กนง. “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% แต่เริ่มมีเสียงสนับสนุนให้ “ลด” ดอกเบี้ยลง 0.25

 | Aug 04, 2021 10:36

Bank of Thailand Benchmark Interest Rate

Actual: 0.50% Previous: 0.50%

KTBGM: 0.50% Consensus: 0.50%

  • กนง. มีมติ 4:2 ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ตามคาด โดยเริ่มมีเสียงสนับสนุนให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อพยุงการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้นและเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ กนง. ยังคงมองว่า มาตรการทางการเงินจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการลดดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ จึงคงดอกเบี้ยนโยบายตามเดิม

  • แม้จะเริ่มมีเสียงแตกมากขึ้น แต่เรามองว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยต่ำกว่า 0.50% เพราะการลดดอกเบี้ยอาจไม่ได้ช่วยฟื้นเศรษฐกิจมากเท่ากับการเพิ่มรายได้, การเร่งเสริมสภาพคล่องให้กับภาคส่วนที่ประสบปัญหา รวมถึง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง ซึ่ง เป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาลที่จะใช้นโยบายการคลังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด พร้อมกับ เร่งควบคุมการระบาดและเร่งแจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

  • ดาวน์โหลดแอป
    เข้าร่วมกับคนนับล้านที่ใช้ Investing.com เพื่อติดตามข่าวสารตลาดการเงินทั่วโลก
    ดาวน์โหลดเดี๋ยวนี้

    นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะช่วยให้บอนด์ยีลด์ระยะสั้นทรงตัวหรือปรับตัวลดลงได้ในช่วงการประชุมครั้งถัดไป

  • การประชุมครั้งถัดไป: 29 กันยายน 2564

กนง. มีมติ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% แต่มีคณะกรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้ “ลด” ดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% หลังเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 มากกว่าที่เคยประเมินไว้

  • กนง. มองว่า เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 มากกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้ แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจะขึ้นกับการเร่งควบคุมการระบาดของ COVID-19 และการเร่งการแจกจ่ายวัคซีน โดย กนง. ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจแย่ลงจากการประชุมในเดือนมิถุนายน โดยมองว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้เพียง 0.7% ในปีนี้ และ 3.7% ในปีหน้า พร้อมปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือ 1.5 แสนคน ในปีนี้ และ เพียง 6 ล้านคน ในปีหน้า นอกจากนี้ กนง. มองว่า ความเสี่ยงเศรษฐกิจยังมีอยู่สูงในอนาคต จึงจำเป็นต้องเร่งกระจายสภาพคล่องและลดภาระหนี้ให้กับผู้ที่ต้องการ ซึ่งมาตรการทางการเงินยังคงมีประสิทธิภาพมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ กนง. ยังคงเห็นควรให้คงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้

  • นอกเหนือจากการเร่งควบคุมการระบาด, การเร่งจัดหาและแจกจ่ายวัคซีน กนง. ยังมองว่า มาตรการทางการคลังควรเร่งเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ การเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ อีกทั้ง นโยบายภาครัฐต้องสอดประสานกับมาตรการทางการเงินและสินเชื่อที่จะต้องเร่งกระจายสภาพคล่องที่มีอยู่สูงในระบบให้เข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ทุกภาคส่วนทยอยฟื้นตัวได้

  • กนง. พร้อมจับตาปัจจัยสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ดังนี้ 1. การแจกจ่ายและประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงการระบาดของ COVID-19 ทั้งในและต่างประเทศ 2. ความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการทางการเงินรวมถึงสินเชื่อ โดย กนง. พร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติม หากจำเป็น

แม้ กนง. จะเริ่มเสียงแตก แต่เราคงมองว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.50% อย่างน้อย จนถึงปี 2024 หลัง กนง. ให้ความสำคัญมาตรการทางการเงินและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง มากกว่าการลดดอกเบี้ย

  • เราคงยืนยันมุมมองเดิมของเรา ว่า ธปท. จะไม่ใช้การลดดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะ ธปท. คงมองว่า การลดดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ณ ปัจจุบัน อาจไม่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งต้องเน้นการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขเป็นสำคัญ อย่างการควบคุมการระบาดและการเร่งแจกจ่ายวัคซีน ซึ่งเกินขอบเขตของ ธปท. นอกจากนี้ ธปท. จะพยายามพยุงเศรษฐกิจด้วยการเร่งแจกจ่ายสภาพคล่อง พร้อมช่วยบรรเทาภาระหนี้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ผ่านมาตรการต่างๆ อาทิ Soft loans มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ เป็นต้น

  • Front-end Safe Haven” ยังอยู่ หลังนโยบายการเงินของ กนง. ยังคงผ่อนคลาย และต้องจับตาแนวโน้มบอนด์ยีลด์ระยะสั้น ในช่วงก่อนการประชุม กนง. ครั้งหน้าอย่างใกล้ชิด โดยบอนด์ยีลด์ระยะสั้น มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้ หากสถานการณ์การระบาดเลวร้ายลงและแนวโน้มเศรษฐกิจซบเซามากขึ้น จนอาจเริ่มเห็นการปรับประมาณการเศรษฐกิจในปีนี้ “หดตัว” ทำให้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนเริ่มคาดหวังว่า ในการประชุมครั้งถัดไป อาจมีเสียงสนับสนุนการลดดอกเบี้ยมากขึ้นเป็น 3 เสียง

  • ขณะที่ในส่วนบอนด์ยีลด์ระยะยาวยังเสี่ยงที่จะปรับตัวขึ้นต่อได้ตามบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับตัวขึ้น ตามแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ รวมถึงการประกาศทยอยลดการทำคิวอีของเฟด อย่างไรก็ดี เรามองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ไม่สดใส จะกดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10ปี ไทย ไม่ได้ปรับตัวขึ้นตาม บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ไปมาก ซึ่งเราคาดว่า สิ้นปี อาจเห็น บอนด์ยีลด์ 10ปี ไทย ในช่วง 1.60%-1.70%