รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

แรงกดดันมาจากต่างประเทศ และ Covid

เผยแพร่ 06/01/2565 09:29
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เส้นทางที่จะนำไปสู่การใช้นโยบายการเงินตึงตัวของ Fed ที่จะเริ่มจากการ ปรับลด QE ตามด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และ การลดขนาดงบดุล(ผ่าน การขายตราสารหนี้ในพอร์ตออกมา) ดูเหมือนที่จะเดินหน้าในอัตราที่เร็วขึ้น โดยมีเงินเฟ้อระดับสูงเป็นแรงผลักดัน ส่งผลทำให้ตลาดหุ้นต่างประเทศถูก กดดัน ขณะที่Bond Yield ปรับสูงขึ้น ซึ่งน่าจะสร้าง Sentiment เชิงลบต่อ ตลาดหุ้นบ้านเรา อย่างไรก็ตามเชื่อว่าน้ำหนักมีไม่มากเหมือนในอดีต ส่วน ประเด็นที่ต้องติดตามในบ้านเราเป็นเรื่อง Covid-19 ซึ่งวันนี้รายงานตัวเลขผุ้ ติดเชื้อใหม่สูงกว่า 5.7 พันราย และเชื่อว่าจะทะลุ 1 หมื่นราย/วันได้ในสัปดาห์ หน้าทั้งนี้หากไม่มีการ Lockdown ก็น่าจะกดดัน SET Index จำกัด คาด SET Index มีโอกาสปรับฐาน โดยมี 1658 จุดเป็นแนวรับ และ 1685 จุด เป็นแนวต้าน พอร์ตจำลองให้ขายหุ้น CPN (น้ำหนัก 10%) และจัดเงินเข้าซื้อ KBANK (BK:KBANK) และ SCC อย่างละ 5% Top Pick เลือก CRC, KBANK และ SCC

Fed Minutes ส่งสัญญาณ ดอกเบี้ยสหรัฐขึ้นเร็วขึ้น เดือน มี.ค.65 สร้างความผัน ผวนต่อตลาดหุ้น วานนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เผยแพร่รายงานการประชุม (Fed Minute) ของการ ประชุมเดือน ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งใจความสำคัญเป็นการส่งสัญญาณดำเนินนโยบาย การเงินตึงตัวเร็วขึ้น ดังนี้

  • คณะกรรมการประเมินจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ, ตลาดแรงงาน และอัตราเงิน เฟ้อแล้ว พบว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจสามารถทำได้เร็วขึ้นกว่า ที่เคยคาดไว้

  • คณะกรรมการบางท่านเห็นว่า การปรับลดขนาดงบดุล (Balance Sheet Runoff) สามารถเริ่มต้นได้ทันทีหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ครั้งแรก

สัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้นของ Fed ส่งผลให้ตลาดการเงินโลก เริ่มปรับมุมมองว่า Fed มีโอกาสขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าเดิมได้ในปี 2565 โดย จากเดิมที่คาดจะขึ้นในเดือน พ.ค., ก.ค. และ ธ.ค. 2565 (กราฟเส้นสีน้ำเงิน) เปลี่ยนเป็น คาดจะขึ้นในเดือน มี.ค., มิ.ย. และ พ.ย. 2565

ขณะที่การปรับลดงบดุล (Balance Sheet Runoff) ประเมินหาก Fed ปรับลดงบดุล ตามที่ส่งสัญญาณไว้ จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบการเงินค่อยๆลดลง แตกต่างกับ ก่อนหน้าที่ Fed เน้นปรับลดวงเงิน QE (QE Tapering) ซึ่งจะส่งผลให้งบดุลเพิ่มขึ้นใน อัตราที่ชะลอลง และถ้าพิจารณาเหตุการณืในอดีต พบว่าช่วงที่ Fed ทำ QE Tapering, ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และลดขนาดงบดุลในรอบก่อน จะสร้างความผันผวน และแรง กดดันต่อตลาดหุ้น เพราะว่าสภาพคล่องในระบบจะอัดฉีดเข้ามาน้อยลงเรื่อยๆ และ ปรับลดลงในที่สุด

การส่งสัญญาณของ Fed ข้างต้น ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปีสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1.71% แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง, Dollar Index แกว่งทรงตัวในทิศแข็งค่าที่ บริเวณ 96-96.5 จุด ขณะที่ตลาดหุ้นโลกปรับฐานค่อนข้างแรง เช่น ดัชนี NASDAQ - 1.07%, S&P500 -1.94%, Dow Jones -1.074%

อัตราดอกเบี้ยของไทยคาดยังคงที่เดิม 0.5% ตลอดทั้งปี เพราะเงินเฟ้อยังต่ำ หนุน ตลาดหุ้นไทย

ส่วนของไทย ASPS ประเมินว่าไทยจะยังเดินหน้าใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่า (GDP ไทย 3Q64 ยังต่ำกว่าระดับก่อนเกิด COVID-19 ถึง 5% เทียบกับ GDP สหรัฐที่ฟื้นตัวเลยระดับก่อนเกิด COVID-19มาแล้ว ถึง 1.4%) ประกอบกับแรงกดดันเงินเฟ้อยังต่ำ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 2564 ขยายตัว 2.17%yoy ชะลอลงจากเดือน พ.ย. 2564 ที่ 2.71%yoy จากการอ่อน ตัวลงของราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน ขณะที่ราคาสินค้ากลุ่มอื่นๆยังขยายตัวต่ำอยู่ เช่น อาหารสด 0.56%, บริการส่วนบุคคล 0.14%, ยาสูบ-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0.15%, เคหสถาน -0.14%, การบันเทิง-การศึกษา -1% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2564 (อัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมพลังงาน และอาหารสด) ยังขยายตัวต่ำที่ 0.29%

จากภาวะเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐที่ต่างกันข้างต้น ASPS จึงคาดว่า กนง. จะยังคง อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำที่ 0.5% ไปตลอดปี 2565ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยยังได้อานิสงส์ จากสภาพคล่องที่สูง ช่วยให้ตลาดหุ้นไทยน่าจะมีความอ่อนไหวต่อประเด็นการใช้ นโยบายการเงินตึงตัวของโลกต่ำกว่าตลาดหุ้นโลก

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

จำนวนผู้ติด Covid ไทยกลับมาเหนือ 5 พัน และมีโอกาสทะลุ 1 หมื่นราย แต่เป็นไป ตามที่เคยคาดก่อนหน้าแล้ว หากตลาดหุ้นย่อเป็นจังหวะสะสม

ตลาดหุ้นไทยวันนี้ เชื่อว่าวันนี้นอกจากถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศ ประเด็นเรื่อง Fed ดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าจะถูกกดดันจากปัจจัยในประเทศ คือ เช้านี้รายงานจำนวน ผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ (New Case) ของไทย วันที่ 6 ม.ค.65 ออกมาพุ่งขึ้นที่ 5,775 ราย หรือเพิ่มขึ้นราว 48%จากวันก่อนหน้า ทำระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน ส่วน ผู้เสียชีวิต 11 รายยังต่ำ (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 วันอยู่ที่ 13 ราย)

และหากอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้า 1 เช้านี้ หมอศิริราช ประเมินว่า สัปดาห์หน้าจะเห็นรายงานผู้ติดเชื้อไทย จะแตะ 1 หมื่นรายต่อวัน (สอดคล้องตาม ความเห็นของ สาธารณสุข ก่อนนหน้าช่วงปลายปี 2564 ที่ประเมินเป็น Scenario ผู้ ติดเชื้อจะอยู่ในระดับ 1-3 หมื่นรายต่อวัน)

ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่รายงานออกมาพุ่งขึ้น คาดจะ สร้าง Sentiment เชิงลบกับตลาดหุ้นไทยในวันนี้ และน่าจะยังประเด็น Overhang กดดันตลาดหุ้นไทยไปอีกสักระยะ แต่อย่างไรก็ตามหากประเมินในเชิงปัจจัยพื้นฐาน คาด Impact เรื่อง Covid ในไทยคาดน่าจะจำกัด เนื่องจาก 1.)เป็นประเด็นที่ตลาดรับรู้ ก่อนหน้าอยู่แล้ว ว่าแนวโน้มผู้ติดเชื้อไทยจะเพิ่มขึ้น 2.) คาดในรอบนี้รัฐบาลไทยไม่ น่าจะเลือกกลับไป Lockdown แบบคุมเข้มงวดเหมือนในงวด 2Q63 และงวด 1Q2Q2564 เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งการฉีดวัคซีนของไทยที่ทั้งเข็ม 1 และ 2 ซึ่ง เกินระดับ 60%ของประชากร ฯลฯ ทำให้เชื่อว่า Downside ที่จะเห็นการปรับลดหรือ เกิดประมาณการณ์ GDP Growth และกำไรบริษัทจดทะเบียน ปี 2565 คาดจะจำกัด คือคาดไม่กระทบรุนแรง โดยติดตามปรุม ศบค. จะพิจรณาชะลอเลื่อนเปิดระบบ Test & Go ออกไปอีกจนถึงสิ้นเดือน ม.ค. 2565 รวมถึงชะลอแผนการเปิดสถานบันเทิงใน วันที่ 16 ม.ค. 2565 โดยรวมประเมินว่ากรณีที่เกิดการปรับฐานตลาดหุ้นไทย และหุ้น ที่น่าสนใจในช่วงนี้ เชื่อว่าเป็นเป็นจังหวะสะสมหุ้น เพื่อหวังผลตอบแทนในระยะถัดไป

ภาวะสภาพคล่องในระบบลด ตลาดหุ้นไทยยังมี Valuation น่าสนใจกว่า แนะ CRC KBANK SCC

วานนี้ Fed ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น เห็นการขายทำกำไรหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมา แรงในปีที่แล้ว อาทิ ดัชนี Nasdaq ปรับฐานแรง -3.3% และกดดันหุ้นกลุ่มเทคฯ ใน ดัชนี MSCI ACWI Index -3%ytd แต่ไม่ได้ปรับฐานแรงทุก Sector และยังพอเห็นการ ปรับตัวขึ้นในบาง Sector อาทิ กลุ่มพลังงาน +4.8%ytd กลุ่มการเงิน +2.2%ytd ดัง ภาพทางด้านล่าง

ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินบาททยอยอ่อนค่า และกดดัน Fund Flow อาจไหลเข้า หุ้นไทยลดน้อยลง หลังจากไหลเข้ามา 10 วันติดต่อกัน ด้วยมูลค่ารวม 3.2 ล้านบาท อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยยังถือว่ามีความน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบอยู่ ด้วยปัจจัย ต่างๆ ดังนี้

  • นักลงทุนต่างชาติ Rotation เม็ดเงินมาที่หุ้นวัฏจักรมากขึ้น ถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้นไทยเช่นกัน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วยหุ้นวัฏจักร และมีสัดส่วนหุ้นกลุ่มพลังงาน + ธ.พ. กว่า 31% ของมูลค่าตลาดรวม

  • ดอกเบี้ยสหรัฐมีโอกาสเร่งตัวขึ้น แตกต่างกับดอกเบี้ยไทยที่มีโอกาสยืนใน ระดับต่ำนาน ช่วยหนุน Forward Market Earning Yield 65F ของไทยยัง กว้างต่อเนื่อง ผิดกับประเทศพัฒนาจะแคบลง หลังดอกเบี้ยทยอยปรับตัว เพิ่มขึ้น อาทิ ตลาดหุ้นสหรัฐ Forward Market Earning Yield 65F จะลดลง เหลือ 3.7% (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต) ภายใต้การปรับดอกเบี้ยขึ้น 3 ครั้งในปีนี้ ส่วน Valuation ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจมากกว่า หากพิจารณา Forward Market Earning Yield Cap. 65F อยู่ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 4.4% สูง กว่าสหรัฐ และสูงอยู่ในระดับใกล้เคียง +1SD เมื่อเทียบกับอดีต

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

สรุป Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทไทยมีแนวโน้มอ่อนค่า และกดดัน Fund Flow มีโอกาสชะลอในการไหลเข้า แต่อาจได้แรงหนุนจากการ Search For Yield ของนักลงทุนในประเทศเข้ามาชดเชย จากดอกเบี้ยไทยที่ยืนใน ระดับต่ำมานานเกือบ 2 ปี กลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี มีเกราะป้องกันความกังวลดอกเบี้ยสหรัฐมีโอกาส ปรับตัวขึ้นเร็วกว่าคาด KBANK, CRC และ SCC (ต่างชาติถือครองอยู่ในระดับต่ำ มากราว 12%)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

😀
👍👍👍👍
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย