สกุลเงินที่อ่อนค่าลงมากที่สุดจากทั้งหมด

 | May 16, 2019 19:58

h2 โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management/h2 h3 ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2019/h3

ตลาดหุ้นสหรัฐฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐก็แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักทั้งหมดเมื่อวันพฤหัสดีที่ผ่านมา ปัจจัยที่มีส่วนช่วยในครั้งนี้ก็คือตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาซึ่งมีค่าดีกว่าที่คาดไว้ เช่น ปริมาณการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ และ จำนวนการขออนุญาตก่อสร้าง เพิ่มจำนวนขึ้นจากเดือนที่แล้ว อุตสาหกรรมการผลิตใน เขตฟิลาเดลเฟีย ก็มีปริมาณสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ รวมทั้ง จำนวนผู้ไม่มีงานทำ ก็ลดต่ำลง ข้อมูลตัวเลขที่ดีขึ้นเช่นนี้ทำให้ตลาดคลายความกังวลในเรืองเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไปได้ ส่วนอัตราการเติบโตนั้นยังคงเป็นปัญหา เนื่องจาก รายงานยอดขายปลีก เมื่อวันพุธที่ผ่านมามีตัวเลขต่ำมากและมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมาก ยังคงต้องลุ้นกันว่ารายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งกำลังจะประกาศออกมาในวันศุกร์นี้จะมีค่าเป็นอย่างไรในขณะที่ความตึงเครียดของการเจรจาทางการค้ายังเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งตลาดหุ้นก็ร่วงลงไปกว่า 2% แล้วในเดือนนี้ เราคาดว่า USD/JPY จะฟื้นตัวกลับมายืนอยู่ระหว่าง 110.50 กับ 111.00 ได้

ดาวน์โหลดแอป
เข้าร่วมกับคนนับล้านที่ใช้ Investing.com เพื่อติดตามข่าวสารตลาดการเงินทั่วโลก
ดาวน์โหลดเดี๋ยวนี้

การที่ ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นนั้น ทำให้สกุลเงินหลักอื่นๆ ในตลาดอ่อนค่าลง แต่สกุลเงินที่อ่อนตัวลงมากที่สุดในวันนี้คือ สเตอร์ลิง แม้ว่าจะมีผู้ออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเมย์ของอังกฤษลาออกจากตำแหน่งเมื่อเสร็จสิ้นการเจรจาในวันนี้ แต่เธอยังคงยืนยันว่าจะยังไม่ลาออกจนกว่ารัฐสภาจะเห็นชอบในข้อตกลงแยกตัวจากสหภาพยุโรป โดยน่าจะมีการพิจารณาออกเสียงร่างข้อตกลงดังกล่าวอีกครั้งในเดือนหน้า แต่ยังไม่มีข้อมูลใดที่จะบอกได้ว่าสภาจะผ่านร่างนี้ นักลงทุนจึงเริ่มมีความกังวลเกี่ยวผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก Brexit ซึ่งเราก็ได้เห็นหลักฐานบางอย่างในสัปดาห์นี้จาก รายงานปริมาณการจ้างงาน ว่าจำนวนผู้ไม่มีงานทำมีมากขึ้น และค่าเฉลี่ยของค่าจ้างรายสัปดาห์เกิดการชะลอตัว เมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับการเจรจาทางการค้าที่ตึงเครียดมากขึ้นในช่วงนี้ สหราชอาณาจักรจึงยังไม่น่าจะมีข่าวดีใดๆ ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน

ออสเตรเลียดอลลาร์ ปรับตัวลดลงไปอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 4 เดือนในวันนี้เนื่องจากตัวเลข ข้อมูลแรงงาน ที่ยังไม่สู้ดี แม้ว่าจะมีปริมาณตำแหน่งงานใหม่ถึง 28,000 ตำแหน่งในเดือนที่แล้วซึ่งมากกว่าจำนวนที่พยากรณ์ไว้ แต่นักลงทุนก็ยังไม่พอใจเนื่องจากตำแหน่งงานดังกล่าวเป็นงานพาร์ตไทม์ ส่วนตำแหน่งงานแบบเต็มเวลานั้นลดลงไปถึง -6,300 ตำแหน่ง ทำให้อัตราการว่างงานขึ้นไปอยู่ที่ 5.2% ธนาคารกลางออสเตรเลียยังคงไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากในขณะนั้นยังคงไม่มีสัญญาณด้านบวกเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจใดๆ เกิดขึ้น สาเหตุเดียวที่ยังไม่ปรับดอกเบี้ยเพราะต้องการรอดูสถานการณ์การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเสียก่อน แต่เมื่อทราบผลการเจรจานี้ ประกอบกับข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดแล้ว ธนาคารกลางฯ จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคที่คาดไว้ก็ลดลงไปอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016 เป็นต้นมา AUD/USD จึงยังไม่มีแรงหนุนใดๆ มาช่วยได้จึงทำให้ดิ่งลงไปต่ำสุดอยู่ที่ .6750 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ก็ปรับตัวลดลงตาม AUD ไปติดๆ ก่อนที่จะมีการประกาศดัชนี PMI และ PPI ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในคืนนี้ หากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ยังคงมีท่าทีประนีประนอม ตัวเลขที่ประกาศน่าจะไม่สูงมากนัก USD/CAD ยังคงทำกำไรได้ต่อไปแม้ว่ายอดขายในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและราคาน้ำมันจะยังสูงขึ้นก็ตาม

ส่วน EUR/USD นั้นดิ่งลงไปอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 วัน แม้ว่าจะไม่ได้ตกลงไปหนักเท่า GBP หรือ AUD แต่ก็มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากทิ้งห่างเส้น SMA 50 วัน EUR/USD พยายามดิ้นขึ้นไปแตะเหนือ 1.1250 ถึง 3 ครั้งในรอบ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ การย่อตัวลงในสัปดาห์นี้จึงเป็นสัญญาณชัดเจนว่าจะยังคงเป็นขาลงต่อไปและน่าจะยังคงที่อยู่ที่ 1.11 ข้อมูลทางปัจจัยพื้นฐานชี้ว่าแม้จะยังไม่มีการเพิ่มภาษีอุตสาหกรรมรถยนต์ในขณะนี้ ก็ยังคงเป็นการยากสำหรับเยอรมนีที่จะฟื้นตัวได้ในขณะที่จีนก็ยังคงไม่คืบหน้า ซึ่งนักลงทุนและธนาคารกลางยุโรปก็ทราบเรื่องนี้ดี เมื่อรายละเอียดของการกำหนดเป้าหมายการดำเนินการเพื่อการรีไฟแนนซ์ระยะยาว (TLTRO) ของธนาคารกลางยุโรปประกาศออกมาในเดือนหน้า ธนาคารกลางยุโรปน่าจะมีแผนการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพิ่มเติมเพื่อใช้ในกรณีที่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัว

การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา

ลงชื่อออก
คุณแน่ใจหรือว่าต้องการลงชื่อออกจากระบบ?
ไม่ ใช่
ยกเลิกใช่
บันทึกการเปลี่ยนแปลง