รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

มองตลาดยังไม่กล้าเสี่ยง ...เหตุกังวลเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ

เผยแพร่ 23/09/2562 11:08
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Weekly Investment Theme: Sep 23 - 27, 2019

Market Review

ตลาดการเงินถูกรุมเร้าจากปัจจัยเสี่ยง ทั้ง ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง และล่าสุดความกังวลสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ทำให้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ ทั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตลาดหุ้นจีน รวมทั้งตลาดหุ้นไทย ต่างปรับตัวลดลง

ความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวของตลาด ได้หนุนให้นักลงทุนเลือกที่จะพักเงินในสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ ทั้งบอนด์และทองคำก็ยังได้รับอานิสงส์จากการลดดอกเบี้ยลง 25bps ของเฟด ส่งผลให้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10ปี ปรับตัวลดลง 10bps สู่ระดับ 1.72% (ยีลด์ลง หมายถึง ราคาเพิ่มขึ้น) ส่วนราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นราว 0.9%

กองทุนอสังหาฯ ทั่วโลกปรับตัวขึ้นโดดเด่น หนุนโดยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงจากธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้บอนด์ยีลด์ปรับตัวลดลง ทำให้กองทุนอสังหาฯมีความน่าสนใจ จากส่วนต่างระหว่างยีลด์ของกองทุนอสังหาฯ กับยีลด์ของพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้น

ในส่วนตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันดิบผันผวนรุนแรง หลังบริษัทซาอุดิอารามโก (Saudi Aramco) ประกาศว่าจะสามารถฟื้นฟูกำลังการผลิตน้ำมันสู่ระดับปกติได้เร็วกว่าที่เคยประเมินไว้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากยอดสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ (Crude Inventories) ที่พลิกกลับมาเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

Economic Outlook

ประเด็นสำคัญของตลาดการเงินทั่วโลกคงหนีไม่พ้น ความเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับมาแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อการเจรจาการค้ากับจีน ด้วยการย้ำว่าสหรัฐฯต้องการข้อตกลงที่สมบูรณ์แบบ และไม่มีความจำเป็นที่สหรัฐฯจะต้องบรรลุข้อตกลงการค้าก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า

ส่วนในฝั่งตลาดการเงินไทย ควรติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธ ซึ่งคาดว่า กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% แต่มีโอกาสที่ กนง. จะเปิดทางใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น หากเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่าคาด และเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางทั่วโลก

นอกจากปัจจัยเสี่ยงสงครามการค้าและการประชุมธนาคารกลาง ตลาดจะให้ความสนใจถ้อยแถลงของบรรดาคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) อาทิ John Williams ในวันจันทร์ Charles Evans ในวันพุธ และ James Bullard ในวันพฤหัสฯ เป็นต้น เพื่อติดตามมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงิน หลังเฟดได้ลดดอกเบี้ยลง 0.25% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง ตามที่ตลาดได้คาดหวังไว้

Theme of the Week

สัปดาห์นี้ มองว่า ความกังวลการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมีความระมัดระวังตัวมากขึ้น เพราะตลาดอาจปิดรับความเสี่ยงและผันผวนมากขึ้นได้ หากการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ไม่เกิดขึ้น หรือไร้ความคืบหน้าที่จะนำไปสู่การเจรจาระดับสูงระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศในอนาคต

อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ การปรับฐานของตลาดในระยะสั้น อาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อสะสมของถูก แต่มีศักยภาพในการเติบโต อย่าง หุ้นจีน เพราะเศรษฐกิจจีน แม้ว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ก็จะได้แรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ หุ้นจีนก็ยังมีแรงหนุนจากการปรับสัดส่วนบนดัชนี MSCI และการปลดล็อกโควต้าการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ

ส่วนในระยะยาว เราเชื่อว่า ความผันผวนในตลาดการเงินคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างแน่นอน ดังนั้น นักลงทุนควรทยอยซื้อสะสม “พันธบัตรรัฐบาล” เพราะการถือบอนด์ในพอร์ตจะช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้ นอกจากนี้หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้ พันธบัตรรัฐบาลตลาดเกิดใหม่ (EM Sovereign Bonds) ถือว่าน่าสนใจมาก ด้วยระดับยีลด์ที่ยังน่าสนใจ เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลตลาดพัฒนาแล้ว อีกทั้ง บอนด์ EM ยังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์

สำหรับมุมมองเราต่อ Asset Classes ต่างๆ มีดังนี้

Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนของสงครามการค้าก็สามารถกดดันบรรยากาศการลงทุนได้ทุกเมื่อ นักลงทุนจึงควรลดสัดส่วนการถือครองหุ้น และเน้นรอโอกาสเข้าซื้อ หากตลาดมีการปรับฐานหนัก (Buy on Dip) เพื่อเลือกซื้อของถูก

US Equity: คงมุมมอง “Underweight” แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงดูดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่ปัจจุบัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ซื้อ/ขายกันในระดับราคาที่แพง (P/E 19.6เท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา (P/E 17.9 เท่า) ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นจากเดิมมาก หรือผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่ได้ออกมาดีเกินคาดไปมาก Upsides ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ดูจะไม่คุ้มความเสี่ยง

Europe Equity: คงมุมมอง “Neutral” ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้าและปัญหาการเมืองในยุโรปอาจกดดันแนวโน้มผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน แต่หุ้นยุโรปจะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นของธนาคารกลางยุโรป

Japan Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเงินเยนมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเสมอ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Assets) ในช่วงตลาดผันผวน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหุ้นญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ราคาปัจจุบันของหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX Index) ที่ P/E 14.2 เท่า ก็เรียกได้ว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา ที่ระดับ 17.5 เท่า

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

EM Equity: คงมุมมอง “Neutral” เพราะสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ EM และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน EM อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นก็สามารถรีบาวด์ขึ้นได้ในช่วงสั้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ มาตรการลดภาษีบริษัทเอกชนของอินเดีย รวมถึงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางทั่วโลก

China Equity: คงมุมมอง “Overweight” แม้ว่าในระยะสั้น ความกังวลการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อาจกดดันตลาดหุ้นจีนได้ แต่เราเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนก็ยังมีปัจจัยหนุนอยู่ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน (PBOC) และ การเพิ่มสัดส่วน หุ้นจีน A-Shares บนดัชนีของ MSCI อีกทั้งระดับราคาปัจจุบันของหุ้นจีน (P/E 14.3 เท่า) ถือว่าไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ด้วยความสามารถในการทำกำไรที่สูง (ROE 13% เป็นรองแค่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ ROE 16%) ซึ่งการปรับฐานของตลาดหุ้นจีนก็จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนทยอยซื้อสะสมหุ้นจีน (Buy on Dip) ในราคาที่ไม่แพง

Thai Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงและทั้งปีจะโตได้ไม่ถึง 3%จากปีก่อนหน้า ทำให้แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอาจแย่ลงกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ระดับราคาปัจจุบันของตลาดหุ้นไทยถือว่าแพงมาก (P/E ประมาณ 19เท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (P/E 17เท่า )

Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” เพราะนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลก คือปัจจัยหนุนตลาดบอนด์ นอกจากนี้ ตราสารหนี้ก็ยังเป็นทางเลือกหลักในการพักเงินของนักลงทุนในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวน อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรรอจังหวะที่บอนด์ยีลด์เด้งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบอนด์

Global Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” โดยมองว่าทั้งตราสารกลุ่ม HY และตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (EM Debts) จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟด นอกจากนี้ ยีลด์เฉลี่ยของบอนด์กลุ่ม HY ประมาณ 6.0% ถือว่าน่าสนใจ ส่วนยีลด์เฉลี่ยของกลุ่ม EM ปัจจุบันอยู่ที่ 3.9% น่าดึงดูดกว่ายีลด์ในฝั่งของตลาด DM และยังมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ตามการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางใน EM

Thai Fixed Income: คงมุมมอง “Underweight”เพราะยีลด์บอนด์ไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.6% ต่ำกว่า ยีลด์โดยเฉลี่ยจากบอนด์กลุ่ม EM ที่ระดับ 3.9% หรือ ยีลด์ของตราสาร HY ที่ 6.0% ทำให้นักลงทุนมีตัวเลือกที่ดีกว่าบอนด์ไทย

Alternative Assets: คงมุมมอง “Overweight” เนื่องจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายทั่วโลก จะกดดันผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ส่วนต่างระหว่างยีลด์ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์และบอนด์ยีลด์จากพันธบัตรรัฐบาลยังสูงเกินระดับ 2.6%-2.9% ซึ่งเป็นระดับที่ผู้จัดการกองทุนอสังหาฯ มองว่าราคากองอสังหาฯแพงไป และไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ดีนักลงทุนควรตระหนักไว้ว่า หากตลาดกลัวความเสี่ยงมากและไล่ขายสินทรัพย์เสี่ยง กองทุนอสังหาฯ ก็จะมีโอกาสโดนเทขายได้เช่นกัน

REITs/Infra.: คงมุมมอง “Overweight” โดยกองทุนอสังหาฯ ไทยยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความผันผวนของกองทุนอสังหาฯได้ เพราะกองทุนอสังหาฯให้ยีลด์ที่ระดับ 4.8% ซึ่งสูงกว่ายีลด์จากบอนด์ไทยราว 1.6%

Commodity: ปรับมุมมองจาก “Neutral” เป็น “Underweight” เพราะ หากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางเริ่มคลี่คลาย และซาอุฯ สามารถฟื้นกำลังการผลิตได้ตามเร็วตามที่ประกาศไว้ ก็จะกดดันให้{{8849|ราคาน้ำมันดิบ WTI}ปรับตัวลงได้ในระยะสั้น ส่วนในระยะยาว ราคาน้ำมันดิบก็มีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบ โดยความต้องการน้ำมันจะกลับมาลดลง ตามภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นหนุนโดยกำลังการผลิตน้ำมันในฝั่งสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Gold: คงมุมมอง “Overweight” เพราะข้อมูลในอดีตชี้ชัดว่าทองคำจะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงที่ธนาคารกลางต่างใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อีกทั้งราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการซื้อสะสมของบรรดาธนาคารกลาง และนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงตลาดปั่นป่วน ดังนั้นการปรับฐานของราคาทองคำ จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนเข้าซื้อสะสมทองคำ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง (Buy on Dip)

ความคิดเห็นล่าสุด

ยอดเยี่ยมครับ
ชอบบทวิเคราะห์​ครับ
ขอบคุณครับ มีคำแนะนำ ติชม หรือต้องการให้เราปรับปรุงอะไรก็บอกได้เลยครับ
ควรบาย หรือ เซล ดีคับ. eu
ชอบบทวิเคราะห์​ครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย