ธปท. หวั่นโควิด-19 อาจทำ GDP ไทยหาย 0.8 - 2%

Investing.com

เผยแพร่ Jul 22, 2021 09:28

โดย วณิชชา สุมานัส

Investing.com – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วันนี้ แสดงความกังวลว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น อาจทำตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศหายไป 0.8 - 2% โดยหวังว่า รัฐบาลจะมีมาตรการเพิ่มเติมออกมาช่วยพยุง และกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชน แทนมาตราการเข้มงวดที่ออกมาในขณะนี้

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในช่วง “Media Briefing ส่องเศรษฐกิจไทยในวิกฤติโควิด” ว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังไม่สามารถที่จะคาดการณ์อะไรไม่ได้นัก และไวรัสโควิด สายพันธุ์เดลต้ากลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทย ทำให้การระบาดมีแนวโน้มรุนแรงและยื้ดเยื้อกว่าที่คาดไว้และจะบริหารจัดการได้ยากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการควบคุมการระบาดในปัจจุบัน และเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ทำให้หดตัวลง

นอกจากนี้ นางสาวชญาวดี ยังชี้ให้เห็นสถานการณ์ที่ดีขึ้นและแย่ลง จากการรับมือสถานการณ์การระบาดโควิด ซึ่งก็คือ หากภาครัฐมีมาตรการเข้มข้นจนหยุดการระบาดได้ 40% และกิจกรรมของเศรษฐกิจสามารถกลับมาได้ในเดือนสิงหาคม เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ 0.8% แต่ในกรณีที่แย่ที่สุด รัฐมีมาตรการเข้มงวด แต่ประสิทธิภาพในการดูแลการแพร่เชื้อไม่ได้มากเพียง 20% จะทำให้โควิดกลับมาระบาดได้อีก และการล็อกดาวน์จะยาวนานขึ้น และกระทบความเชื่อมันของประชาชนมากขึ้น และกระทบเศรษฐกิจถึง 2%

ธปท. ยังคาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 64 จะขยายตัว 1.8% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยง และผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังจะยืดเยื้อและรุนเรืองกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม นโยบายการคลังจะยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในช่วงวิกฤตินี้ เพราะการใช้จ่ายของภาครัฐจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนและประคับประคองเศรษฐกิจในปัจจุบัน สำหรับที่ผ่านมา มีมาตราการทางการเงินช่วยเสริมสภาพคล่องและบรรเทาภาระหนี้สินชั่วคราว ซึ่งอาจจะยังได้ผลจำกัดเท่านั้น และยังไม่สามารถครอบคลุมได้ทุกกลุ่ม

นางสาวชญาวดี ชี้ว่า เศรษฐกิจในปี 2565 ยังต้องติดตามเรื่องการระบาดของโควิด-19 และการเปิดประเทศทั้งในและต่างประเทศ ความมั่นใจและจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในไทย รวมทั้งนโยบายการคลังและวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจว่าจะยังยืดเยื้อแค่ไหน ทั้งนี้ ให้ติดตามความเปราะบางของธุรกิจต่าง ๆ และหนี้ครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้น้อยลง

สำหรับปีนี้ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง ทำกำไรได้รวม 51,261 ล้านบาท จากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2564 เพิ่มขึ้น 9.93% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ในปีเดียวกัน และเพิ่มขึ้น 69.15% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน) (BAY) มีกำไรสูงสุด หลังบุ๊คกำไรขายหุ้น เงินติดล้อ (TIDLOR)

อย่างไรก็ตาม มี 5 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (CIMBT), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (KBANK) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน) (BAY), บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) (TISCO) และ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (KKP) ที่มียอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Gross NPLs) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สำหรับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BBL) , ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB), ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ (TTB) และ แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (LHFG) มี Gross NPLs ที่ลดลง เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า

ดาวน์โหลดแอป
เข้าร่วมกับคนนับล้านที่ใช้ Investing.com เพื่อติดตามข่าวสารตลาดการเงินทั่วโลก
ดาวน์โหลดเดี๋ยวนี้

ด้าน ธปท. เตรียมออกประกาศเกณฑ์ดูแลค่าธรรมเนียมแบงก์กว่า 300 รายการ เริ่มไตรมาสปี 2564 หวังสะท้อนต้นทุน-รายได้จริง

การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา

ลงชื่อออก
คุณแน่ใจหรือว่าต้องการลงชื่อออกจากระบบ?
ไม่ ใช่
ยกเลิกใช่
บันทึกการเปลี่ยนแปลง