การเล่นกับความกลัวคือคือกุญแจสำคัญในการเพิ่มความต้องการน้ำมันดิบ

 | Sep 21, 2020 10:35

ตลอด 20 ปีของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงปิโตรเลียมแห่งซาอุดิอาระเบีย นายอาลี อัล ไนมิได้วางมาตรฐานสำหรับการออกนโยบายทางด้านพลังงานและได้กลายเป็นมาตรฐานในการต่อรองระดับโลก มาตรฐานดังกล่าวดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคของอับดุลลาสิส บิน ซัลมาน ลูกชายองค์ที่สี่ของกษัตริย์ซาอุดิอาระเบียที่รับตำแหน่งมาจากนายคอลิด อัล ฟาลีห์ในปี 2019 ภายใต้การบริหารขององค์ชายอับดุลลาสิสเขาเป็นคนค่อนข้างตรงไปตรงมา ดำเนินนโยบายทางการฑูตอย่างเปิดเผยต่างจากของคอลิด

แถลงการณ์ขององค์ชายอับดุลลาซิสผ่านวิดีโอลิงก์หลังจากเปิดการประชุมของกลุ่มโอเปก+ คือฝันร้ายสำหรับนักลงทุนที่เชื่อว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวลง แทนที่จะพูดว่าแสดงความเป็นกังวลเกี่ยวกับความต้องการน้ำมันที่แปรผันกับปัจจัยโรคระบาดโควิด-19 องค์ชายกลับพูดเมื่อถูกถามว่าโอเปกจะดำเนินการอย่างไรต่อไปว่า

“ใครก็ตามที่คิดว่าโอเปกกังวลกับราคาน้ำมันดิบตกต่ำจะต้องอาศัยอยู่ในโลกแห่งความฝันแน่ๆ อันที่จริงแล้วผมจะทำให้ราคาน้ำมันในตลาดนั้นดีดขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนนักลงทุนคนไหนก็ตามที่วางคำสั่งขายรออยู่ต้องสิ้นเนื้อประดาตัวกันเลยทีเดียว พวกเราจะใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็งในการจัดการกับปัญหาราคาน้ำมัน พิสูจน์ให้ตลาดเห็นผ่านการกระทำและกลยุทธ์มากกว่าที่จะให้ตลาดขับเคลื่อนจากข่าว”

นักวิเคราะห์บางคนแย้งว่านี่อาจจะเป็นการพูดติดตลกขององค์ชายก็ได้ แต่ถ้าเขาเอาจริงขึ้นมา (ซึ่งไม่มีใครคาดเดาได้ว่าเขาจะเอาจริงหรือไม่) ความเป็นไปได้ที่เขาจะลงมืออย่างจริงจังก็มีอย่างเช่นที่เคยปล่อยให้ราคาน้ำมันออกมาจนล้นตลาดมาแล้วในช่วงต้นปี 2020 เพื่อแสดงให้รัสเซียเห็นว่าหากซาอุดิอาระเบียโกรธขึ้นมาพวกเขาสามารถสร้างผลกระทบอะไรต่อโลกได้บ้าง

เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กันยายนที่ผ่านมาโอเปกได้ประกาศลดตัวเลขคาดการณ์ความต้องการน้ำมันดิบลงโดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการฟื้นตัวในประเทศฝั่งเอเชียช้ากว่าที่คาดการณ์ นอกจากนี้โอเปกยังได้เตือนด้วยว่าการชะลอตัวดังกล่าวอาจส่งผลไปจนถึงช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 หากมองเข้าไปถึงรายละเอียดของการประกาศนี้จะพบว่าโอเปกได้มีรายงานตัวเลขแบบรายเดือนด้วย รายงานดังกล่าวได้ลดตัวเลขความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกในปี 2020 ลงมาอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ 90.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หายไป 400,000 บาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับตัวเลขค่าเฉลี่ยของเดือนสิงหาคม คิดเป็นการหดตัวของปริมาณความต้องการน้ำมันดิบแบบปีต่อปีอยู่ที่ 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

การรายงานจาก IEA มีความสอดคล้องกับรายงานจากโอเปก IEA ประเมินว่าความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกจะลดลง 8.4 ล้านบาร์เรลต่อวันเหลือ 91.7 ล้านบาร์เรลต่อวันแบบปีต่อปีซึ่งถือเป็นการหดตัวมากกว่า 8.1 ล้านบาร์เรลต่อวันจากที่เคยประเมินเอาไว้ก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุนี้ประเทศในกลุ่มสมาชิกโอเปกไม่ว่าจะเป็นอิรัก ไนจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และรัสเซียถึงไม่ค่อยอยากทำตามคำสั่งการลดกำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบียและไม่ยอมลดกำลังการผลิตลงจากถึงโควตาตามที่ตกลงกันไว้

แต่ในการประชุม JMMC เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว องค์ชายอับดุลลาซิสและนายอเล็กซานเดอร์ โนวาครัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของรัสเซียได้ใช้คำพูดค่อนข้างรุนแรงต่อว่าประเทศสมาชิกที่ไม่ยอมลดกำลังการผลิตน้ำมันลงและสัญญาว่าจะชดเชยให้แน่นอนหากว่าช่วยกันลดกำลังการผลิตฯ ในตอนนี้ก่อนซึ่งดูเหมือนว่าเกมการกดดันครั้งนี้จะได้ผลอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ในวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายนราคาน้ำมันดิบ WTI ซึ่งเป็นตัววัดราคาน้ำมันหลักของสหรัฐอเมริกาได้ปรับตัวขึ้น 81 เซนต์จนมีราคาซื้อขายขึ้นมาอยู่ที่ $40.97 ต่อบาร์เรลหรือคิดเป็นการปรับตัวขึ้น 2%  นอกจากนี้ราคาซื้อขายน้ำมันดิบ WTI รายสัปดาห์ในตลาดลงทุนฝั่งเอเชียเมื่อวันศุกร์ที่แล้วได้ปรับตัวขึ้นมากกว่า 10% ชดเชยชาลง 13% จากวันอังคารและวันพุธก่อนหน้านั้น