รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เช็คข้อมูล: การปรับลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลดีกับตลาดหุ้นจริงหรือ?

เผยแพร่ 12/06/2562 12:04
อัพเดท 02/09/2563 13:05

ธนาคารกลาง 2 แห่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของโลกและถูกจับตามองมากที่สุดในขณะนี้คือธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้มีการ พูดคุยกันอย่างเปิดเผย เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยตลาดหุ้นทั้งในและต่างประเทศทั่วโลกต่างก็คาดการณ์กันไปต่างๆนาๆ แม้ความคิดเห็นเพียงเล็กน้อยจากเจ้าหน้าที่ของเฟดก็มักจะกลายไปเป็นหัวข้อข่าวสำคัญและทำให้ตลาดเกิดความแตกตื่นตามอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

เคยมีการพูดเอาไว้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นเป็นผลดีกับตลาดหุ้น แต่ในความเป็นจริงมันจะดีจริงหรือไม่? การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจะส่งผลดีกับตลาดหุ้นหลังจากช่วงที่ดอกเบี้ยปรับขึ้นหรือไม่? เมื่อพิจารณาจากผลการดำเนินงานของตลาดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เห็นข้อมูลสำคัญ 3 ประการดังนี้

Fed Rate Cut Results: 1989-2007

1.

ตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปี 2007 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นหลังจากที่ตลาดมีผลการดำเนินงานดีมากทุกครั้ง โดยในแต่ละครั้งก่อนที่จะมีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง ดัชนี S&P 500 มักจะปรับตัวสูงขึ้นมาประมาณ 3.5% ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผลงานรายเดือนที่ทำได้ถึง 5 เท่าซึ่งปกติจะอยู่ที่ 0.74%

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละครั้งไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ตลาดตื่นตระหนก เนื่องจากเฟดจะมีการแจ้งว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยผ่านทางโทรเลขให้ตลาดได้รับทราบล่วงหน้าก่อนที่จะปรับจริง ซึ่งช่วงเวลา 1 เดือนก่อนที่จะมีการประชุมเฟดมักจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการประกาศให้ตลาดรับรู้ เนื่องจากตลาดก็สามารถสังเกตเห็นจากผลการดำเนินงานในช่วงนั้นได้เองอยู่แล้วเช่นกัน ทำให้นักลงทุนมีข้อมูลและสามารถประมาณการราคาที่จะเกิดขึ้นหลังการปรับลดล่วงหน้าได้ค่อนข้างนาน

ปัจจุบันก็น่าที่จะเริ่มมีการวางแผนดำเนินการดังกล่าวไว้แล้วเช่นกัน โดยจะสังเกตได้จากการแถลงของนายพาวเวลล์ ประธานเฟดซึ่งกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า "จะดำเนินการตามความเหมาะสม" ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ว่าน่าจะเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยลง ปัจจุบันเสียงส่วนใหญ่ 69% เชื่อว่าเฟดจะตัดสินใจ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้ จากเดิมในเดือนที่แล้วมีผู้พยากรณ์เช่นนี้เพียง 20%

แม้ว่า การประชุมครั้งถัดไป ในวันที่ 19 มิถุนายนดูเหมือนจะเร็วเกินไปที่จะมีการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เฟดยังไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสื่อสารให้ตลาดทราบอย่างที่เคยทำ อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ในตลาดว่าเรากำลังจะเข้าสู่ช่วงแรกของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในรอบระยะเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2008 เป็นต้นมา

2. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยเพิ่มความเสถียรให้กับตลาดหุ้นในระยะสั้นได้จริง ในปี 1998, 2001 และ 2007 ผลการดำเนินงานของดัชนี S&P 500 ในช่วง 3 เดือนก่อนที่จะมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยยังคงไม่ดีนัก การแจ้งล่วงหน้าว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยให้ดัชนีในช่วงเดือนก่อนและหลังการปรับลดจริงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งยังลดความตื่นตระหนกของตลาดได้อีกด้วย

3. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ยาวิเศษที่จะมารักษาสภาพเศรษฐกิจได้ โดยจะเห็นได้จากผลการดำเนินงานตลาดในช่วง 3 เดือนถึง 1 ปีหลังจากนั้นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงไม่ได้เป็นการช่วยส่งเสริมตลาดหุ้นในระยะยาวเสมอไป ในปี 2001 และปี 2007 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้ช่วยให้ตลาดหลุดพ้นสภาวะชะลอตัวได้ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยฉุดผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นได้เพียงใด แต่ที่แน่นอนคือมันไม่สามารถป้องกันผลเสียใดๆ ที่จะตามมาได้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่การรับรองว่าตลาดหุ้นจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นได้ในระยะยาว

Fed Rates 1987-2019

โอกาสที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นไปได้สูงมาก รวมทั้งนักลงทุนก็เริ่มที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปพิจารณาและส่งกระทบกับราคาบ้างแล้ว หากมีการส่งสัญญาณเพิ่มเติมออกมาอีกในช่วงก่อนที่จะถึงเดือนกรกฎาคมนี้ก็จะทำให้เห็นภาพผลการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้นกว่านี้ได้

อย่างไรก็ตาม โปรดใช้ความระมัดระวังอยู่เสมอ เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเรายังไม่มีข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากเป็นพิเศษเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นจึงควรวิเคราะห์จากแนวทางในมุมมองภาพรวมเป็นหลัก

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย