกว่งตัวอยู่ที่เหนือระดับต่ำสุดดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 1985

และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นหากเฟดยอมรับกับความต้องการของตลาดและแรงกดดันของประธานาธิบดีทรัมป์ แต่หากเฟดไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ดอลลาร์ก็จะปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่นักลงทุนจะรีบปรี่ไปเปิดสถานะดอลลาร์ ขอให้ทราบไว้ก่อนว่าเงินดอลลาร์ยังมีแรงต้านทานที่ค่อนข้างมากอยู่ในขณะนี้