🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

เศรษฐกิจไตรมาสสอง ขยายตัว +1.8%y/y ชะลอลงจากไตรมาสแรก

เผยแพร่ 21/08/2566 13:19

เศรษฐกิจไตรมาสสอง ขยายตัว +1.8%y/y ชะลอลงจากไตรมาสแรก กดดันโดยการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ

  • GDP Q2 2023

    Actual: +1.8%y/y Previous: +2.6%y/y 

    Consensus: +3.1%y/y

  • เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองของปี 2023 ขยายตัว +1.8% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่โต +2.6% โดยมีปัจจัยกดดันจากการหดตัวลงของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ รวมถึงการหดตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า ขณะที่ปัจจัยหนุนยังคงเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องของการส่งออกภาคการบริการ (การท่องเที่ยวจากต่างชาติ) ที่หนุนให้การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวเร่งขึ้น
  • การชะลอตัวลงมากกว่าคาดของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ทำให้สศช. ปรับลดอัตราการเติบโตเศรษฐกิจทั้งปี 2023 เหลือ 2.5%-3.0% (เดิม 2.7%-3.7%) โดยยังคงมีการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคเป็นเครื่องยนต์สำคัญ ส่วนปัจจัยกดดันยังคงเป็นการหดตัวลงของการส่งออกสินค้าและการชะลอตัวลงของการลงทุนจากทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ
  • เราเตรียมปรับประมาณการอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยลง เพื่อให้สอดคล้องกับรายงานเศรษฐกิจล่าสุด ทั้งนี้ เราคงมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่จะได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภค อย่างไรก็ดี เราจะติดตามผลกระทบจากภาวะแล้งจาก El Nino ที่อาจกระทบต่อรายได้และการใช้จ่ายครัวเรือน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2023 ขยายตัว +1.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแย่กว่าที่ตลาดคาดที่ +3.1%

  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสองของปี 2023 ขยายตัวเพียง +1.8% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยยังมีปัจจัยหนุนจากการบริโภคภาคเอกชน +7.8% การส่งออกบริการซึ่งส่วนใหญ่คือ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องถึง +54.6% อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ายังคงหดตัวต่อเนื่องกว่า -5.7% ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐหดตัวกว่า -4.3% ตามการลดลงของค่าใช้จ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ลดลงต่อเนื่อง -25.1% นอกจากนี้ การลงทุนโดยรวมยังชะลอตัวลง +0.4% จาก +3.1% ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของการลงทุนทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ 
  • สศช. “ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2023 เป็นขยายตัว 2.5%-3.0% (เดิม 2.7%-3.7%) โดยเศรษฐกิจยังมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวต่อเนื่องของการลงทุนโดยรวม แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนที่จะขยายตัวได้ดี ส่วนปัจจัยกดดันยังคงเป็นภาคการส่งออกสินค้าที่อ่อนแอ
  • ทั้งนี้ ในการปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่ สศช. ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ การบริโภคภาคเอกชนเป็น +5.0%y/y จากเดิมที่มองว่า จะขยายตัวราว +3.7%y/y สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี สศช. ได้ปรับลดประมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ เป็น -3.1%y/y จากเดิมมองที่ -2.6%y/y ตามฐานที่สูงในปีงบประมาณที่มีการเบิกจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการระบาดของ COVID-19 และการเบิกจ่ายของภาครัฐที่ล่าช้าหรือน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดคาดการณ์การลงทุนรวมเป็น +1.6% จาก +2.1% ในส่วนของแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ทาง สศช. มองอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในกรอบ 1.7%-2.2% ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 2.5%-3.5%

เศรษฐกิจไทยชะลอลงมากกว่าคาด ทำให้เราเตรียมปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยปี 2023 ลง และต้องติดตามความเสี่ยงจากการเมืองรวมถึง El Nino

  • เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทย อาทิ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวต่างชาติ และการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แต่ปัจจัยกดดันกลับเป็นฝั่งภาคการลงทุน ทั้งในส่วนการลงทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐ ซึ่งเรามองว่า ปัจจัยสำคัญ อาจมาจากสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ซึ่งคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจทั้งปี 2023 ก่อนหน้าของเราที่ +3.4%y/y นั้น ได้มีการคำนึงถึงปัญหาการทำงบประมาณที่ล่าช้าไปบ้าง แต่ในส่วนของประมาณการใหม่ เรามองว่า การจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า จะมีโอกาสส่งผลให้การจัดทำงบประมาณล่าช้ากว่าคาด ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน จนกระทบต่อ sentiment การลงทุนโดยรวม อย่างไรก็ดี เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของภาคการส่งออกในช่วงปลายปี ทำให้เราประเมินเบื้องต้นว่า อัตราการเติบโตเศรษฐกิจทั้งปี อาจลดลงจาก +3.4% แต่ยังคงใกล้เคียง +3.0% ทั้งนี้ เราอาจปรับประมาณการเศรษฐกิจลงอีก หากรายได้ภาคเกษตรกรรม ได้รับผลกระทบจากภาวะ El Nino จนกดดันให้การบริโภคภาคเอกชนโตน้อยกว่าคาด
  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ไม่ได้ขยายตัวดีอย่างที่เคยประเมินไว้ รวมถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง จนทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ รวมถึงเรามีการปรับประมาณการลง เป็นเหตุผลที่ทำให้ เรายังคงมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.25% อย่างไรก็ดี เรายังให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อสู่ระดับ 2.50% ราว 45% เนื่องจาก ธปท. อาจยังมีความกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ จากนโยบายของรัฐบาลใหม่และผลของ El Nino รวมถึง ธปท. อาจต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) เพื่อรับมือความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในอนาคต  

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย