รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เงินบาท อ่อนค่าเกินไป? 

เผยแพร่ 23/04/2567 10:03

ช่วงที่ผ่านมาอาจมีหลายเหตุปัจจัยที่ทำให้FUND FLOW ไหลออก และเงินบาท อ่อนค่า โดยหากพิจารณาในช่วง YTD พบว่าเงินบาทอ่อนค้าราว 7.8% อย่างไร ก็ตามในอีกมุมหนึ่งพบว่า DOLLAR INDEX แข็งค่าขึ้นมาราว 4.7% ซึ่งภาพ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเงินบาทอ่อนค่าในอัตราที่มากกว่าการแข็งค่าของ USD สำหรับในมุมของปัจจัยพื้นฐานของบ้านเราพบว่า ฐานะการเงินอยู่ในภาวะที่ แข็งแรง โดยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 14 ของโลก และมี อัตราส่วนเท่ากับการนำเข้าสินค้าได้ 8.4 เดือน อีกทั้งในส่วนของดุลบัญชี เดินสะพัดก็มีทิศทางดีขึ้นตามลำดับ ด้วยองค์ประกอบดังกล่าว ทำให้มีความ เป็นไปได้ที่เงินบาทไม่น่าจะอ่อนค่าหลุด 37 บาท/USD ไปได้นานนัก และน่าจะ กลับมาแข็งค่าขึ้นได้ในที่สุด และหากเป็นไปตามคาด ก็น่าจะทำให้เกิดความ คาดหวังเชิงบวกต่อ FUND FLOW ที่น่าจะไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นบ้านเรา

SET INDEX ดีดตัวกลับขึ้นมาใกล้ 1350 จุด อีกครั้ง และจากการประเมินปัจจัย แวดล้อมที่ไม่มีปัจจัยลบใหม่ๆ เข้าม เชื่อว่าน่าจะเห็นการปรับตัวขึ้นได้ต่อ วันนี้คาด กรอบ 1345 –1360 จุด TOP PICK เลือก ADVANC, CPALL (BK:CPALL) และ GULF

เงินบาทอ่อนค่าเกินไปแล้ว ?

วานนี้ เงินบาทเงินบาทปรับตัวอ่อนค่ามากสุดในรอบ 6 เดือน ทะลุ 37 บาท/USD จาก หลายปัจจัยที่เข้ามากดดันในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นความตึงเครียดตะวันออก กลางที่เป็นผลักให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น จนอาจกดดันให้เงินเฟ้อความคุมได้ยาก และมี โอกาสหนุนให้FED ยืดระยะเวลาการปรับลดดอกเบี้ยออกไปในปีนี้

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินบริเวณเกิน 37 บาท/USD เงินบาทจะชะลอการอ่อน ค่าลง และคาดว่าจะแข็งค่าขึ้นในระยะถัดไป โดยมีสัญญาณต่างๆ ดังนี้

1. ตลาดการเงินตอบรับไปในระดับหนึ่งแล้วว่า FED อาจคงดอกเบี้ยนานขึ้น สะท้อนจาก BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ ดีดตัวขึ้นราว 50 BPS. (เทียบเท่า การขึ้น ดอกเบี้ย 2 ครั้ง) นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค. 67 บวกกับ FED WATCH TOOL ปรับเปลี่ยนมุมมองว่า FED จะลดดอกเบี้ยในปีนี้เพียงแค่ 1 ครั้ง นอกจากนี้ CONSENSUS ยังคาดการณ์ว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐใน 1Q67 จะขยายตัว 2.5%YOY ซึ่งน้อยกว่าไตรมาสก่อนที่3.4%YOY กดดัน ให้ค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลงได้

2. ความกังวลสงครามตะวันออกกลางผ่อนคลายลง โดยวานนี้ จำนวน บทความ/ข่าว เกี่ยวกับ “สงคราม” ลดลงเหลือเพียง 5,567 ข่าว ขณะที่ราคา น้ำมันดิบ BRENT ย่อตัวลงมาราว -0.14% ทรงตัวอยู่ในระดับ 87.2 เหรียญฯ

3. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยยังแข็งแกร่ง สามารถนำเม็ดเงินไปหมุน แทนการนำเข้าได้ 8.4 เดือน อีกทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในเดือน ก.พ. 67 ยัง พลิกกลับมาเกินดุลได้ราว2.0 พันล้าน USD

4. พื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งในการลงทุน ภาครัฐ-เอกชน (I) รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐ (G) อีกทั้งยังคาดหวังมาตรการ กระตุ้นภาคการบริโภค (C) ผ่านโครงการ DIGITAL WALLET ทั้งนี้สำนัก เศรษฐกิจต่างๆ คาดการณ์ GDP GROWTH ไทยปี 2567 เติบโตเฉลี่ย 2.8%YOY ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากปีก่อนที่ 1.9%YOY

สรุป เงินบาทอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว ทะลุ 37 บาท/USD อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินบริเวณแนวต้านที่ 37.5 บาท/USD เงินบาทจะชะลอการอ่อนค่าลง และคาดว่า จะแข็งค่าขึ้นในระยะถัดไป

เตรียมอนุมัติ DIGITAL WALLET พร้อมใช้เงินช่วง4Q67

วานนี้นายกฯ เชิญพรรคร่วมรัฐบาลหารือประเด็นนโยบาย DIGITAL WALLET ก่อนที่ กระทรวงการคลังจะเสนอผลการประชุมให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบในการประชุม วันนี้ สำหรับรายละเอียดที่จะเสนอ ครม. จะระบุถึงการดำเนินการที่แจกเงิน DIGITAL ให้ผู้มีอายุ 16 ปี ขึ้นไป รวม 50 ล้านคน วงเงินรวม 500,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มแจก ในช่วง 4Q67และจะหารือรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินที่ได้รับการยืนยันว่าถูกต้อง ตามกฎหมาย และเมื่อประชุม ครม.เรียบร้อยจะมีการแถลงให้ชัดเจน ส่วนร้านค้าที่เข้า ร่วมโครงการจะมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง โดยขณะนี้รายชื่อนิติบุคคลของกระทรวงพาณิชย์อยู่ที่ 900,000 ราย และยังมีบุคคล ธรรมดาอีกหลายส่วน ซึ่งจะจัดให้มีการลงทะเบียนช่วง 3Q67 และรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะมี ผู้สนใจจำนวนมากทั้งนิติบุคคล ร้านค้าและบุคคลธรรมดา

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวกำลังสะท้อนว่า โครงการ DIGITAL WALLET ยังคงเดินหน้าต่อไป และน่าจะเริ่มเห็นเม็ดเงินหมุนเวียนได้ในช่วง 4Q67 จึง คาดหวังว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล หนุนให้ GDP GROWTH บ้านเราโตได้เฉลี่ยอย่างน้อย 2.8%YOY(มีโอกาสแตะระดับ 3%-4%) ซึ่ง รัฐบาลคาดจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 1.2-1.6% ของ GDP ทั้งปี (TURNOVER 0.4- 0.5 เท่า) ส่วนหุ้นที่คาดว่าได้ประโยชน์ คือ หุ้นกลุ่มอาหาร-ค้าปลีก/ค้าส่ง อาทิ CPALL, CBG, ICHI, OSP, TFG, BTG,CPAXT, BJC เป็นต้น

สรุป มติ ครม.วันนี้คาดอนุมัติโครงการ DIGITAL WALLET ให้เดินหน้าต่อไปได้ โดย เริ่มใช้ได้ 4Q67 ขณะที่รัฐบาลคาดจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 1.2-1.6% ของ GDP ทั้ง ปี (TURNOVER 0.4-0.5 เท่า) ส่วนหุ้นที่คาดจะได้ประโยชน์ คือ หุ้นกลุ่มอาหาร-ค้า ปลีก/ค้าส่ง อาทิ CPALL, CBG, ICHI, OSP, TFG, BTG,CPAXT, BJC เป็นต้น

ตลาดรับแรงกดดันความไม่สงบตะวันออกกลางไปแล้ว หวัง ทยอยฟื้นหลังจากนี้

ฝ่ายวิจัยฯ ทำการรวบรวมข้อมูลเวลาเกิดเหตุความไม่สงบในตะวันออกกลาง ว่า กระทบต่อ SET INDEX ลึกแค่ไหน?

▪ ช่วงเดือน ต.ค. 66 ตอนที่อิสราเอลเริ่มต้นบุกฉนวนกาซาช่วงนั้นกดดัน SET INDEX ย่อตัว -81 จุด

▪ ต่อมาช่วงเดือน ม.ค. 67 ตอนที่เกิดความไม่สงบในทะเลแดง SET INDEX ย่อ ตัว -61 จุด

▪ ขณะที่ปัจจุบันช่วงสงกรานต์เดือน เม.ย. 67 ความไม่สงบปะทุขึ้น หลัง อิหร่านตอบโต้โจมตีอิสราเอลกลับ กดดัน SET ย่อตัวลงมา -78 จุด อยู่ บริเวณใกล้ 1330 จุด

สรุปคือ สังเกตได้ว่า เวลาเกิดความไม่สงบในตะวันออกกลางหนักๆ มักจะกดดัน SET INDEX ย่อตัวประมาณ -60 ถึง -80 จุด ดังนั้น SET INDEX ณ ปัจจุบัน ตอบรับ ประเด็นลบนี้มาในระดับหนึ่งแล้ว ส่วนต่อจากนี้คาดหวัง SET INDEX มีโอกาสฟื้นตัวต่อ ทั้งจากปัจจัยภายในและ ภายนอก ดังนี้

▪ ปัจจัยภายนอก แรงกดดันเบาลง สะท้อนจากเม็ดเงินเริ่มไหลออกจาก สินทรัพย์ปลอดภัย โดยทองคำวานนี้ย่อตัวแรง 2.7% (ย่อตัวภายในวันเดียว แรงสุดในรอบ 1 ปี 8 เดือน )ขณะเดียวกันดัชนีความกลัว VIX INDEX เริ่มย่อ ตัวลงมาอยู่ใกล้ๆ ระดับปกติในช่วงก่อนวันสงกรานต์

▪ ปัจจัยภายใน SET INDEX ที่ระดับ 1350 จุด มีVALUATION ที่น่าสะสมหุ้น มาก PE67F 14.7 เท่า (ต่ำกว่า -1SD), มี PBV 1.3 เท่า (ระดับ -2SD) และ MEYG กว้างถึง 4.25% ทั้ง 3 ปัจจัยล้วนแสดงให้เห็นว่าที่ SET INDEX บริเวณใกล้ๆ 1350 จุด เป็นจังหวะน่าหาหุ้นทยอยสะสมเข้าพอร์ตเพิ่มเติม และน่าจะผลตอบแทนได้ดีในระยะถัดไป ภายใต้สภาพแวดล้อมปัจจัยภายนอก เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ส่วนหุ้นเด่นน่าสะสมในช่วงนี้ แนะนำหุ้น DEEP VALUE BJC, CPALL, CPF หุ้น คาดหวังการเบิกจ่ายภาครัฐ SCCC, TASCO, AMATA หุ้น DOMESTIC หลบความ เสี่ยงภายนอก MAJOR, ADVANC, MTC, CENTEL

มุมมอง 1Q67 เลือก TTB, KBANK (BK:KBANK), BBL

กำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด 1Q67 ตามฝ่ายวิจัยคาด เท่ากับ 6.2 หมื่นล้าน บาท เติบโต 24% QOQ (+6% YOY จากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ : NII ผลต่อเนื่อง จากการขึ้นดอกเบี้ยช่วง 2H66) หลักๆ ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (OPEX) ลดลงจาก ค่าใช้จ่ายการตลาดตามฤดูกาล ประกอบกับ CREDIT COST ต่ำลง หลังงวดก่อน KTB, KKP มีฐานการตั้ง ECL สูง เพื่อรองรับความเสี่ยงล่วงหน้าให้กับลูกหนี้ราย ใหญ่ และ TTB มีการตั้ง ECL ส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจมห ภาค หลังเริ่มมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นงวดแรก

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

โดย ธ.พ. ที่รายงานกำไรดีกว่าฝ่ายวิจัยคาด ได้แก่ KBANK และ KKP ราว 28% และ 35% ตามลำดับ ส่วน KTB, SCB, TISCO และ TTB ตามคาดการณ์ ในทางตรงข้าม BAY และ BBL ต่ำกว่าประเมิน 16% และ 4% ตามลำดับ หากพิจารณาอัตราการ ขยายตัว QOQ เรียง 3 อันดับแรก นำโดย KKP (ยังลด YOY), KTB ที่มีฐานกำไรต่ำ งวดก่อน จากเหตุที่กล่าวข้างต้น และ KBANK เติบโตจาก PPOP เพราะการบริหาร จัดการ OPEX ทำได้ดีเมื่อเทียบกับรายได้ และ CREDIT COST ต่ำลงกลับสู่กรอบ เป้าหมายของธนาคารฯ ส่วน BAY และ TISCO กำไรหดตัวทั้ง QOQ และ YOY มา จากระดับการตั้ง ECL ที่อยู่ในระดับสูง แรงกดดันจากคุณภาพสินทรัพย์ลูกหนี้ราย ย่อยยังเปราะบาง

สำหรับรายละเอียดการดำเนินงาน เริ่มด้วย รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) กลุ่มฯ งวด 1Q67 เท่ากับ 1.8 แสนล้านบาท ลดลง 4% QOQ (+13% YOY) หดตัวทุกธนาคาร หลังฐานสินเชื่อกลุ่มฯ ขยายตัวแผ่วเบา 0.5% QOQ (+1.5% YOY) มาที่ 14.2 ล้าน ล้านบาท ไม่เพียงพอชดเชยต้นทุนทางการเงินขยับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ประจำทยอย REPRICING สวนทางอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อกลุ่ม M-RATE ไม่ เปลี่ยนแปลง ประกอบกับจำนวนวันต่ำกว่างวดก่อน ส่งผลให้ NIM กลุ่มฯ ลงเหลือ 3.55% เทียบกับ 3.70% งวดก่อน (1Q66 ที่ 3.20%) โดย ธ.พ. ที่มีสัดส่วน CASA (ออมทรัพย์ + กระแสรายวัน) ราว 80% ของเงินฝาก อย่าง KBANK, KTB อัตราการ ลดลงของ NII ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ขณะที่ ธ.พ. ที่สัดส่วนมีเงินฝากประจำสูง อย่าง BAY, BBL และ KKP รับผลกระทบจากการ REPRICING เงินฝากประจำ มากกว่ากลุ่มฯ ซึ่งแนวโน้มถัดไปอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินเริ่มเบาลง หลังเงินฝากประจำปรับเข้าสู่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำใหม่ในช่วง 2H67 (ส่วน ใหญ่เงินฝากประจำกระจุกตัวอยู่ในอายุ 6 -12 เดือน) ตามความเห็นของฝ่ายวิจัย รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (NON – NII) กลุ่มฯ ที่ 6 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 7% QOQ (+1% YOY) จากหนี้สูญรับคืนของ KTB และ FVTPL ของ SCB ตามพอร์ตลงทุนของ SCB10X การ MARK TO MARKET รับอานิสงค์จากค่าเงินบาทเทียบเหรียญ สหรัฐฯ ณ วันสิ้นงวดอ่อนตัว รวมถึงการขายทำกำไร ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมกลุ่ม ฯ ที่ 4 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 2% QOQ (และ YOY) ดีกว่าที่ประเมินลดลง QOQ ตาม ฤดูกาล หนุนด้วยค่าธรรมเนียมของ ธ.พ. ใหญ่ อย่าง BBL, KBANK, KTB และ SCB ทั้งจากธุรกิจ บลจ. และค่านายหน้าประกันภัย ตรงข้ามกับ ธ.พ. ที่มีพอร์ตสินเชื่อเช่า ซื้อรถยนต์สูง รายได้ค่าธรรมเนียมฯ อ่อนตัว เนื่องจากค่านายหน้าประกันภัยที่ เกี่ยวกับรถยนต์ สอดรับกับความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ COST TO INCOME RATIO (CIR) กลุ่มฯ ที่ 44% จาก 48% งวดก่อน (1Q66 ที่ 43%) ลดตามฤดูกาล โดย KBANK บริหารจัดการได้ดีกว่ากลุ่มฯ มี CIR ที่ 41% CREDIT COST กลุ่มฯ ที่ 1.6% เทียบกับ 1.9% งวด 4Q66 (1Q66 ที่ 1.4%) หลักๆ ต่ำลงเพราะ KTB, KKP และ TTB ตามเหตุข้างต้น โดยคุณภาพสินทรัพย์ NPL / LOAN ขยับมาที่ 3.58% เทียบกับ 3.52% ณ สิ้นงวด 4Q66 (3.56% ณ สิ้นงวด 1Q66) แม้ ธ.พ. ส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการเชิงรุกผ่านการ WRITE-OFF และขาย NPL สะท้อนความเปราะบางในบางกลุ่มลูกหนี้ อย่างสินเชื่อรายย่อยและรายใหญ่ในบางธุรกิจ ด้าน COVERAGE RATIO เท่ากับ 179% จาก 183% ณ สิ้นงวดก่อน (1Q66 ที่ 180%) ซึ่ง BBL ยังสูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 292% คาดพอรองรับการไหลตกชั้น ของลูกหนี้

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ทั้งนี้ กำไรสุทธิกลุ่มฯ งวด 1Q67 คิดเป็นสัดส่วน 27% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้ง ปีที่ 2.4 แสนล้านบาท (+3% YOY) และ 26% ของ BB CONSENSUS จึงมอง ประมาณการยังมีความเป็นไปได้ พร้อมเผชิญเส้นทางข้างหน้าที่มีแรงกดดันจาก โอกาสในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้ง และคุณภาพสินทรัพย์ยังไม่เสถียร

สำหรับการลงทุนกลุ่มฯ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทย ลุ้นแรงส่งจาก การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐกระจายเข้าสู่ระบบช่วง 2H67 หนุนการฟื้นตัวของ สินเชื่อธุรกิจ ซึ่งประเมินดีกว่าสินเชื่อรายย่อยยังเผชิญกับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือน ต่อ GDP ในระดับสูง จึงมองไปที่ KBANK (FV@B148) และ BBL (FV@B175) รวมถึง TTB (FV@B1.98) ที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นกันชนยังคงได้เปรียบกลุ่มฯ โดย สรุปแล้วการลงทุนหุ้นในกลุ่มฯ เรียงตามความชอบดังนี้ TTB > KBANK > BBL > KTB (FV@B19) > TISCO(FV@B106), SCB(FV@B111) > KKP(FV@B49)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย