จับตา ปัญหาการระบาด COVID-19 และผลประชุมเฟด

 | Apr 26, 2021 02:17

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกเดินหน้าฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิต การบริการ รวมถึงการค้าโลกที่ขยายตัวได้ดี

  • จับตาผลการประชุมเฟด และ สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก รวมถึง รายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก โดยเฉพาะ กลุ่มบริษัทเทคฯ FAANG+

  • สกุลเงิน EM อาจเคลื่อนไหวตามปัญหาการระบาด COVID-19 ในแต่ละท้องที่ แม้ว่าเงินดอลลาร์มีโอกาสทรงตัวหรืออ่อนค่าลง หากเฟดคงยืนกรานใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวได้ดี โดยการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงในประเทศกลุ่ม EM อาทิ อินเดียและไทย อาจลดความน่าสนใจของสินทรัพย์ EM กดดันให้ค่าเงิน EM ยังคงผันผวนสูงและอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ได้

  • ดาวน์โหลดแอป
    เข้าร่วมกับคนนับล้านที่ใช้ Investing.com เพื่อติดตามข่าวสารตลาดการเงินทั่วโลก
    ดาวน์โหลดเดี๋ยวนี้

    กรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 31.25-31.60 บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งจะช่วยหนุนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สะท้อนผ่าน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) โดย Conference Board เดือนเมษายน ที่จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 112 จุด นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวจะสะท้อนผ่านการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสแรกกว่า 6.9% จากไตรมาสก่อนหน้าและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจโตถึง 6.4%y/y ในปีนี้ ทั้งนี้ การฟื้นตัวเศรษฐกิจที่หนุนโดยการบริโภคครัวเรือนอาจทำให้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) เริ่มปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 1.8% จาก 1.4% ในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น แต่เรามองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) จะไม่รีบปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน โดยในการประชุมครั้งนี้ FOMC จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Target Rate) ที่ระดับ 0.00-0.25% พร้อมทั้งคงอัตราการซื้อสินทรัพย์ (คิวอี) อนึ่ง ตลอดสัปดาห์ ตลาดจะจับตารายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทเทคฯ หรือ FAANG+ อาทิ Facebook Inc (NASDAQ:FB), Apple Inc (NASDAQ:AAPL), Amazon.com Inc (NASDAQ:AMZN) และ Tesla Inc (NASDAQ:TSLA)

    • ฝั่งยุโรป – ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี จะกดดันให้เศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสแรก หดตัว 2% จากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ตลาดมองว่าปัญหาการระบาดอาจผ่านจุดวิกฤติไปแล้ว และเชื่อว่าเศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัว สะท้อนผ่านทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (IFO Business Climate) รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในยูโรโซน (Consumer Confidence) เดือนเมษายนที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 101.2 จุด และ -6.0 จุด ตามลำดับ

    • ฝั่งเอเชีย – การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในโซนเอเชียยังคงได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก โดยเฉพาะในฝั่งประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และSemiconductor ชั้นนำอย่าง เกาหลีใต้ ชี้จากการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสแรกกว่า 1.2%y/y จากที่หดตัวราว 1.2% ในไตรมาสที่ 4 ปีก่อน ทั้งนี้ ในฝั่งญี่ปุ่น ตลาดมองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ -0.1% พร้อมเติมสภาพคล่องสู่ระบบการเงินผ่านการซื้อสินทรัพย์ (คิวอี) เพื่อประคองเศรษฐกิจ ท่ามกลางปัญหาการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ทั้งนี้ ตลาดมองว่าต้องจับตาการฟื้นตัวเศรษฐกิจญี่ปุ่น ผ่านยอดค้าปลีก (Retail Sales) เพราะแม้ว่า ยอดค้าปลีกในเดือนมีนาคมอาจโตถึง 4.6%y/y ทว่ามาตรการ Lockdown รอบใหม่อาจกดดันการบริโภคในระยะสั้น และอาจทำให้ยอดค้าปลีกชะลอตัวลงในระยะสั้นได้