ตลาดสนเพียงการประชุมเฟดและ 3 ปัจจัยที่อาจส่งแรงกดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ สัปดาห์นี้

 | Dec 13, 2021 03:30

เชื่อว่าสัปดาห์นี้ ตลาดลงทุนจะวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ ไปจนกว่าการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ครั้งสุดท้ายของปี 2021 จะเริ่มขึ้น หลังจากได้เห็นตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1982 ตลาดลงทุนก็ยังไม่เชื่อว่าการประชุมในวันอังคารและพุธนี้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทันที แต่อาจจะเป็นการร่นระยะเวลาการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ให้จบเร็วขึ้น

สิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจเกี่ยวกับการประชุมครั้งนี้คือนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ถึงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่สอง จะประดิษฐ์คำพูดอะไรออกมากล่าวถึงสิ่งที่ธนาคารกลางฯ จะดำเนินนโยบายต่อไปในอนาคต เพราะนั่นจะเป็นตัวกำหนดว่าขาขึ้นของดัชนีหลักอย่างเช่นดาวโจนส์ เอสแอนด์พี 500 และแนสแด็กจะยังคงเสถียรภาพต่อไปได้หรือไม่

ถ้าเจอโรม พาวเวลล์พูดออกมาตรงๆ ว่าเฟดตั้งใจจริงที่จะร่นระยะเวลาการทำ QE ให้จบไวขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะถูกเทขาย แต่เฟดยังต้องการจะคงความเร็วในการลด QE เอาไว้เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ หรือแสดงท่าทีว่าไม่รีบที่จะจบ QE ตลาดลงทุนจะมองว่าพฤติกรรมเช่นนี้คือข่าวดี และผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง

การจบสัปดาห์ที่แล้วด้วยการสร้างจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่ของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ไม่ได้เกิดขึ้นจากข่าวเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี แต่เป็นเพราะกระแสผลกระทบข้างเคียงจากการระบาดของเชื้อโควิดโอมิครอนอาจไม่ได้รุนแรงอย่างที่ตื่นกลัวกันในตอนแรก แม้ว่าเงินเฟ้อจะหนุนขาขึ้นในตลาด แต่ปัจจัยกดดันสามอย่างหลักๆ (เงินเฟ้อ นโยบาบยการเงินตึงตัว และโอมิครอน) ยังคงเป็นข่าวหลัก ที่พร้อมจะเปลี่ยนตลาดจากขาขึ้นให้กลายเป็นขาลงได้เสมอ การที่ดัชนีวัดความผันผวนลงมาทำจุดต่ำสุด อาจเป็นไปได้ว่าที่เหลือต่อจากนี้อาจจะกลายเป็นขาขึ้นจากความกังวลของตลาดลงทุน