ความเสี่ยง 4 ประการที่อาจชะลอขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบ

 | Jan 24, 2020 10:18

แม้ว่าตอนนี้ราคาน้ำมันดิบจะฟื้นตัวขึ้นมาได้บ้างแล้วจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่านที่สงบจบลงไป แต่ถึงอย่างนั้นยังมีอีก 4 ประเด็นสำคัญอาจจะกระทบกับราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและระยะยาว

1. บราซิลอาจเข้าร่วมกับกลุ่มโอเปกในปี 2021

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของบราซิลนายเบนโต้ แอลบูเคอร์คีได้มีประกาศออกมาว่าตอนนี้บราซิลกำลังพิจารณาที่จะเข้าร่วมกับโอเปกในปี 2021 อย่างจริงจังและจะมีการพูดคุยกับทางโอเปกในขณะไปเยือนซาอุดิอาระเบียในเดือนกรกฎาคมนี้

เมื่อไม่นานมานี้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันในบราซิลได้ออกมาแสดงความกังวลถึงท่าทีของกลุ่มโอเปกในปี 2020 เพราะก่อนหน้านี้ทั้งกลุ่มพึ่งตัดสินใจลดกำลังการผลิตน้ำมันลงเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกลุ่มและประเทศพันธมิตร รัฐบาลบราซิลยังมองในด้านบวกว่าการลดกำลังการผลิตครั้งนี้จะสิ้นสุดลงในช่วงสิ้นปี 2021 แม้ว่าโอเปกและรัสเซียตั้งแต่จะยืดเวลาการลดกำลังการผลิตน้ำมันลงถึงแค่ช่วงเดือนมีนาคมหรืออย่างมากที่สุดก็มิถุนายนปี 2020 แต่บราซิลหวังว่าอย่างน้อยก็ขอให้ไปถึงเดือนธันวาคมปี 2020

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2019 บราซิลมีสถิติการส่งออกน้ำมันอยู่ที่ 3 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งจากจากตัวเลขนี้จะทำให้บราซิลกลายเป็นอันดับ 4 ในการผลิตน้ำมันจากกลุ่มโอเปกซึ่งตามหลังประเทศอย่างซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอีรัก การผลิตน้ำมันส่วนใหญ่ของบราซิลนั้นมาจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติ Petrobras (NYSE:PBR) และนอกจากนั้นก็จะเป็นของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันเอกชนรายอื่นและบริษัทน้ำมันข้ามชาติ (IOC) ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของความท้าทายในการเข้าร่วมโอเปกของบราซิล

อุปสรรคอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกน้ำมันดิบของบราซิลคือความจริงที่ว่าน้ำมันดิบจำนวน 1 ล้านบาร์เรลต่อวันที่บริษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้ขุดได้ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของ Petrobras แต่กระจายอยู่กับบริษัทน้ำมันย่อยภายในอีก 25 แห่งซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่กับกลุ่ม IOC อย่างเช่น Equinor (NYSE:EQNR), BP (NYSE:BP), Shell (NYSE:RDSa) และ Chevron (NYSE:CVX)

บราซิลหวังว่าจะสามารถดึงดูดบริษัทต่างชาติมาร่วมกันผลิตน้ำมันให้ได้มากกว่านี้ แต่การประมูลเกี่ยวกับการขุดน้ำมันในรอบล่าสุดของประเทศต้องล้มลง หลายๆ บริษัทไม่ต้องการที่จะร่วมประมูลสัมปทานในครั้งนี้และความเป็นไปได้ที่บราซิลต้องยอมลดกำลังการผลิตลงเมื่อเข้าร่วมกับโอเปกแล้วจะเป็นปัจจัยที่บริษัทข้ามชาติต้องพิจารณาและอาจตัดสินใจยกเลิกไม่ลงทุนในประเทศบราซิลต่อ

รัฐบาลบราซิลและรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานต้องชั่งน้ำหนักดูความคุ้มค่าระหว่างผลประโยชน์ที่จะได้รับในการเข้าร่วมกลุ่มโอเปกกับผลประโยชน์ที่จะได้จากบริษัทขุดน้ำมันข้ามชาติว่าฝั่งไหนจะให้ประโยชน์กับบราซิลได้มากกกว่ากัน

2. ซาอุดิอาระเบียและคูเวตจะกลับมาร่วมกันผลิตน้ำมันอีกครั้ง

ซาอุดิอาระเบียและคูเวตมีพื้นที่จัดสรรสำหรับการขุดน้ำมันร่วมกันซึ่งอยู่ระหว่างทั้งสองประเทศ พื้นที่ตรงนั้นถูกขนานนามว่า “เขตพื้นที่เป็นกลาง (Neutral Zone)”

โครงการขุดน้ำมันในพื้นที่บริษัทนี้ต้องหยุดชะงักลงในปี 2015 จากปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างทั้งสองประเทศ ในเดือนธันวาคมทั้งซาอุดิอาระเบียและคูเวตได้เซ็นสัญญากันในบันทึกความเข้าใจซึ่งเป็นเอกสารที่บันทึกข้อตกลงโดยความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ (MOU) เพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตและหันมาร่วมกันผลิตน้ำมันอีกครั้ง

การผลิตน้ำมันในเขตพื้นที่เป็นกลางนี้จะกลับมาเริ่มผลิตกันอย่างเร็วที่สุดคือเดือนมีนาคมปี 2020 เชื่อว่าพื้นที่ขุดเจาะน้ำมันบริเวณนี้จะสามารถผลิตน้ำมันได้ 5 แสนบาร์เรลต่อวัน แม้ว่าการผลิตน้ำมันในบริเวณพื้นที่เป็นกลางจะกลับมาเปิดทำการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าแต่เชฟรอน (NYSE:CVX) เชื่อว่ากว่าพื้นที่ขุดน้ำมันตรงนี้จะกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็ต้องเวลาอีกอย่างน้อยหนึ่งปี

3. เชื้อไวรัสโคโรน่า

ไวรัสอู่ฮั่นหรือชื่อทางการคือไวรัสโคโรน่าที่ตอนนี้มีคนจีนติดเชื้อไวรัสตัวนี้ไปแล้วกว่า 400 คนกำลังถูกนำไปเปรียบเทียบกับการแพร่โรคระบาดของ SARS ที่ในช่วงปลายปี 2002 และต้นปี 2003 ซึ่งตอนนั้นทำ GDP ของประเทศจีนร่วงลงไป 0.5% - 2.0%

โรค SARS ในตอนนั้นทำให้คนลดการเดินทางด้วยเครื่องบินและทำให้ปริมาณความต้องการน้ำมันดิบลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากพอที่ปริมาณความต้องการน้ำมันในจีนโดยภาพรวมลดลง นักวิเคราะห์หลายสำนักจึงนำข้อมูลของ SARS ในตอนนั้นมาเปรียบเทียบกับไวรัสโคโรน่าในตอนนี้ว่าจะสร้างความเสียหายให้กับปริมาณความต้องการน้ำมันดิบในประเทศจีนเท่าไหร่ซึ่งตอนนี้ราคาน้ำมันดิบอย่างเบรนท์และ WTI ต่างพากันปรับตัวลดลงมามากกว่า 2% แล้ว