🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

กราฟเด่นประจำวัน: นักลงทุนเริ่มกลับมาถือครองดอลลาร์สหรัฐอีกครั้ง

เผยแพร่ 19/02/2564 17:54
DX
-

หากถามถึงสถานการณ์ของดอลลาร์สหรัฐเมื่อสองสัปดาห์ก่อนว่าเป็นอย่างไร นักวิเคราะห์หลายคนจะบอกกับคุณว่าตอนนั้นดอลลาร์ยังอ่อนค่าเพราะนั่นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงสี่วันติดต่อกัน แต่ตอนนี้แม้กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐจะยังอยู่ในแนวโน้มขาลง แต่เรากลับคิดว่าสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์สำรองอันดับหนึ่งไม่ได้มีทรงว่าจะอ่อนค่าลงต่อ และดูเหมือนว่าจะแข็งค่าขึ้นด้วยซ้ำ

ปัจจัยพื้นฐานที่หนุนให้ดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าในตอนนี้คือมีความคาดหวังของนักลงทุนบางกลุ่มที่เชื่อว่าการต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องอนุญาตให้มีการเพิ่มขึ้นของการหมุนเวียนเงินในระบบ เพื่อให้เงินเฟ้อสามารถปรับขึ้นมาตามเป้าหมายในระยะยาวได้ ภายใต้การบริหารของโจ ไบเดน เขาตั้งใจที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายของภาครัฐเช่นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ การปฏิรูปภาษี การมีนโยบายให้ประโยชน์กับบริษัทที่ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ ฯลฯ

สาเหตุที่เงินเฟ้อรูปแบบนี้ไม่ทำร้ายมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นเพราะไม่ใช่การอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบโดยตรง แต่เป็นการขยายฐานเศรษฐกิจผ่านการพัฒนาสาธารณูปโภคที่เอื้อความสะดวกให้กับการเติบโต เมื่อโครงสร้างพื้นฐานดี ก็จะเรียกนักลงทุนให้อยากเข้ามาลงทุนมากขึ้น การบริโภคเติบโต เมื่อมีคนลงทุน การจ้างงานก็จะเกิด สร้างกำไรกลับเข้ามาให้กับระบบมากขึ้น 

นอกจากนี้นักลงทุนยังเชื่อว่าเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดสภาพคล่องไม่ให้มีในระบบมากเกินไป และเมื่อไหร่ที่ธนาคารกลางฯ ขึ้นอัตราอัตราดอกเบี้่ย เมื่อนั้นมูลค่าของดอลลาร์ก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ มีความน่าดึงดูดมากขึ้น และความต้องการถือครองดอลลาร์สหรัฐก็จะกลับมา 

ด้วยวิธีคิดเช่นนี้จึงทำให้นักลงทุนตัดสินใจขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาบางส่วนเพราะนักลงทุนต้องการรอซื้อพันธบัตรรัฐบาลลอตใหม่ที่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่านี้ หากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลก็จะสามารถดึงเงินของประชาชนออกมาจากตลาดหุ้น เมื่อพันธบัตรรัฐบาลกลายเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยใหม่ คนที่ต้องการถือพินธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ก็จะต้องการถือครองดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น ส่งผลให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้น

Dollar Daily

เมื่อวานนี้กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงมา แต่ก็ต้องลงมาเจอกับเส้นแนวรับ neckline สีแดงซึ่งก่อนหน้านี้กราฟได้ทะลุกรอบราคาขาขึ้น (โซนสีเขียว) ลงมา ทำให้นักลงทุนบางส่วนเชื่อว่าดอลลาร์อาจกลับไปอ่อนค่าอีกครั้ง ที่สำคัญแรงขาลงดังกล่าวผลักให้ราคาต้องกลับเข้ามาสู่กรอบลิ่มลู่ลงอีกครั้ง

US Dollar Weekly

การที่กราฟยังสามารถยืนเหนือเส้น neckline ทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังอยู่ในทรงของรูปแบบ peak & trough ของแนวโน้มขาขึ้น แต่การที่ราคาวิ่งพัวพันอยู่ที่กรอบลิ่มลู่ลงกับการพยายามยืนเหนือเส้น neckline แสดงให้เห็นการสู้กันของนักลงทุนทั้งสองฝ่าย ฝั่งที่เชื่อปัจจัยพื้นฐานก็เชื่อว่าดอลลาร์ระยะยาวต้องอ่อนค่า แต่ฝั่งที่เชื่อเทคนิคก็มองว่าขอแข็งค่าในระยะสั้นๆ ก่อนก็พอ

จุดสังเกตก็คือเราสามารถเห็นความเชื่อแบบสนิทใจของนักลงทุนทั้งสองฝ่ายผ่านพฤติกรรมของแท่งเทียน ย้อนกลับไปในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ตอนนี้ที่กราฟขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดก่อนที่จะหลุดกรอบรูปธงลงมา สังเกตว่าแท่งเทียนนั้นเป็นแท่งเทียนแบบเต็มแท่ง หมายถึงความมั่นใจของนักลงทุนขาขึ้นที่มีเต็มเปี่ยมถูกกระชากลงด้วยความมั่นใจของขาลงเต็มเปี่ยมเช่นเดียวกัน นัยหนึ่งก็แสดงให้เห็นว่าความต้องการดอลลาร์สหรัฐยังมี เพียงแต่ความเชื่อของทั้งสองฝ่ายที่มีต่อดอลลาร์อยู่ในระดับที่พอๆ กัน

กลยุทธ์การเทรด

เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟจะสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่เหนือจุดสูงสุดของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ จากนั้นรอให้ราคาย่อลงมาก่อนวางคำสั่งซื้อ

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอดูจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน แต่ตอนที่กราฟย่อลงมานั้น จะไม่รอแท่งเทียนขาขึ้นเป็นสัญญาณยืนยัน

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง วางคำสั่งซื้อได้ทันทีที่ต้องการ นักลงทุนกลุ่มนี้ส่วนมากรู้จักการบริหารความเสี่ยงอยู่แล้วและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้่

ตัวอย่างการเทรด

- จุดเข้า: 90.60

- Stop-Loss: 90.50

- ความเสี่ยง: 10 จุด

- เป้าหมายในการทำกำไร:91.60

- ผลตอบแทน: 100 จุด

- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:10

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย