รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ยูโรกับดอลลาร์: สัปดาห์นี้ใครจะร่วงหนักกว่ากัน

เผยแพร่ 28/04/2563 14:47
อัพเดท 09/07/2566 17:31

สัปดาห์นี้ถือเป็นสัปดาห์สำคัญสำหรับสกุลเงินดอลลาร์และยูโรเพราะจะมีการประชุมเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)  และธนาคารกลางยุโรป (ECB) และยังมีรายงานตัวเลข GDP ของไตรมาสที่ 1 อีกด้วย แม้ผลการประชุมของธนาคารกลางจะสำคัญแต่ครั้งแรกของการรายงานตัวเลข GDP มักจะทำให้ตลาดมีความเคลื่อนไหวได้มากกว่าการรายงานผลครั้งอื่นๆ ที่ตามมาทีหลังจนในบางครั้งมีความสำคัญยิ่งกว่าการประชุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางฯ เสียอีก เชื่อว่านักลงทุนทุกคนตอนนี้ทำใจไว้เรียบร้อยแล้วว่าข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจนี้ในช่วง 3 เดือนแรกจะต้องออกมาหดตัวอย่างแน่นอนแต่คำถามก็คือว่าหดตัวมากแค่ไหน หลายๆ สกุลเงินในยุโรปได้ผ่านสถานการณ์ปิดล็อคดาวน์มาประมาณ 3 สัปดาห์ก่อนรัฐใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ ดังนั้นตัวเลขอัตราการเติบโตของ GDP ในยุโรปเชื่อว่าจะปรับลดลงกว่าของสหรัฐฯ ที่สำคัญฝั่งสหรัฐฯ ยังมีข่าวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นรอบที่ 2 ในขณะที่ ECB ตัดสินใจเพียงผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเท่านั้น

คำถามที่ว่า “ระหว่างสกุลเงินดอลลาร์และยูโรใครจะได้รับผลกระทบมากกว่ากัน?” ต้องขึ้นอยู่กับว่าธนาคารกลางของประเทศไหนมีมาตรการดำเนินการที่เข้มข้นกว่ากันเช่นรายละเอียดในขั้นตอนการดำเนินการเป็นอย่างไร? คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ตัวเลขจะหดตัวมากแค่ไหน? ภาพรวมในช่วงครึ่งปีหลังและการเติบโตตลอดทั้งปี 2020 เป็นอย่างไร? เมื่อไม่นานมานี้นางคริสตีน ลาการ์ดประธาน ECB คนปัจจุบันพึ่งออกมาบอกว่าเศรษฐกิจยุโรปอาจจะหดตัวประมาณ 15% ในขณะที่นายเจอโรม พาวเวลล์ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงไม่แสดงความเห็นใดๆ กับประเด็นนี้ เมื่อเดือนก่อนประธานเฟดพยายามที่จะพูดไปในทิศทางบวกโดยกล่าวว่าเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ไปแล้วน่าจะสามารถกลับมาเติบโตได้อย่างรวดเร็วแต่เมื่อพิจารณาจากภาพความเป็นจริงในตอนนี้เชื่อได้ว่าเราจะยังได้เห็นภาพการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) กันไปจนถึงซัมเมอร์


นอกจากนี้ธนาคารกลางทั้งสองยังมีแผนที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลของตัวเองเพิ่มและการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มครั้งนี้ของสหรัฐฯ อาจจะยังไม่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันใกล้และอาจจะไม่มากเท่ากับในรอบแรก สรุปก็คือเราวิเคราะห์ว่าผลการประชุมของทั้งสองธนาคารกลางจะออกมาทำให้สกุลเงินยูโรและดอลลาร์ปรับตัวลดลงมากกว่าที่จะปรับตัวขึ้น กราฟ EUR/JPY มีโอกาสปรับตัวลดลงก่อนที่ข่าวใหญ่นี้จะประกาศออกมา
 

การประชุมของธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น (BoJ) เมื่อวานนี้ได้ข้อสรุปว่าทางธนาคารจะมีการเข้าซื้อพันธบัตรอย่างไม่มีจำกัด นอกจากนี้ทางแบงก์ชาติจะเพิ่มงบในการเข้าซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นและตราสารหนี้เอกชน ไม่เพียงแค่นั้นทางธนาคารกลางยังลดตัวเลขคาดการณ์ GDP ลงและปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อลงมาต่ำกว่า 2% ไปอีก 3 ปี อย่างไรก็ตามข่าวที่ออกมาเมื่อวานนี้มีผลกับสกุลเงินเยนน้อยมาก ตอนนี้ทาง BoJ เองคาดการณ์ฺว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัว 5% ในปีนี้ (ถือว่าตัวเลขยังดีกว่าที่ IMF คาดการณ์) จากข่าวที่ออกมาจึงทำให้นักลงทุนสงสัยว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเป็นเช่นไรบ้าง

 

โดยภาพรวมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านตลาดหุ้นและตลาดสกุลเงินปรับตัวสูงขึ้นจากความหวังที่ประชาชนจะได้เห็นการคลายมาตรการล็อคเมืองภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ แม้แต่ในรัฐอย่างนิวยอร์กที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาดก็มีข่าวว่าจะเปิดเมืองภายในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ให้ได้ แต่ด้วยปัจจัยความเสี่ยงจากผลการตัดสินใจของธนาคารกลางจึงยังทำให้ทั้งสองสกุลเงินยังมีความเสี่ยงอยู่ นับจากวันนี้ไปอีกไม่ถึง 12 ชั่วโมงคือช่วงเวลาเทรดที่นักลงทุนยังสามารถเทรดได้ในความเสี่ยงที่ไม่สูงมากเพราะถ้าเริ่มเข้าสู่วันพุธและพฤหัสบดีเมื่อไหร่นั่นคือช่วงเวลาอันตรายแล้ว นอกจากการประชุมของ FED และ ECB ที่ได้กล่าวถึงไปยังมีตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่คาดว่าจะยังปรับตัวลดลง แต่ที่สำคัญที่สุดคือรายงานผลประกอบการของบริษัทใหญ่ๆ เช่น Apple (NASDAQ:AAPL), Amazon (NASDAQ:AMZN), Google (NASDAQ:GOOGL), Facebook (NASDAQ:FB), Microsoft (NASDAQ:MSFT), Exxon (NYSE:XOM), Shell (NYSE:RDSa), Pepsi (NASDAQ:PEP), Starbucks (NASDAQ:SBUX), General Electric (NYSE:GE) และ 3M (NYSE:MMM) จะเริ่มทยอยออกมาหลังจากตลาดหลักทรัพย์ปิดในช่วงเช้าของวันพรุ่งนี้ (ตามเวลาประเทศไทย)

ในขณะที่เรามองว่ายูโรและดอลลาร์จะอ่อนมูลค่าลงแต่เรากลับมองว่าสกุลเงินออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์จะทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในสัปดาห์นี้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ถือเป็นสองประเทศที่ประกาศคลายมาตรการปิดล็อคเมืองและยังพร้อมที่จะกลับมาเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจตามเดิมแล้วด้วย แคนาดาดอลลาร์ แม้จะมีข่าวน่าสนใจอยู่บ้างแต่ด้วยปัจจัยในตลาดน้ำมันดิบที่ยังคงไม่ฟื้นคือสาเหตุที่กดดันสกุลเงินนี้ต่อไป

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย