5 ปัจจัยหลักที่ต้องจับตาดูในตลาดน้ำมันปี 2021

 | Jan 04, 2021 08:04

แม้ว่าปี 2020 จะจบไปแล้วและเราก็ได้ก้าวเข้าสู่ปี 2021 อย่างเป็นทางการเรียบร้อย แต่ปัจจัยหลักที่เป็นธีมการลงทุนส่งต่อมาจากปีที่แล้วอย่างโควิด-19 ยังคงอยู่ แต่เพราะมีวัคซีนต้านโควิดออกมาแล้ว ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องการรู้ว่าปีนี้จะเป็นไปได้ไหมที่การฟื้นตัวจะทำให้ราคาน้ำมันดิบสามารถกลับขึ้นไปยังระดับราคาในปี 2019 ได้อีกครั้ง ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่นักลงทุนควรตระหนักถึงในการลงทุนกับตลาดน้ำมันในปี 2021

1. มาตรการคุมเข้มการผลิต ส่งออก และสำรวจน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของรัฐบาลสหรัฐฯ/h2
ดาวน์โหลดแอป
เข้าร่วมกับคนนับล้านที่ใช้ Investing.com เพื่อติดตามข่าวสารตลาดการเงินทั่วโลก
ดาวน์โหลดเดี๋ยวนี้

การให้ความสนใจกับปัญหาโลกร้อนมากขึ้นซึ่งถือเป็นนโยบายหาเสียงหลักของพรรคเดโมแครตจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั้งในแง่ของการซื้อขาย ขนส่งแร่ฟอซซิลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การมีมาตรควบคุมที่เข้มข้นขึ้นจากประธานาธิบดีโจ ไบเดนย่อมต้องส่งผลกระทบต่อตัวเลขการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ที่ต้องจับตาดูคือท่าทีของเขาที่มีต่อการผลิตน้ำมัน ก่อนการเลือกตั้งเขาเคยพูดเอาไว้ว่าจะไม่แบนการขุดน้ำมัน แต่หลังจากทราบผลการเลือกตั้งแล้วเขากลับเปลี่ยนคำพูดโดยใช้คำในเชิงว่าอาจลดการขุดน้ำมันลงเป็นจำนวนมากหากการมาของพลังงานทางเลือกเกิดขึ้นจริงในยุคของเขา 

หนึ่งในตัวเลขที่จะสามารถยืนยันว่าสิ่งที่ไบเดนพูดจะกลายเป็นจริงหรือไม่ให้จับตาดูตัวเลขการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ที่เป็นของภาครัฐ หากไบเดนตัดสินใจลดกำลังการผลิตลงในพื้นที่ดังกล่าวจริง จะส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ คิดเป็นตัวเลขประมาณ 25% มีข่าวออกมาจากบริษัทพลังงานบางแห่งแล้วว่าพวกเขาเตรียมลดโควตาการผลิตน้ำมันลงตามคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ทันทีที่โจ ไบเดนเข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 อย่างเป็นทางการ สำหรับภาพรวมระยะสั้นแล้ว ต้องรอดูว่าเมื่อโจ ไบเดนขึ้นมารับตำแหน่ง เขาจะวางนโยบายเกี่ยวกับการบริหารพลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอย่างไร

h2 2. การถ่วงดุลอำนาจภายในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC)/h2

ในการประชุมของกลุ่มโอเปกช่วงปลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจที่น่าสนใจเมื่อสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และรัสเซียได้ร่วมมมือกันคานอำนาจกับซาอุดิอาระเบีย พี่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มโอเปกในเรื่องของการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน การประชุมครั้งนั้นจบลงที่ซาอุดิอาระเบียยอมให้กลุ่มโอเปกพลัสสามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันตามที่ตกลงเอาไว้วันละ 500,000 บาร์เรลต่อวันได้แต่ด้วยการแพร่ระบาดที่รวดเร็วขึ้นของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การประชุมของกลุ่มโอเปกที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงคำสัญญานั้น