สัปดาห์นี้: ความผันผวนจากสงครามการค้าและดอกเบี้ยพันธบัตรที่ยังปรับลดต่อเนื่อง

 | Aug 13, 2019 05:08

• กลุ่มกองทุนน้ำมัน ETF และสินค้าโภคภัณฑ์ไม่เป็นไปตามความต้องการที่คาดการณ์

• ดอกเบี้ยพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปีปิดตลาดที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 เป็นต้นมา และยังคงไม่สอดคล้องกับอัตราที่ควรจะเป็นหากเทียบกับพันธบัตรรุ่นอายุ 3 เดือน

การที่ทำเนียบขาวยังคงมีความไม่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเช่นนี้ นักลงทุนควรเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความผันผวนของตลาดในสัปดาห์นี้ต่อไป

หากตลาดเชื่อว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอย่างไม่จบสิ้นในสงครามการค้าครั้งนี้เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของ “นักเจรจาตัวยง” อย่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ แล้วล่ะก็ นักลงทุนก็ควรจะอดทนต่อไป แต่หากนักลงทุนคิดว่าทุกๆ ข้อความที่มีการทวีตไป รวมทั้งการเปลี่ยนใจอย่างกะทันหันของประธานาธิบดีคือแผนการเรื่อยเปื่อยที่เล่นไปตามน้ำ ตลาดก็ควรเรียนรู้ได้แล้วว่ามันไม่ได้ทำให้เกิดผลดีใดๆ เลยเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรยังคงดิ่งลงไปทำสถิติต่ำสุดในรอบหลายปี รวมทั้งดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวก็ยังสวนทางกันอยู่ ดังที่ทราบว่าตลาดพันธบัตรนั้นมักจะเชื่อถือได้เสมอ

สงครามทางการค้าที่รุนแรงทำให้ตลาดทุนต้องหยุดชะงัก/h2

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงทันทีหลังจากที่ทรัมป์ออกมาเตือนว่า อาจต้องยกเลิก การเจรจาทางการค้ากับจีนในเดือนหน้า วาทกรรมที่ใช้ในสงครามการค้าเช่นนี้ทำให้ตลาดที่เพิ่งจะฟื้นตัวขึ้นได้จากช่วงก่อนหน้านี้ที่หลายดัชนีปรับลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ต้องหยุดชะงักไปอีกครั้ง

นักลงทุนมีการเทขายหุ้นออกมาค่อนข้างมากจนทำให้ดัชนี S&P 500 ร่วงลงไปราว 1.3% ถึงกระนั้นนักลงทุนยังคงมีการเข้าซื้อคืนอยู่บ้างหลังจากที่เห็นว่าทำเนียบขาวน่าจะไม่เข้ามายุ่งกับเรื่องสงครามการค้าในประเด็นที่สหรัฐฯ จะไม่ทำธุรกิจกับหัวเหว่ยอีก

ดัชนี S&P 500 ปรับลดลงไป 0.66% ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ยกเว้นกลุ่มที่มีการป้องกันความเสี่ยงดีอย่างกลุ่ม สาธารณูปโภค และกลุ่ม สุขภาพ ซึ่งปรับตัวขึ้นได้ 0.15% และ 0.16% ตามลำดับ แม้ว่าหุ้นตัวเด่นของทั้งสองกลุ่มจะมีช่วงลุ่มๆ ดอนๆ ในช่วงที่ข้อพิพาทในสงครามการค้าเริ่มค่อนข้างรุนแรงอยู่บ้างก็ตาม หุ้นในกลุ่ม เทคโนโลยี (-1.15%) และ บริการสื่อสาร (-1.12%) ยังทำผลงานได้แย่ลง ถึงแม้ว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส จะปรับตัวสูงขึ้นได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเนื่องจากนักลงทุนให้ความสำคัญกับ การปรับลดปริมาณความต้องการน้ำมันที่คาดการณ์ลงเป็นครั้งที่สาม ขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ในช่วงเวลาเพียงสี่เดือน หุ้นในกลุ่ม พลังงาน ปรับลดลงไป -1.12% และเป็นที่ชัดเจนว่านักลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์เชื่อว่าการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันจะยุติลงแล้ว

สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลง 0.44% โดยหุ้นในแต่ละกลุ่มมีทิศทางที่แตกต่างกัน กลุ่มพลังงาน (-2.15%) ทำผลงานได้แย่ลงเนื่องจากอนาคตของหุ้นในกลุ่มนี้ยังคงขึ้นอยู่กับการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่โอเปกกับรัสเซียพยายามจะเลื่อนการประชุมเกี่ยวกับการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันออกไปจนกว่าประธานาธิบดีทรัมป์กับสีจะเสร็จสิ้นการประชุม G-20 ซึ่งเป็นการยืนยันว่าตลาดน้ำมันยังคงต้องอาศัยการซื้อขายที่ราบรื่นในวงการน้ำมันระดับโลกอยู่ ส่วนหุ้นในกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ (+1.8%) ยังทำผลงานได้ดี

ดัชนี ดาวโจนส์ ปรับลดลง 0.34% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยตลอดทั้งสัปดาห์ปรับลดลงไป 0.75% ด้านดัชนี NASDAQ คอมโพสิต ร่วงลงไปเต็ม 1.00% เมื่อวันศุกร์ หรือคิดเป็น 0.56% ของตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี Russell 2000 ก็ยังทำผลงานได้แย่ลงทั้งช่วงรายวันและรายสัปดาห์ โดยปรับตัวลดลง 1.25% ในวันศุกร์และ 1.33% เมื่อพิจารณาทั้งสัปดาห์

เมื่อพิจารณาข้อมูลทางเทคนิค การฟื้นตัวของดัชนีหลักทั้งสามตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ราคายังคงอยู่เหนือเส้น MA 50 สัปดาห์และเส้นแนวโน้มขาขึ้น