รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

สรุปภาพรวมตลาดตั้งแต่เปิดตลาดในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา Part 2

เผยแพร่ 21/09/2565 07:32
US500
-
DX
-

ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ในวันนี้ โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงนำตลาด เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในสัปดาห์นี้

ดัชนี STOXX 600 เปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 408.35 จุด เพิ่มขึ้น 0.11 จุด หรือ +0.03% ขณะที่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย ปรับตัวลดลง 0.6%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีเปิดวันนี้ที่ 12,685.29 จุด ลดลง 55.97 จุด หรือ -0.44% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเปิดวันนี้ที่ 6,049.00 จุด ลดลง 28.3 จุด หรือ -0.47%

นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟด ซึ่งจะมีการประกาศการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยในวันพุธที่ 21 ก.ย.ตามเวลาสหรัฐ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3

ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดการเงินต่าง ๆ ของอังกฤษ ประกาศปิดทำการซื้อขายในวันนี้ (19 ก.ย.) เนื่องในรัฐพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

บริษัทลอนดอน สต็อก เอ็กซ์เชนจ์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้บริหารตลาดหุ้นอังกฤษออกแถลงการณ์ว่า "คณะผู้บริหารของตลาดหลักทรัพย์อังกฤษรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และตลาดหลักทรัพย์จะปิดทำการซื้อขายในวันจันทร์ที่ 19 ก.ย.เพื่อร่วมไว้อาลัยในวันรัฐพิธีพระบรมศพของพระองค์"

สำหรับประเทศในเครือจักรภพนั้น รัฐบาลแคนาดาประกาศว่า วันจันทร์ที่ 19 ก.ย.จะเป็นวันหยุดพิเศษของหน่วยงานราชการ เนื่องในรัฐพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แต่ตลาดหุ้นโตรอนโตจะยังคงเปิดทำการซื้อขายตามปกติ

ส่วนที่ออสเตรเลีย นายแอนโทนี อัลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียประกาศว่า วันจันทร์ที่ 19 ก.ย.จะเป็นวันทำการปกติ แต่ออสเตรเลียจะกำหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 22 ก.ย.เป็นวันหยุดพิเศษ

พระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในขณะนี้

สื่อใหญ่ต่างถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ผ่านทางสถานีโทรทัศน์และแพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้คาดว่าพิธีดังกล่าวจะทำสถิติผู้ชมทั่วโลกมากเป็นประวัติการณ์จำนวนหลายพันล้านคน

ทั้งนี้ สำนักข่าว CNN ถ่ายทอดสดพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ตามเวลาไทย จนถึงเวลา 24.00 น. ขณะที่สำนักข่าว BBC ก็ได้ถ่ายทอดสดพระราชพิธีดังกล่าวเช่นกัน

สำนักงานตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดในพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เนื่องจากมีผู้นำและประมุขของชาติต่างๆ ซึ่งเป็นกษัตริย์และพระราชินี รวมทั้งสมาชิกในพระราชวงศ์, ประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีจากทั่วโลกเข้าร่วมพระราชพิธีดังกล่าว

"ผมสามารถยืนยันได้ว่านี่เป็นปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยครั้งใหญ่ที่สุดของตำรวจนครบาลลอนดอน โดยจะเป็นเหตุการณ์ใหญ่กว่าการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2012 หรือการจัดงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 70 ปีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2" สจวร์ต คันดี้ ผู้ช่วยรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลลอนดอนกล่าว

ทั้งนี้ ผู้นำและประมุขของชาติต่างๆ รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติราว 2,000 คนได้รับเชิญให้เข้าร่วมรัฐพิธีดังกล่าวที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ทำให้พระราชพิธีพระบรมศพในครั้งนี้ถือเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของบุคคลสำคัญทั่วโลกในรอบหลายปี

หุ้นของโฟล์คสวาเกนปรับตัวขึ้น 3% ในการซื้อขายก่อนเปิดตลาดในวันนี้ (19 ก.ย.) สูงกว่าดัชนีหุ้นกลุ่มบลูชิพของเยอรมนี หลังจากโฟล์คสวาเกนตั้งเป้าการประเมินมูลค่าการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ของปอร์เช่ เอจี ซึ่งเป็นแบรนด์รถหรูของโฟล์คสวาเกนอยู่ที่ 7.5 หมื่นล้านยูโร (7.484 หมื่นล้านดอลลาร์)

ส่วนหุ้นปอร์เช่ โฮลดิ้ง เอสอี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของโฟล์คสวาเกน ปรับตัวขึ้น 2.7%

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อคืนวันอาทิตย์ (18 ก.ย.) โฟล์คสวาเกนประกาศว่าจะกำหนดราคาหุ้นบุริมสิทธิของปอร์เช่ เอจีสำหรับเข้าตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 76.5-82.5 ยูโรต่อหุ้น ซึ่งหมายความว่า หุ้นปอร์เช่ เอจีอาจเป็นการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งใหญ่ที่สุดอันดับสองของเยอรมนี

ทั้งนี้ คาดกันว่าหนังสือชี้ชวนพร้อมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นจะเปิดเผยภายหลังในวันนี้

บริษัทโฟล์คสวาเกนแถลงในวันอาทิตย์ (18 ก.ย.) ว่า บริษัทตั้งเป้าที่จะระดมทุนสูงถึง 7.5 หมื่นล้านยูโร (7.51 หมื่นล้านดอลลาร์) ในการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (IPO) ของปอร์เช่ เอจี บริษัทผลิตรถสปอร์ตสุดหรูในเครือ ซึ่งจะกลายเป็นการทำ IPO ครั้งใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของเยอรมนีโฟล์คสวาเกนเปิดเผยว่า บริษัทจะตั้งราคาขายหุ้นบุริมสิทธิของปอร์เช่ที่ 76.50-82.50 ยูโรต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 7-7.5 หมื่นล้านยูโร

ทั้งนี้ เรฟินิทิฟระบุว่า ราคาสูงสุดของกรอบเป้าหมายที่โฟล์คสวาเกนตั้งเอาไว้จะทำให้การทำ IPO ครั้งนี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในประวัติศาสตร์ยุโรป โดยการซื้อขายจะเริ่มต้นขึ้นในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตในวันพฤหัสบดีที่ 29 ก.ย.นี้

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บริษัทจะเผยแพร่หนังสือชี้ชวนพร้อมด้วยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในวันนี้

นางเอ็มมานูเอล วากง ประธานคณะกรรมาธิการกำกับดูแลพลังงานฝรั่งเศส (CRE) เปิดเผยว่า ฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นส่งออกก๊าซธรรมชาติให้แก่เยอรมนีได้ประมาณวันที่ 10 ต.ค.ศกนี้ โดยขณะนี้ ทางหน่วยงานกำลังแก้ไขปัญหาด้านภาษี เพื่อเปิดทางให้สามารถกลับมาจัดส่งก๊าซข้ามพรมแดนได้อีกครั้ง

นางวากงระบุผ่านรายการวิทยุของฝรั่งเศสว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่อยู่ในขั้นตอนของการปรึกษาหารือเรื่องแก้ไขปัญหาภาษี โดยคาดการณ์ว่าต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์จึงจะได้ข้อสรุป

สำหรับแผนการจัดส่งก๊าซให้กับเยอรมนีในครั้งนี้นั้นมีขึ้นท่ามกลางวิกฤตขาดแคลนพลังงานในยุโรป จากผลพวงของกรณีที่รัสเซียรุกรานยูเครน

ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ดิ่งลงเกือบ 300 จุดในวันนี้ ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ณ เวลา 17.36 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ลบ 284 จุด หรือ 0.92% สู่ระดับ 30,638 จุด

คาดว่าการซื้อขายในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะถูกกดดันจากการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75-1.00% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของเฟด พุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.9% แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ในวันนี้ และอยู่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีและ 30 ปี

การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นดีดตัวสูงกว่าระยะยาว ส่งผลให้ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย ท่ามกลางการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้น หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00%

หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค. และหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ก็จะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี

นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวก่อนหน้านี้ว่า เฟดมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการควบคุมเงินเฟ้อ และการยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะยังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้

นายพาวเวลกล่าวว่า ภารกิจของเฟดในการต่อสู้กับเงินเฟ้อยังไม่เสร็จสิ้น โดยเฟดจะยังคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของสหรัฐ

"เราจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป จนกว่าจะมั่นใจว่าภารกิจของเราจะประสบความสำเร็จ โดยภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจอาจได้รับผลกระทบจากการที่เฟดยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ความล้มเหลวในการรักษาเสถียรภาพของราคาจะทำให้เกิดผลกระทบมากกว่า" นายพาวเวลกล่าว

นอกจากนี้ นายพาวเวลกล่าวว่า หลังจากเสร็จสิ้นการใช้มาตรการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ล่าสุด WTI หลุดระดับ 83 ดอลลาร์ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์หลุด 89 ดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลที่ว่า การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะทำให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย และส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน

ราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ซึ่งจะลดความน่าดึงดูดของสัญญา โดยทำให้สัญญาน้ำมันมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น

ณ เวลา 18.53 น.ตามเวลาไทย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนต.ค. ซึ่งมีการซื้อขายที่ตลาด NYMEX ลบ 2.42 ดอลลาร์ หรือ 2.84% สู่ระดับ 82.69 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลบ 2.36 ดอลลาร์ หรือ 2.58% สู่ระดับ 88.99 ดอลลาร์/บาร์เรล

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00%

หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค. และหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ก็จะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี

นอกจากนี้ นักลงทุนวิตกต่ออุปสงค์น้ำมัน หลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกจะหยุดชะงักลงในไตรมาส 4 โดยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน และกลุ่มประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ซาอุดีอาระเบียได้เพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนก.ค. แตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี

ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบ 2.5% สู่ระดับ 7.38 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 จากระดับ 7.20 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนมิ.ย.

นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียได้ปรับขึ้นราคาน้ำมันดิบมากกว่าคาดสำหรับลูกค้าในเอเชีย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวในตลาด และอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในช่วงฤดูร้อน

ผลการสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่สต็อกน้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นปรับตัวลง

การสำรวจดังกล่าวมีขึ้น ก่อนที่สถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันในวันพรุ่งนี้ ขณะที่สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยในวันพุธ

ราคาทองฟิวเจอร์ร่วงหลุดระดับ 1,670 ดอลลาร์ในวันนี้ โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

นอกจากนี้ นักลงทุนกังวลต่อการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้

ณ เวลา 19.09 น.ตามเวลาไทย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลบ 13.60 ดอลลาร์ หรือ 0.81% สู่ระดับ 1,669.90 ดอลลาร์/ออนซ์

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ราคาทองมีแนวโน้มดิ่งลงสู่ระดับ 1,600-1,650 ดอลลาร์ หากเฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ขณะที่การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของเฟด พุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.9% แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ในวันนี้ และอยู่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีและ 30 ปี

นักลงทุนกังวลต่อการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยมีการคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75-1.00% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00%

หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค. และหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ก็จะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี

ยอดขายทองคำในอินเดียมีแนวโน้มอ่อนแอในปีนี้ เนื่องจากแรงกดดันเงินเฟ้อและสภาพอากาศที่แปรปรวนในฤดูมรสุมอาจจะบั่นทอนรายได้ของเกษตรกร ซึ่งลดความสามารถในการซื้อทองของพวกเขา

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ความเป็นอยู่ของเกษตรกรหลายล้านชีวิตในอินเดียนั้นขึ้นอยู่กับฤดูมรสุม โดยฝนที่ตกลงมาอย่างผิดฤดูกาลในปีนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ในภาคกสิกรรมซึ่งเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดในอินเดีย ขณะที่ การปรับขึ้นภาษีนำเข้าในเดือนก.ค.เป็นอีกปัจจัยที่บั่นทอนความต้องการทองในอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ใช้ทองคำรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

"ในช่วงต้นปี เรามีมุมมองเชิงบวกอย่างยิ่งต่ออุปสงค์ในปีนี้ แต่ขณะนี้เราตัดสินใจลดประมาณการอุปสงค์ลง" นายชิรัก เชท ที่ปรึกษาของบริษัทเมทัลส์ โฟกัส จำกัดในอังกฤษกล่าว โดยเสริมว่า ภาษีนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ทองคำในระยะสั้น ขณะที่ เงินเฟ้อและฤดูมรสุมผิดปกติในหลายพื้นที่ของอินเดียอาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในเขตชนบท

นายเชทกล่าวว่า ขณะนี้บริษัทคาดการณ์ว่าอุปสงค์ทองคำในปี 2565 จะแทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปีที่แล้ว โดยลดลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าจะมีการเติบโต 7% -8%

ปริมาณการใช้ทองคำในอินเดียพุ่งขึ้นแตะ 800 ตันในปีที่แล้ว เนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการสกัดโรคโควิด-19 ได้ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ให้ฟื้นตัว ขณะเดียวกันการทะยานขึ้นของอุปสงค์และการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้กดดันให้รัฐบาลอินเดียประกาศขึ้นภาษีนำเข้าทองคำ เพื่อลดปริมาณการทะลักเข้าของทองคำ หลังจากช่องว่างด้านการค้าที่กว้างขึ้นของประเทศกดดันให้เงินรูปีอินเดียร่วงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

"ความผันผวนของราคาทองคำตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาทำให้ประชาชนชะลอการซื้อ" นายอาชิช เพช ประธานสภาเพชรและอัญมณีอินเดียกล่าว อย่างไรก็ตาม ราคาทองในอินเดียเริ่มมีเสถียรภาพแล้วในขณะนี้ เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าได้รับการชดเชยจากการลดลงของราคาทองในตลาดต่างประเทศ

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลักในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ณ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินบวก 0.22% สู่ระดับ 110.0 ขณะที่ยูโรปรับตัวขึ้น 0.13% สู่ระดับ 143.31 เยน และอ่อนค่า 0.28% สู่ระดับ 0.999 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ดีดตัว 0.43% สู่ระดับ 143.53 เยน

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00%

หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค. และหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ก็จะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี

ขณะเดียวกัน ปอนด์ร่วงลงใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 37 ปีเทียบดอลลาร์ในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอังกฤษ

นอกจากนี้ ปอนด์ยังถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ จากการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ปอนด์ดิ่งลงแตะระดับ 1.1380 ดอลลาร์ในวันนี้ ใกล้แตะระดับ 1.1351 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2528

ปอนด์ร่วงลง 16% เทียบดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปี 2565 ส่งผลให้ปอนด์มีแนวโน้มปรับตัวย่ำแย่ที่สุดในปีนี้นับตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่อังกฤษทำประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU)

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยในวันศุกร์ว่า ยอดค้าปลีกของอังกฤษดิ่งลง 1.6% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2564 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 0.5%

ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ระบุก่อนหน้านี้ว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะเผชิญภาวะถดถอยยาวนานกว่า 1 ปี โดยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2565 จนถึงสิ้นปี 2566

BoE คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะเผชิญภาวะถดถอยนานถึง 5 ไตรมาส ซึ่งเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจโลกเผชิญวิกฤตการเงิน โดยรายได้ในภาคครัวเรือนของอังกฤษจะทรุดตัวลงอย่างหนักในปี 2565-2566 ขณะที่การบริโภคเริ่มหดตัว

นอกจากนี้ หลายฝ่ายกังวลต่อสถานะทางการคลังของอังกฤษ เนื่องจากนางลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีนโยบายปรับลดอัตราภาษี รวมทั้งออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือภาคครัวเรือนของอังกฤษ

นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของ BoE ในวันพฤหัสบดี โดยคาดว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งนี้

ก่อนหน้านี้ BoE มีมติ 8-1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 1.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ส.ค. โดยเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 27 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2538 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เดือนธ.ค.2564 ส่งผลให้ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ BoE แตะระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2551

ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวผันผวนในวันนี้ โดยแกว่งตัวแดนบวกสลับลบ ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้

ณ เวลา 22.50 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 30,777.36 จุด ลบ 45.06 จุด หรือ 0.15%

ราคาหุ้นของบริษัท Sea ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีของสิงคโปร์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ร่วงลงในวันนี้ หลังบริษัทประกาศปลดพนักงานในบริษัทช้อปปี้ (Shopee) ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซในเครือ โดยเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการปรับลดค่าใช้จ่าย ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงกับบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป

ณ เวลา 21.24 น.ตามเวลาไทย ราคาหุ้น Sea ร่วงลง 1.07% สู่ระดับ 58.38 ดอลลาร์

ทั้งนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า Sea จะปรับลดพนักงานของบริษัทช้อปปี้ในอินโดนีเซียจำนวน 3% โดยจะกระทบพนักงานในฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายการตลาด

ก่อนหน้านี้ บริษัท Shopee Indonesia ยืนยันว่าไม่มีแผนที่จะปลดพนักงานจากจำนวนทั้งหมด 20,000 คนแต่อย่างใด โดยระบุว่าบริษัทยังคงมีผลประกอบการที่ดี และอินโดนีเซียยังคงเป็นตลาดที่สำคัญของทางบริษัท

ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์สเตรทส์ไทม์รายงานว่า บริษัท Shopee Singapore ได้ประกาศปลดพนักงานในวันนี้เช่นกัน โดยเป็นพนักงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการตลาด ฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาค รวมทั้งฝ่ายวิศวกรรมและผลิตภัณฑ์

การประกาศปลดพนักงานในสิงคโปร์และอินโดนีเซียในวันนี้มีขึ้น หลังจากช้อปปี้ได้ประกาศถอนตัวออกจากตลาดยุโรปและลาตินอเมริกาก่อนหน้านี้ รวมทั้งจากอินเดีย เนื่องจากถูกรัฐบาลอินเดียประกาศห้ามการดำเนินธุรกิจในประเทศ ท่ามกลางความขัดแย้งกับบริษัทจีน

การซื้อขายในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในวันนี้ถูกกดดันจากการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75-1.00% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของเฟด พุ่งขึ้นเหนือระดับ 3.9% แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ในวันนี้ และอยู่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีและ 30 ปี

การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นดีดตัวสูงกว่าระยะยาว ส่งผลให้ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย ท่ามกลางการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้น หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 82% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 18% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00%

หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค. และหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ก็จะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี

ส่วนการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 3 จุด สู่ระดับ 46 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 47

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงมุมมองทั่วไปที่เป็นลบ

ก่อนหน้านี้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือนมิ.ย.2557 ก่อนที่จะปรับตัวต่ำกว่าระดับดังกล่าวอีกครั้งในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19

การร่วงลงของดัชนีความเชื่อมั่นมีสาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง และต้นทุนในการก่อสร้าง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นต่อยอดขายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และดัชนีความเชื่อมั่นต่อยอดขายในปัจจุบันต่างปรับตัวลง

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 0.5% ในไตรมาส 3

ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 1.3% ที่มีการระบุก่อนหน้านี้

เฟดสาขาแอตแลนตาจะรายงานตัวเลขคาดการณ์ GDPNow ครั้งใหม่ในวันพรุ่งนี้

ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่าเศรษฐกิจสหรัฐหดตัว 0.9% ในไตรมาส 2 หลังหดตัว 1.6% ในไตรมาส 1 ซึ่งการที่เศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้สหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค

อย่างไรก็ดี นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่า เขาไม่คิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากหลายภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจยังคงมีความแข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงตลาดแรงงาน

ที่ผ่านมา สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ (NBER) ถือเป็นหน่วยงานในการตัดสินเกี่ยวกับการขยายตัวหรือการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยจะมีการพิจารณาจากหลายปัจจัย ได้แก่ การจ้างงาน การบริโภค การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และรายได้ส่วนบุคคล ก่อนที่จะทำการประกาศอย่างเป็นทางการ

โกลด์แมน แซคส์ออกรายงานคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัวเพียง 1.1% ในปี 2566 ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 1.5%

นอกจากนี้ โกลด์แมน แซคส์คาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.1% ในช่วงสิ้นปี 2566 จากปัจจุบันที่ระดับ 3.7% และสู่ระดับ 4.2% ในช่วงสิ้นปี 2567

ขณะเดียวกัน โกลด์แมน แซคส์คาดว่าภาวะการเงินที่ตึงตัวจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้ม 35% เข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

สถาบันวิจัย CFRA ระบุว่า หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.75% ในการประชุมสัปดาห์นี้ ก็จะเป็นการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเกินไป และจะฉุดให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีททรุดตัวลง

"เราคิดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1% จะสร้างความตื่นตระหนกต่อตลาด และเป็นการบ่งชี้ว่าเฟดมีปฏิกิริยามากเกินไปต่อข้อมูลเศรษฐกิจ และลดโอกาสที่จะช่วยให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป" นายแซม สโตวอลล์ นักวิเคราะห์จาก CFRA ระบุในรายงาน

ทั้งนี้ ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนวน 56 ครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1% เพียง 7 ครั้ง และหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ดัชนี S&P 500 ดิ่งลง 2.4% ภายในเวลา 1 เดือน, ร่วงลง 1.3% ในเวลา 3 เดือน และฟื้นตัวขึ้น 0.1% ในเวลา 6 เดือน

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย