รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

มองตลาดไม่เป็นใจ นักลงทุนควรเน้นเกมส์รับ

เผยแพร่ 30/09/2562 10:45
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Weekly Investment Theme: Sep 30 – Oct 4, 2019

Market Review

นักลงทุนโดยรวมปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลปัญหาต่างๆ ทั้งการเมืองสหรัฐฯ และล่าสุดความกังวลสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ทำให้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ ทั้งตลาดหุ้นจีน และตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต่างปรับตัวลดลง

ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด ส่งผลให้นักลงทุนเลือกที่จะพักเงินในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และเงินดอลลาร์ จนกว่าปัจจัยเสี่ยงอย่างปัญหาการเมืองสหรัฐฯ หรือสงครมการค้าจะเริ่มคลี่คลายลง

กองทุนอสังหาฯ ทั่วโลกปรับตัวขึ้น จากแนวโน้มนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงจากธนาคารกลางทั่วโลก ขณะที่ กองทุนอสังหาฯไทยเผชิญแรงขายทำกำไร หลังจากปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงนับตั้งแต่ต้นปี (ดัชนี SETPREIT +28% นับตั้งแต่ต้นปี)

ส่วนตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันดิบดิ่งลงต่อเนื่อง 4.4% จากการที่ซาอุดิอาระเบียสามารถฟื้นกำลังการผลิตน้ำมันสู่ระดับปกติได้เร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

Economic Outlook

สัปดาห์นี้ ความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะประเด็นสำคัญที่นักลงทุนทั่วโลกต่างจับตา เพราะล่าสุด สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กลับมาร้อนแรง จากแนวโน้มที่สหรัฐฯจะออกมาตรการจำกัดการลงทุนในจีน รวมทั้งปลดหุ้นจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นข้อต่อรองในการเจรจาการค้า

ในส่วนข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดคาดว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯจะส่งสัญญาณชะลอมากขึ้น จากยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ (Non-farm Payrolls) ที่จะเพิ่มขึ้นราว 1.2แสนราย น้อยกว่าที่เพิ่มขึ้นได้เฉลี่ย 1.7แสนราย ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

นอกเหนือจากประเด็นสงครามการค้าและรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะให้ความสนใจถ้อยแถลงของบรรดาคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) อาทิ Charles Evans, Randal Quarles, Richard Clarida ในวันพฤหัสฯ และ ประธานเฟด Jerome Powell ในวันศุกร์ เป็นต้น เพื่อติดตามมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเป็นไปได้ของการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อสินทรัพย์หรือคิวอีรอบใหม่

Theme of the Week

สัปดาห์นี้ มองว่า บรรยากาศการลงทุนจะถูกกดดันจากปัจจัยความเสี่ยง ทั้ง ความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ปัญหาการเมืองของสหรัฐฯ และความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก ทำให้นักลงทุนไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง และเลือกที่จะพักเงินในสินทรัพย์ปลอดภัยไปก่อน จนกว่าปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าวจะเริ่มคลี่คลาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ หากการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯในช่วงวันที่ 10-11 ตุลาคม

จากภาพปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าว นักลงทุนควรพิจารณาปรับพอร์ตการลงทุน โดยเน้นกลยุทธ์ตั้งรับ (Defensive) มากขึ้น ด้วยการเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างพันธบัตรรัฐบาล และทองคำ อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น ก็สามารถเพิ่มการลงทุนในกองทุนอสังหาฯได้ แต่ควรเน้นกองทุนอสังหาฯที่มีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ มากกว่าในไทย เพราะราคาของกองทุนอสังหาฯไทย ปรับตัวขึ้นร้อนแรงจากพฤติกรรมแสวงผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Search for yields) และสภาพคล่องที่ต่ำ

ส่วนนักลงทุนพร้อมรับความเสี่ยงได้เต็มที่ หุ้นจีน ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหุ้นจีน A-shares ที่จะได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งเศรษฐกิจที่เน้นการเติบโตในประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ หุ้นจีนยังคงมีแรงหนุนจากการปรับสัดส่วนบนดัชนี MSCI และการปลดล็อกโควต้าการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ดังจะเห็นได้จากยอดซื้อสุทธิหุ้นจีนของนักลงทุนต่างชาติราว 9.2 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนกันยายน และถ้าหากสงครามการค้าเริ่มคลี่คลาย หุ้นจีนก็พร้อมที่จะปรับตัวขึ้นต่อได้

ในระยะยาว เราเชื่อว่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัวคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได้ ดังนั้น นักลงทุนควรทยอยซื้อสะสม “พันธบัตรรัฐบาล” ส่วน พันธบัตรรัฐบาลตลาดเกิดใหม่ (EM Sovereign Bonds) ก็ยังน่าสนใจ ด้วยระดับยีลด์ที่สูงกว่า พันธบัตรรัฐบาลตลาดพัฒนาแล้ว อีกทั้ง บอนด์ EM มักจะปรับตัวขึ้นได้ดี ในช่วงที่เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลง

สำหรับมุมมองเราต่อ Asset Classes ต่างๆ มีดังนี้

Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนของสงครามการค้าก็สามารถกดดันบรรยากาศการลงทุนได้ทุกเมื่อ นักลงทุนจึงควรลดสัดส่วนการถือครองหุ้น และเน้นรอโอกาสเข้าซื้อ หากตลาดมีการปรับฐานหนัก (Buy on Dip) เพื่อเลือกซื้อของถูก

US Equity: คงมุมมอง “Underweight” แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงดูดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่ปัจจุบัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ซื้อ/ขายกันในระดับราคาที่แพง (P/E 19.5ท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา (P/E 17.9 เท่า) ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นจากเดิมมาก หรือผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่ได้ออกมาดีเกินคาดไปมาก Upsides ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ดูจะไม่คุ้มความเสี่ยง

Europe Equity: คงมุมมอง “Neutral” ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้าและปัญหาการเมืองในยุโรปอาจกดดันแนวโน้มผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน แต่หุ้นยุโรปจะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นของธนาคารกลางยุโรป

Japan Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเงินเยนมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเสมอ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Assets) ในช่วงตลาดผันผวน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหุ้นญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ราคาปัจจุบันของหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX Index) ที่ P/E 14.0 เท่า ก็เรียกได้ว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา ที่ระดับ 17.5 เท่า

EM Equity: คงมุมมอง “Neutral” เพราะสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ EM และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน EM อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นก็สามารถรีบาวด์ขึ้นได้ในช่วงสั้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ มาตรการลดภาษีบริษัทเอกชนของอินเดีย รวมถึงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางทั่วโลก

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

China Equity: คงมุมมอง “Overweight” แม้ว่าในระยะสั้น ความกังวลการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อาจกดดันตลาดหุ้นจีนได้ แต่เราเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนก็ยังมีปัจจัยหนุนอยู่ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน (PBOC) และ การเพิ่มสัดส่วน หุ้นจีน A-Shares บนดัชนีของ MSCI อีกทั้งระดับราคาปัจจุบันของหุ้นจีน (P/E 14.0 เท่า) ถือว่าไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ด้วยความสามารถในการทำกำไรที่สูง (ROE 13% เป็นรองแค่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ ROE 16%) ซึ่งการปรับฐานของตลาดหุ้นจีนก็จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนทยอยซื้อสะสมหุ้นจีน (Buy on Dip) ในราคาที่ไม่แพง

Thai Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงและทั้งปีจะโตได้ไม่ถึง 3%จากปีก่อนหน้า ทำให้แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอาจแย่ลงกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ระดับราคาปัจจุบันของตลาดหุ้นไทยถือว่าแพงมาก (P/E ประมาณ 19เท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (P/E 17เท่า )

Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” เพราะนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลก คือปัจจัยหนุนตลาดบอนด์ นอกจากนี้ ตราสารหนี้ก็ยังเป็นทางเลือกหลักในการพักเงินของนักลงทุนในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวน อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรรอจังหวะที่บอนด์ยีลด์เด้งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบอนด์

Global Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” โดยมองว่าทั้งตราสารกลุ่ม HY และตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (EM Debts) จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟด นอกจากนี้ ยีลด์เฉลี่ยของบอนด์กลุ่ม HY ประมาณ 6.1% ถือว่าน่าสนใจ ส่วนยีลด์เฉลี่ยของกลุ่ม EM ปัจจุบันอยู่ที่ 3.9% น่าดึงดูดกว่ายีลด์ในฝั่งของตลาด DM และยังมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ตามการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางใน EM

Thai Fixed Income: คงมุมมอง “Underweight”เพราะยีลด์บอนด์ไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.6% ต่ำกว่า ยีลด์โดยเฉลี่ยจากบอนด์กลุ่ม EM ที่ระดับ 3.9% หรือ ยีลด์ของตราสาร HY ที่ 6.1% ทำให้นักลงทุนมีตัวเลือกที่ดีกว่าบอนด์ไทย

Alternative Assets: คงมุมมอง “Overweight” เนื่องจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายทั่วโลก จะกดดันผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ส่วนต่างระหว่างยีลด์ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์และบอนด์ยีลด์จากพันธบัตรรัฐบาลยังสูงเกินระดับ 2.6%-2.9% ซึ่งเป็นระดับที่ผู้จัดการกองทุนอสังหาฯ มองว่าราคากองอสังหาฯแพงไป และไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ดีนักลงทุนควรตระหนักไว้ว่า หากตลาดกลัวความเสี่ยงมากและไล่ขายสินทรัพย์เสี่ยง กองทุนอสังหาฯ ก็จะมีโอกาสโดนเทขายได้เช่นกัน

REITs/Infra.: คงมุมมอง “Overweight” เพราะกองทุนอสังหาฯ โดยรวมยังให้ยีลด์ที่สูงกว่าตราสารหนี้ และยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ทว่า นักลงทุนก็ควรเลือกกองทุนอสังหาฯที่มีการกระจายการลงทุนในต่างประเทศ และมีสัดส่วนการลงทุนมากกว่าในไทย เพราะกองทุนอสังหาฯไทย ปรับตัวขึ้นค่อนข้างมากอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของนักลงทุนและสภาพคล่องที่ต่ำ ทำให้กองทุนอสังหาฯไทย แพงขึ้นมากในสายตาของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งพร้อมที่จะขายทำกำไรกองทุนอสังหาฯไทยได้ทุกเมื่อ

Commodity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะ หากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางเริ่มคลี่คลาย และซาอุฯ สามารถฟื้นกำลังการผลิตได้ตามเร็วตามที่ประกาศไว้ ก็จะกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงได้ในระยะสั้น ส่วนในระยะยาว ราคาน้ำมันดิบก็มีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบ โดยความต้องการน้ำมันจะกลับมาลดลง ตามภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นหนุนโดยกำลังการผลิตน้ำมันในฝั่งสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Gold: คงมุมมอง “Overweight” เพราะข้อมูลในอดีตชี้ชัดว่าทองคำจะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงที่ธนาคารกลางต่างใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อีกทั้งราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการซื้อสะสมของบรรดาธนาคารกลาง และนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงตลาดปั่นป่วน ดังนั้นการปรับฐานของราคาทองคำ จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนเข้าซื้อสะสมทองคำ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง (Buy on Dip)

ความคิดเห็นล่าสุด

Thinks
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย