สถานการณ์ชวนสับสนเกี่ยวกับการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ กับอิหร่านและเวเนซูเอลา

 | May 08, 2019 08:16

ในโลกแห่งการคว่ำบาตรน้ำมันภายใต้การบริหารของทรัมป์อาจดูเหมือนพวกเขาจะคิดว่าเมื่อชนะการรบไปแล้วครั้งหนึ่งก็จะต้องชนะอีกครั้งในไม่ช้า

แต่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ในขณะที่ทำเนียบขาวยกเลิกการคว่ำบาตรกับนายพลคนหนึ่งของเวเนซูเอลาที่ไม่สนับสนุนนายมาดูโร โดยถือเป็นถอนตัวบางส่วน จากข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งจะเป็นผลดีกับประเทศมหาอำนาจของโลกที่อาจต่อกรกับสหรัฐฯ

ผลกระทบจากการถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ในปี 2015 ของอิหร่านในครั้งนี้ยังคงไม่ชัดเจน ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้ถอนตัวจากข้อตกลงนี้ทั้งหมดเมื่อปีที่แล้วก่อนที่จะเริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรกับน้ำมันที่ส่งออกจากอิหร่าน ประเทศที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าวตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดีโอบามา อันได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี จีน และรัสเซีย ได้กล่าวชมเชยอิหร่านที่เคารพในข้อตกลงนี้โดยไม่สนใจว่าทรัมป์จะดำเนินการอย่างไร

ดาวน์โหลดแอป
เข้าร่วมกับคนนับล้านที่ใช้ Investing.com เพื่อติดตามข่าวสารตลาดการเงินทั่วโลก
ดาวน์โหลดเดี๋ยวนี้

ถึงกระนั้น อิหร่านก็ยังคงไม่พอใจกับชาติมหาอำนาจทั้งหลายที่ไม่สนับสนุนรัฐอิสลาม (Islamic Republic) ในการต่อสู่กับทรัมป์ รวมทั้งอิหร่านก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยกลไกทางการเงินจากคู่ค้าในยุโรปให้มีการซื้อขายสินค้าจากยุโรปอย่างเช่น ยาหรือการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอื่นๆ เพื่อรองรับการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ เลย

h3 การถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์บางส่วนในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีของอิหร่านหรือไม่/h3

จีนเป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังยืนหยัดต่อสู้กับทรัมป์ ส่วนอิหร่านยังมีรัสเซียให้การสนับสนุนอยู่ แต่เมื่อมุ่งเน้นไปที่เรื่องอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศ การบริหารงานภายใต้นายฮัสซัน รูฮานีก็ยังคงเชื่อว่าการถอนตัวออกจากข้อตกลงในปี 2015 ในครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่จะเชิญชวนให้เหล่าประเทศมหาอำนาจมาร่วมทำสงครามกับสหรัฐฯ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่อิหร่านตัดสินใจเช่นนี้ และยังทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความหวาดกลัวว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเพื่อสร้างหัวรบนิวเคลียร์อีกครั้ง

แน่นอนว่ารัฐบาลของทรัมป์จะต้องโจมตีการตัดสินใจถอนตัวในข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านในครั้งนี้ โดยมีฝ่ายบริหารที่นำโดยนายจอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติก็น่าจะยินดีที่จะได้ร่วมต่อต้านรัฐบาลของนายรูฮานีให้รุนแรงยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้นำประเทศมหาอำนาจบางประเทศก็น่าจะเห็นด้วยเช่นกัน หนังสือพิมพ์ The Guardian รายงานว่าฝรั่งเศสจะพิจารณาใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หากอิหร่านมีท่าทีที่จะเป็นภัยคุกคาม

อย่างไรก็ตาม อิหร่านก็ยังคงมีข้อตกลงที่ทำไว้กับรัสเซียอยู่ นายไซมอน วัตกินส์ คอลัมนิสต์ของ Oilprice.com กล่าวว่า ข้อตกลงดังกล่าวคือการที่รัสเซียจะมอบเงินสนับสนุนให้กับอิหร่านจำนวน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งความร่วมมือทางทหารที่เคยได้รับจากอิหร่าน และรัสเซียจะมีสิทธิ์ในการผลิตน้ำมันและแก๊สในอิหร่านในสถานที่และเวลาที่ต้องการ รวมทั้งยังกำหนดราคาและผู้ซื้อได้เองอีกด้วย

h3 การผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรสำหรับฝ่ายมาดูโรจะมีผลเช่นเดียวกันกับในเวเนซูเอลาหรือไม่/h3

สำหรับประเทศเวเนซูเอลา นี่อาจเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของทรัมป์ที่จะบรรเทาวิกฤติน้ำมันโลกได้ หากสหรัฐฯ มีการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรและเสนอความช่วยเหลือต่างๆ ให้กับนายทหารคนสำคัญของเวเนซูเอลาเพื่อเป็นการผนึกกำลังกับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนนายมาดูโร

RBC Capital รายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าการพ้นจากตำแหน่งของนายมาดูโรทำให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่นำโดยนายฮวน กุยโด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของเวเนซูเอลาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สหรัฐฯ น่าจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรกับเวเนซูเอลาทันที รวมทั้งถอดบริษัทน้ำมันแห่งชาติของเวเนซูเอลา (PDVSA) ออกจากการควบคุมของสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ และพยายามขอแรงสนับสนุนจากนานาชาติให้ช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ของเวเนซูเอลากับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกต่อไป