รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ราคาน้ำมันดิบโลก ยิ่งขึ้นเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งปรับตัวลงไปนานเท่านั้น!

เผยแพร่ 11/06/2563 08:16
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ราคาน้ำมันดิบ Brent ทยอยปรับตัวสูงขึ้นมาเรื่อยๆ จนสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 40 เหรียญมาได้เป็นเวลาอาทิตย์นึงแล้ว แต่ราคาอาจไม่สามารถคงอยู่ในระดับนี้ได้นาน และ ยิ่งราคาปรับสูงขึ้นเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้ราคาปรับตัวลงไปนานมากขึ้นเท่านั้น !

กราฟราคาน้ำมันดิบ Brent ในรอบ 1 เดือน

ดูกราฟราคา>> สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบรนท์

บทความนี้เป็นการวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่องจากครั้งก่อนๆ หากต้องการอ่านย้อนหลังก็สามารถอ่านดูได้ตามคอมเม้นท์ที่แนบให้เลยนะครับ

ราคาน้ำมันอาจจะปรับตัวขึ้นมาได้เพราะ

1. กลุ่มโอเปกสามารถลดกำลังการผลิตน้ำมันไปได้เร็วกว่าที่ตลาดคาด
2.การใช้น้ำมันเริ่มกลับมาแล้วจริงๆจากการปลด Lock Down
3. เงินทุนยังไหลเข้าตลาดน้ำมันและสินทรัพย์เสี่ยงเรื่อยๆตราบใดที่ตลาดหุ้นยังขึ้น
4. ขาขึ้นทางเทคนิคระยะสั้นอย่างชัดเจน
5. และค่าการกลั่นจะเป็นตัวกำหนดทิศทางราคาที่สำคัญในอนาคต

แต่วันนี้เราจะไม่มาคุยกันเรื่องปัจจัยในระยะสั้นเหล่านี้นะครับ เพรายังมีอีกปัจจัยที่สำคัญมากที่ตลาดยังไม่ได้กล่าวถึงที่จะเป็นตัวแปลสำคัญต่อ ราคาน้ำมันในระยะยาวได้

ยิ่งราคาปรับสูงขึ้นเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้ราคาปรับตัวลงไปนานมากขึ้นเท่านั้น แปลว่าอย่างไร ?

ทุกท่านจำเหล่าบริษัทน้ำมันเชลออยล์ของสหรัฐที่กำลังเกือบจะล้มละลายกันไปเป็นแถวหลังเกิดสงครามราคาน้ำมันขึ้นได้ไหมครับ ? และต้องปิดการผลิตไปกว่า 20% แล้วในสหรัฐ ตอนนี้พวกเขาเหล่านี้กำลังได้รับบทเรียนครั้งใหญ่ว่า ไม่มีอะไรที่แน่นอนในตลาด และ ซาอุดิอาระเบียยังสามารถขยี้ธุรกิจของพวกเขาได้ทุกเมื่อ หากว่าทางซาอุต้องการ

เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่ราคาน้ำมันมีโอกาศปรับตัวสูงขึ้นทางกลุ่มผู้ผลิตเหล่านี้กำลังจ้องหาจังหวะในการขายสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า เพื่อเป็นการ บริหารความเสี่ยง หรือ Hedging อยู่ตลอดเวลา !

เพราะการขายสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าที่ราคาสูงกว่าต้นทุนของพวกเขาได้นั้น จะเป็นการประกันว่าพวกเขาจะสามารถผลิตน้ำมันได้แบบนี้ยาวๆไปตลอด แม้ว่าทางซาอุจะมาเริ่มต้นสงครามราคาอีกครั้งพวกเขาก็จะไม่กลัว เพราะหากราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงหากพวกเขาขายสัญญาล่วงหน้าไว้แล้วพวกเขาก็สามารถนำน้ำมันไปส่งมอบได้ด้วยราคาที่ขายไป หรือจะได้รับเงินชดเชยกลับมาจากสัญญาอนุพันธ์เหล่านี้ (คล้ายกับการประกันราคาความเสี่ยงของ Mexico ที่เราเคยเล่าให้ฟัง เดี๋ยวจะแนบให้ในคอมเม้นท์อีกทีนะครับ)

และการอาศัยจังหวะที่ราคากำลังดีดตัวขึ้นในระยะสั้นนี้เพื่อทำการประกันราคาในระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตทั่วโลกกำลังจับตามอง โดยเฉพาะผู้ผลิตต้นทุนสูงในสหรัฐ

จะเกิดอะไรขึ้นหากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงกว่า 40 เหรียญ ?

เนื่องจากต้นทุนของน้ำมันเชลออยล์สหรัฐนั้นอยู่ที่ระดับ 30-50 เหรียญต่อบาร์เรล แปลว่าราคาที่สูงกว่าระดับนี้จะทำให้บริษัทต่างเร่งเข้ามาขายสัญญาล่วงหน้า และจะทำให้เกิดแรงเทขายที่มหาศาลมาก ! เพราะเหล่าบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ขายแค่ปริมาณที่พวกเขาผลิตได้ในปัจจุบันเท่านั้น แต่จะเข้ามาเทขายด้วยกำลังการผลิตในอนาคตของพวกเขาด้วย ! เพราะการขายสูงกว่าต้นทุนจะเป็นการประกันว่าพวกเขาจะได้ผลิตน้ำมันเหล่านั้นจริงๆ และราคาน้ำมันก็จะซึมยาว

ลองทำตัวเลขคร่าวดู หากบริษัทน้ำมันในสหรัฐที่มีกำลังการผลิต 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ออกมาทำการขายสัญญาล่วงหน้า 3 ปี = 10 x 365 x 3 = 11,000 ล้านบาร์เรล โดยหากขายที่ 40 เหรียญต่อบาร์เรลก็จะนับเป็นเงินมูลค่า 4.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ !

ในระยะสั้นนั้น ตลาดจะมีเงินทุนที่ไหลเข้ามาซื้อราคาน้ำมันเกิน 4.4 แสนเหรียญสหรัฐหรือไม่ ? ถ้ายังมีไม่ถึงก็อย่าหวังว่าตลาดจะสามารถทะลุแนวต้านในระดับ 40-50 เหรียญนี้ไปได้เลย (หลักๆจะหมายถึง WTI) เพราะผู้ผลิตจะทยอยเข้ามาเทขายอย่างต่อเนื่อง

เหตุผลเดียวที่จะทำให้ราคาทะลุแนวต้านนี้ไปได้คือ ต้องมีเหตุการณ์อะไรที่เป็นปัจจัยบวกมากๆ เช่นการสู้รบในตะวันออกกลางหรือเหตุการณ์อะไรที่จะทำให้ผู้ผลิตเหล่านี้หยุดการขายสัญญาล่วงหน้าไว้ก่อน

กราฟราคาน้ำมัน WTI 1 เดือนย้อนหลัง

ดูกราฟราคา >> สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI

รูปแบบของสัญญาล่วงหน้าจะมีความสำคัญมากๆต่อตลาด

ตอนนี้ราคาน้ำมันขึ้นมาอย่างเร็วเกินไป โดยการขึ้นมาครั้งนี้ราคาน้ำมันในระยะยาวยังคงเป็น Contango (หรือราคาน้ำมันดิบในอนาคตสูงกว่าในปัจจุบันอยู่) ทำให้การขายสัญญาล่วงหน้านั้นง่าย และนี่ เป็นความท้าทายของกลุ่มโอเปกอย่างมาก

เพราะทางโอเปกคงไม่ต้องการให้ผู้ผลิตต้นทุนสูงอย่างสหรัฐและประเทศอื่นๆ เข้ามาใช้โอกาสนี้ในการบริหารความเสี่ยงและกลายมาเป็นผู้ผลิตที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดในอนาคตแน่

ทางเดียวที่โอเปกจะสามารถทำให้มั่นใจได้ว่าตัวเองยังขายราคาน้ำมันได้แพงแต่เหล่าผู้ผลิตอื่นๆไม่สามารถบริหารความเสี่ยงได้นั้นคือการ ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งให้ราคาน้ำมันรีบขึ้น รอให้สภาพตลาดกลับตัวเป็น Backwardation เต็มตัวก่อนแล้วค่อยดันตลาดระยะสั้นขึ้น

เพราะหากตลาดเป็นขาขึ้นในรูปแบบ Backwardation (ราคาน้ำมันดิบในอนาคตต่ำกว่าในปัจจุบัน) จะทำให้ทางผู้ผลิตอื่นๆไม่สามารถขายราคาล่วงหน้าได้ง่ายๆ เพราะราคาในอนาคตอาจจะไม่สูงเท่ากับต้นทุนของพวกเขา

สรุป แรงเทขายเหล่านี้จะเป็นแนวต้าน ไม่ใช่แรงที่จะทำให้ราคาลดลงหนักๆ และเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยเท่านั้น ข้อ 1-5 ด้านบนที่กล่าวไว้อาจมีผลในระยะสั้นมากกว่า

และนี่ก็คืออีกหนึ่งปัจจัยในตลาดที่จะมีความสำคัญมากๆ ต่อราคาน้ำมันตลอดจนสิ้นปีนี้

ท่านใดเห็นว่าบทความวิเคราะห์ตลาดน้ำมันในมุมนี้มีประโยชน์ไหม ? หรือเข้าใจได้ยากง่ายแค่ไหน ? กรุณาช่วยเขียนคอมเม้นท์เข้ามาช่วยให้ความเห็นด้วยนะครับ ทางเราจะได้ปรับปรุงบทความของเราต่อไปในอนาคต

ติดตามทุกความเคลื่อนไหวและวิเคราะห์ตลาดน้ำมันไปกับเพจเราได้ แนะนำให้กด Like ที่โพสต์เรื่อยๆ หรือกดตั้งค่า “เห็นโพสต์ก่อน” หรือ See First ไว้ที่เมนูมุมขวาบนของเพจได้เลยครับ ไม่งั้นทาง Facebook จะไม่ค่อยแสดงโพสต์ของทีมเราที่อัพเดทใหม่ๆครับ

#ทันโลกกับTraderKP #OilTraderKP

ความคิดเห็นล่าสุด

เจิมปุ๊บลงปั๊บเลย
บทความยาวไปหน่อยค่ะ สรุปสั้นๆหน่อยกระทัดรัดก้อดีนะคะ โดยรวมเข้าใจค่ะ
เข้าใจง่ายดีครับผม แต่ยังไงรบกวนถ้าสามารถช่วยวิเคราะห์แนวโน้มสัปดาห์ต้อสัปดาห์ได้ก็จะดีมากเลยครับผม เพราะแต่ละสัปดาห์มีเหตุการณ์ใหม่เข้ามาเรื่อยเลยครับ ทำให้มองภาพยาวออก แต่ภาพสั้นๆรายสัปดาห์-2สัปดาห์มองไม่ออกครับผม
เข้าใจชัดเจนครับ
อยากถามว่าการที่ราคาน้ำมันต่ำนานๆบริษัทน้ำมันในอเมริกาจะเจ้งมัยครับ แล้วถ้าเจ้งทองคำจะขึ้นมัย
ผลิตเกินซาอุเลยสั่งลดส่วนต่างที่ผลิตเกิน ก็เลยต้องต่ำนานตามที่ผลิตเกินมาก่อนหน้านี้
อ่านเข้าใจง่าย ขนาดเพิ่งเข้าเล่นกองทุน ผมก็ได้ความรู้จากบทวิเคราะห์ไม่น้อยครับ
ขายใปเมื่อวานนี้ได้มา 2.1489 k oil
ดีคับ ขอบคุณมาก
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย