ขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐส่งผลกระทบต่อตลาดลงทุนมากกว่าที่คิด

 | Aug 20, 2021 10:56

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับตัวขึ้นอย่างมั่นคงมาโดยตลอด ยิ่งรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางสัปดาห์ที่บ่งชี้ว่าการลดวงเงินเพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ของธนาคารกลางใกล้จะเป็นความจริง ยิ่งทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้น 

ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังอยู่ระหว่างการเจาะแนวต้านที่สำคัญที่สุดในสัปดาห์นี้ที่ 93.43 จุด ซึ่งหากว่ากราฟสามารถขึ้นยืนเหนือระดับราคานี้ได้ กราฟจะมีพื้นที่ว่างอีกมากมายให้สำหรับการปรับตัวขึ้นต่อ การปรับตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้สกุลเงินอื่นๆ และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต้องเผชิญกับแรงกดดันให้ปรับตัวลดลง

นอกจากนี้แล้ว การปรับตัวขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังได้รับอิทธิพลมาจากความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลประเทศอื่นๆ และเพราะอัตราผลตอบแทนของดอลลาร์ที่สูงกว่านี้เองทำให้นักลงทุนต้องการถือครองดอลลาร์สหรัฐ ยินดีขายสกุลเงินท้องถิ่นของตน แม้ยอมไปถือหนี้ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก็ยังมีมูลค่ามากกว่า

สัญญาณขาขึ้นยาวๆ ของดอลลาร์สหรัฐเริ่มปรากฎให้เห็นลางๆ/h2

ปัจจัยพื้นฐานที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้เป็นตัวผลักดันที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับรูปแบบทางเทคนิคของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่สร้างเป็น double-bottom ขึ้นมา ที่บริเวณก้นเหวทั้งสองครั้งเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมปี 2021 และเดือนพฤษภาคมปี 2021 

เพื่อเป็นการยืนยันว่ารูปแบบนี้ได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐต้องสามารถขึ้นยืนเหนือระดับราคา 93.50 จุดให้ได้ (ไม่ใช่แค่แตะ วิ่งวนอยู่สักพักและปรับตัวลงไป) หากนักลงทุนเห็นว่าสามารถยืนเหนือ 93.50 ได้จริง เชื่อว่าฝั่งขาขึ้นจะเข้ามาสมทบที่ 94.60 จุดซึ่งจะทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสลากขึ้นไปยาวๆ ถึง 98 จุดได้

เมื่อพิจารณาอินดิเคเตอร์ RSI ก็ยิ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคว่ามีแนวโน้มที่ตลาดจะกลายเป็นขาขึ้นระยะยาว เพราะแม้แต่จุดต่ำสุด (low) ในตัวอินดิเคเตอร์เอง (ตามรูปด้านล่าง) ก็ยังยกตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ อันที่จริง RSI ได้ยกตัวขึ้นมาก่อนตั้งแต่ที่ double-bottom จะเกิดแล้ว ยิ่งเป็นสัญญาณยืนยันขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐ