รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ ผลการประชุมธนาคารกลางหลักทั้ง FOMC, BOE และ BOJ

เผยแพร่ 18/09/2566 08:11

Economic Highlight

ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ ผลการประชุมธนาคารกลางหลักทั้ง FOMC, BOE และ BOJ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ทั้ง อัตราเงินเฟ้อ CPI และดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ

**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงสะท้อนภาพเศรษฐกิจแข็งแกร่งกว่าคาด และความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน หลัง ECB เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ได้หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง  
  • เราคงมองว่า ทิศทางเงินดอลลาร์จะยังคงขึ้นกับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด รวมถึงบรรยากาศในตลาดการเงิน
  • ผลการประชุม FOMC ของเฟดในสัปดาห์นี้ อาจชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์ได้ โดยหากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อชัดเจน (Dot Plot ใหม่ สะท้อนว่าเฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว) เงินดอลลาร์อาจย่อตัวลงได้
  • อย่างไรก็ดี หาก Dot Plot ใหม่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เงินดอลลาร์อาจยังคงแกว่งตัว sideway แต่ต้องระวังในกรณีที่ Dot Plot ใหม่สะท้อนว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ในปีนี้ และเฟดอาจลดดอกเบี้ยไม่ถึง 1% ในปีนี้ ซึ่งอาจทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำจุดสูงสุดใหม่ในปีนี้ได้ไม่ยาก 
  • นอกจาก ผลการประชุม FOMC เราประเมินว่า ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็อาจส่งผลต่อตลาดการเงินได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ BOJ ส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยได้ หากจำเป็น ซึ่งภาพดังกล่าวอาจช่วยหนุนให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ และช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินดอลลาร์
  • และนอกจากผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางหลัก ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากฝั่งสหรัฐฯ ยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าประเทศอื่นๆ ก็อาจยิ่งหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และเป็นเรื่องยากที่จะเห็นเงินดอลลาร์อ่อนค่าในระยะสั้น
  • ในส่วนปัจจัยในประเทศที่อาจกระทบต่อค่าเงินบาท เรามองว่า ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่มีสัญญาณว่าจะกลับเข้าตลาดทุนไทย อาจเป็นปัจจัยที่กดดันให้ เงินบาทยังไม่สามารถกลับมาแข็งค่าขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
  • อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมน้ำมันดิบ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง (โฟลว์ซื้อทองคำและน้ำมันดิบ)
  • นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางเงินหยวนจีน ซึ่งอาจผันผวนไปตามความเชื่อมั่นของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน โดยล่าสุด เงินหยวนจีนเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนออกมาดีกว่าคาด
  • ในเชิงเทคนิคัล การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจเริ่มชะลอลงและติดโซนแนวต้านแถว 35.85-35.90 บาทต่อดอลลาร์ และมีโซน 36.00 บาทต่อดอลลาร์เป็นแนวต้านถัดไป นอกจากนี้ แม้ว่า สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ sideway up (ทยอยอ่อนค่าลง) แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดสัญญาณ Bearish Divergence บน RSI และ MACD Forest สะท้อนว่าเงินบาทก็สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง
  • นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าเริ่มชะลอลงบ้าง อย่างไรก็ดี หากเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นได้ ก็อาจยังติดโซนแนวรับแรกแถว 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์ และมีแนวต้าน 35.40 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวต้านสำคัญถัดไป

Gold Highlight

  • ราคาทองคำเคลื่อนไหว sideway ในกรอบ โดยผันผวนไปตามทิศทางของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ราคาทองคำสามารถรีบาวด์ขึ้นมายืนเหนือโซนแนวรับได้ในช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา 
  • สัปดาห์นี้ รอลุ้นผลการประชุมธนาคารกลางหลักสำคัญ (เฟด BOE และ BOJ) และจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากฝั่งสหรัฐฯ ยูโรโซน อังกฤษ และ ญี่ปุ่น
  • เราประเมินว่า ราคาทองคำมีโอกาสรีบาวด์ขึ้นทดสอบโซนแนวต้านสำคัญอย่างเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (แถว 1,970 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หากตลาดปรับลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น
  • ในทางกลับกัน ราคาทองคำเสี่ยงที่จะปรับตัวลง ทดสอบโซนแนวรับสำคัญแถว 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ไม่ยาก หากตลาดยิ่งเชื่อว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งและเฟดอาจไม่รีบลดดอกเบี้ยลงในปีหน้า 
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัว แกว่งตัว sideway แต่เริ่มมีโอกาสเห็นการรีบาดว์ขึ้นของราคาทองคำได้ อย่างไรก็ดี หากพิจารณา Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 จะเห็นสัญญาณว่า โมเมนตัมการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำเริ่มกลับมา และมีโอกาสที่ราคาทองคำอาจแกว่งตัว sideway หรือ ทยอยปรับตัวขึ้นทดสอบโซนแนวต้านได้ 
  • เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ 

Economics Highlight

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย