รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

โควิดระบาดโรงงานไทย คุกคามภาคการส่งออก และการฟื้นตัว

เผยแพร่ 14/06/2564 12:56
© Reuters

Investing.com - รอยเตอร์สเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิดอย่างต่อเนื่องในโรงงาน ๆ ของไทย ทำให้เกิดความกังวลว่าภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก และอาจบ่อนทำลายเศรษฐกิจในขณะที่กำลังพยายามดิ้นรนเพื่อฟื้นตัวจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เชื้อไวรัสได้แพร่กระจายไปทั่วโรงงานกว่า 130 แห่ง รวมทั้งโรงงานที่จำหน่ายสินค้าแบรนด์ต่างประเทศ โดยมีผู้ป่วยมากกว่า 7,100 รายใน 11 จังหวัด ทำให้โรงงานเป็นหนึ่งในแหล่งติดเชื้ออันดับต้น ๆ ร่วมกับเรือนจำและค่ายพักคนงานก่อสร้าง

ข้อมูลของรัฐบาลแสดงให้เห็นว่า โรงงานที่ได้รับผลกระทบเป็นเพียงเศษเสี้ยวของโรงงานราว 63,000 แห่งในประเทศไทยที่มีการจ้างงาน 3.4 ล้านตำแหน่ง แต่เจ้าหน้าที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อการส่งออกที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมต้องดิ้นรนต่อไป เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวทรุดตัวลง

ในปี 2563 การส่งออกคิดเป็น 45% ของ GDP เศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าโลก ประสบปัญหาการหดตัว 6.1% ในปีที่แล้ว และเมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP สำหรับปีนี้เป็น 1.5%-2.5% จาก 2.5%-3.5% ก่อนหน้านี้

เกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวกับรอยเตอร์ว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า ถุงมือยาง และอาหารเป็นส่วนหนึ่งของภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ แต่เขาเสริมว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบโดยรวม

“หากยังดำเนินต่อไป ความเสียหายจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ที่ทำงานในโรงงานจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน” เขากล่าว

ขณะที่ผู้ผลิตบางรายที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ต้องลดกำลังการผลิตลง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งส่งออกไปยัง 40 ประเทศ กล่าวว่าโรงงานที่ถูกปิดเนื่องจากการติดเชื้อคิดเป็นสัดส่วนการผลิตเนื้อไก่ 10%

ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บมจ. ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ ปิดโรงงานที่ผลิตวุ้นเส้นและเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยยอดขายในต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสามของยอดขายอาหารกึ่งสำเร็จรูปของบริษัท

โรงงานบางแห่งยังคงดำเนินการบางส่วน ในขณะที่บางโรงงานปิดตัวและกักคนงานชั่วคราว การระบาดทำให้ความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน

รายงานหลังเดือนเมษายนระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด รวม 199,264 ราย และเสียชีวิต 1,466 ราย โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 80% และผู้เสียชีวิต 90% 

ผลกระทบจากนโยบาย BUBBLE-AND-SEAL 

รัฐบาลพยายามระงับการระบาดของโควิดด้วยนโยบาย "bubble and seal" ซึ่งมีผลบังคับใช้หลังจากมีการติดเชื้อตามโรงงานมากกว่า 10% โดยจะส่งผู้ติดเชื้อไปรักษา ส่วนที่เหลือจะถูกกักตัวไว้ในโรงงานเป็นเวลา 28 วัน

นโยบายนี้แตกต่างจากสถานที่ทำงานอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด คนงานในโรงงานและในค่ายก่อสร้างซึ่งอาศัยอยู่ในไซต์งานส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติที่มีค่าแรงต่ำ ไม่สามารถออกจากที่ทำงานได้ แม้ว่าจะไม่ได้ติดเชื้อก็ตาม 

“มันไม่เหมาะสม” สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ในประเทศไทยกล่าว และเสริมว่า ทางการควรเร่งตรวจหาเชื้อให้มากกว่านี้

สุธาสินีกล่าวว่า บริษัทต่าง ๆ ควรปรับปรุงให้มีพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการเว้นระยะห่างทางสังคม และเพิ่มการฝึกอบรมสำหรับคนงาน เพื่อผู้ที่มีสุขภาพดีสามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อและเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ

กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขีดเส้นตายถึงสิ้นเดือนมิถุนายน เพื่อให้โรงงานยกระดับเงื่อนไขการทำงาน รวมถึงจัดหาหน้ากากอนามัยตามความจำเป็นและทำการวัดอุณหภูมิคนงาน

เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ออกมาปกป้องนโยบายดังกล่าว โดยกล่าวว่า อนุญาตให้ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินการต่อไป ขณะที่ควบคุมการแพร่ระบาด

“ผู้ที่มีอาการจะถูกส่งไปรักษา คนอื่น ๆ จะถูกกักตัว ถ้าเชื้อโรคแพร่กระจาย มันจะแพร่กระจายอยู่ภายในสถานที่นั้น ๆ ไม่ออกไปสู่ภายนอก” ทวีทรัพย์ สิระประภาศิริ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข กล่าวกับรอยเตอร์

"นี่เป็นมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้"

 

ความคิดเห็นล่าสุด

ควรเร่งฉีดวัตซีนให้กับโรงงานที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นอันดับต้นๆเพราะเป็นเครื่องจักรตัวเดียวที่หลืออยู่ สำหรับประคองเศรฐกิจ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย