🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

ตลาดพันธบัตรยังทรงตัวท่ามกลางกระแสรักษาสภาพคล่องของเหล่าผู้วางนโยบายการเงิน

เผยแพร่ 01/06/2564 17:55
US10YT=X
-

หลังจากกระแสถอนคันเร่งการเข้าซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) สะพัดไปทั่วตลาด นักลงทุนสายพันธบัตรรัฐบาลจึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเก็งว่าตัวเลขที่เฟดจะถอนออกมาจากการซื้อพันธบัตรนั้นจะเป็นเท่าไหร่ เพราะการทำเช่นนั้นอาจจะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้น

รายงานการประชุมในช่วงปลายเดือนเมษายนของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ได้เปิดเผยข้อความที่แสดงความเป็นได้ว่าอาจจะมีการยืดระยะเวลาข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรชั่วคราวกับธนาคารกลางต่างชาติและหน่วยงานด้านการเงินระหว่างประเทศ (FIMA repo facility) ซึ่งจะหมดอายุลงในเดือนกันยายน ในตอนแรกข้อตกลงนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมปี 2020 หน้าที่ของข้อตกลงนี้คือการลดความจำเป็นที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ต้องขายพันธบัตรโดยตรงให้กับตลาดที่ขาดสภาพคล่อง ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร และการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทน

รายงานการประชุมของ FOMC ระบุว่า

“ธนาคารกลางที่เข้าร่วม FIMA Repo ส่วนใหญ่ระบุว่าการมีอยู่ของโครงการนี้เป็นเรื่องจำเป็น เพราะโครงการดังกล่าวจะช่วยลดความกดดันในกรณีที่มีธนาคารกลางใดธนาคารกลางหนึ่งต้องการเงินดอลลาร์แบบฉุกเฉิน”

รายงานการประชุมครั้งนั้นจึงได้ข้อสรุปว่าบางทีการให้มี FIMA Repo คงอยู่ไปตลอดอาจเป็นเรื่องที่ดี และธนาคารกลางที่เข้าร่วมโครงการนี้ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการกู้ยืมพันธบัตรรัฐบาล (TBAC) ก็เคยเสนอโครงการให้มีการขยายกรอบการทำ repo ให้กว้างขึ้นเพื่อให้นักลงทุนสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงสภาพคล่องได้ง่ายขึ้นในยามที่ตลาดพันธบัตรต้องเผชิญกับแรงกดดัน อีกไอเดียหนึ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปได้คือไอเดียของนายดาร์เรล ดัฟฟี่ นักเศรษฐศาสตร์จากสแตนฟอร์ดที่เสนอให้ลดต้นทุนการเข้าถึงเงินช่วยเหลือของธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะช่วยเสริมสภาพคล่องในการกู้ยืมกับรายย่อยมากขึ้น

นี่คือหนทางการแก้ไขปัญหาเพื่อรักษาสภาพคล่องในตลาดพันธบัตรเอาไว้ ทั้งสองวิธีไม่เพียงแต่ลดความกดดันจากวิกฤตโควิด แต่ยังรวมถึงการลดความเสี่ยงจากการขาดดุลในระดับหลายล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่มีมาเป็นทศวรรษ และอาจมีส่วนทำให้เฟดไม่ตัดสินใจเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไปมากกว่านี้

หรือ Taper Tantrum จะเกิดขึ้นไปแล้ว?

คำว่า “Taper Tantrum” ถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในปี 2013 ซึ่งตอนนั้นเป็นเหตุการณ์ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศว่าจะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ล่าสุดกราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวลดลงหลังจากการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคส่วนบุคคล (PCE Index) การเติบโตของตัวเลข PCE ในครั้งนี้หมายความว่าอัตราเงินเฟ้อก็กำลังเร่งตัวตามขึ้นมาด้วย10-year Treasury 300 Minute Chart

หลังจากที่การประกาศตัวเลขดังกล่าวออกมา กราฟผลตอบแทนฯ ก็ได้ปรับตัวลดลงประมาณ 1.58% นักวิเคราะห์บางคนตั้งข้อสังเกตว่าหรือ taper tantrum ได้เกิดขึ้นไปแล้วในเดือนมีนาคมตอนที่กราฟผลตอบแทนฯ เคยพุ่งขึ้นไปยัง 1.75% บางคนนั้นก็เห็นต่าง โดยให้เหตุผลว่าความต้องการพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์อาจลดลงเพราะการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มกลับมาเป็นปกติจะทำให้ผู้คนกล้าที่จะกู้ยืมมากขึ้น

ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก แต่เริ่มมีคนในออกมาพูดเรื่องความเป็นไปได้ที่อาจจะลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรในการประชุมของเฟดครั้งถัดไป ในตอนนี้เฟดยังยืนยันคำเดิมว่าไม่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ถึงแม้ว่าคนที่จะออกมาเตือนเป็นถึงผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์ก็ตาม

โทมัส จอร์แดน ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์ได้ออกมาเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องกับกลไกทางการเงินของสหรัฐฯ ว่า “ประวัติศาสตร์ก็เคยสอนเอาไว้แล้วว่าหากเกิดภาวะเงินเฟ้อจนเกินควบคุมขึ้นจะเป็นเช่นไร” โทมัสได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวของสวิตเซอร์แลนด์ที่มีชื่อว่า ‘Neue Zürcher Zeitung’ คำเตือนของเขาเอามาจากสถานการณ์ในสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับเขาเพดานของเงินเฟ้อจะคงอยู่ที่ 2% และไม่มีการปล่อยให้สูงเกินกว่านี้ ตราบใดที่ดัชนีราคาผู้บริโภคยังอยู่ต่ำกว่า 2% ตราบนั้นสวิตเซอร์แลนด์ก็จะยังไม่มีปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย